Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคหอบหืด…..เสียชีวิตได้ เราจะป้องกันโรคหอบหืดกำเริบ Asthmatic attack ได้อย่างไร

พญ.มัณฑนา สันดุษฎี, พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 9 พฤษภาคม 2023

โรคหอบหืด (asthma) เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้มีการตีบตันของหลอดลม โดยมักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ เวลาที่มีอาการเราจะเรียกว่าหอบหืดกำเริบ อาการที่พบบ่อยคือ หายใจมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม โดยอาการเหล่านี้มีหลากหลายความรุนแรง หลายครั้งการเกิดหอบหืดกำเริบรุนแรงถึงขั้นการหายใจล้มเหลวต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิตได้ แต่ถ้าหอบหืดกำเริบไม่รุนแรงแต่ปล่อยให้มีการอักเสบในหลอดลมบ่อย มีอาการหลอดลมตีบตันบ่อยๆ ในที่สุดจะเกิดการตีบตันของหลอดลมแบบถาวร ซึ่งจะรักษาได้ยาก

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยหอบหืดจะเริ่มจากประวัติและอาการเช่น อาการหายใจมีเสียงหวีด, หายใจไม่อิ่ม-แน่นหน้าอก, ไอเรื้อรัง โดยอาการจะเป็นๆหายๆ มักจะแย่ลงในเวลากลางคืนหรือเวลาออกแรง และอาการมักถูกกระตุ้นโดยตัวกระตุ้นบางอย่างเช่น การออกกำลังกาย, อากาศเย็น, สารก่อภูมิแพ้, หรือการติดเชื้อไวรัส

และต้องมีการยืนยันการวินิจฉัยเรื่องหลอดลมตีบตันเป็นๆหายๆ (variable airflow limitation) โดยอาจจะใช้ 

  1. การตรวจความผันแปลของความแรงสูงสุดในการหายใจออก หรือ peak expiratory flow rate (PEF) โดยpeak flow meter โดยให้ผู่ป่วยกลับบ้านไปบันทึกที่บ้านเองอย่างน้อย 2 สัปดาห์ จะพบว่ามีความผันแปลของ PEF เกินมาตรฐาน
  2. การตรวจสมรรถนะสภาพปอด หรือ pulmonary function test (PFT) โดย spirometry ต้องทำการตรวจที่โรงพยาบาล จะพบว่ามีการผันแปลของการตีบตันของหลอดลมหลังได้ยาขยายหลอดลม หรือหลังได้ตัวกระตุ้น

การประเมินความรุนแรงของหอบหืด

การประเมินโรคหอบหืดเราประเมิน 2 หัวข้อหลักๆคู่กัน เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมคือ

1. การควบคุมอาการ (symptom control)

ถ้าผู้ป่วยควบคุมอาการหอบหืดได้ดีคือ ต้องมีอาการของหอบหืดในช่วงกลางวัน และต้องการใช้ยาพ่นฉุกเฉินไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมถึงต้องไม่มีอาการตื่นกลางคืนจากหอบหืดเลย และไม่มีกิจกรรมใดๆที่ทำไม่ได้จากอาการหอบหืด

2. ความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงเวลาเกิดหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน (risk of adverse outcome) 

ต้องประเมินจากหลายองค์ประกอบ เช่น

  • ตรวจ pulmonary function test พบสมรรถนะปอดว่าต่ำกว่าปกติ (FEV1<60%)
  • มีโรคร่วมอื่นๆที่กระตุ้นหอบหืดได้ง่าย เช่น ตั้งครรภ์, ภาวะอ้วน, กรดไหลย้อน, มีประวัติแพ้อาหาร
  • ยังต้องสัมผัสกับตัวกระตุ้นหอบหืด เช่น สูบบุหรี่, มลพิษทางอากาศ (air pollution), สารกระตุ้นภูมิแพ้ 
  • เคยมีประวัติหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรงจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเข้า ICU 

โดยถ้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงเวลาเกิดหอบหืดกำเริบ มีความจำเป็นที่จะต้องมียาควบคุมอาการต่อเนื่อง และอยู่ภานใต้การดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง

โดยคนไข้ที่ความคุมอาการได้ไม่ดี มักจะมีความเสี่ยงที่เกิดอาการกำเริบได้มากขึ้น แต่คนไข้ที่ควบคุมอาการได้ดี ก็ยังมีโอกาสเกิดอาการกำเริบแบบรุนแรงได้เช่นกัน

การรักษาโรคหอบหืด

เป้าหมายของการรักษาโรคหอบหืดคือ ต้องควบคุมอาการได้ดี (มีการใช้ยาฉุกเฉินไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์) สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหอบหืดกำเริบอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังต้องไม่เกิดภาวะหลอดลมตีบตันถาวรในระยะยาว โดยจะปรับยาอย่างเหมาะสมไม่มากเกินไป เพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา

การรักษาโดยยา

โดยปัจจุบันการรักษาหอบหืด ยาหลักๆในการรักษาคือยาพ่นขยายหลอดลมและลดการอักเสบของหลอดลม โดยยาพ่นแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆดังนี้

  1. ยาฉุกเฉินบรรเทาอาการ (relievers) ใช้เฉพาะเวลามีอาการหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน ยากลุ่มนี้จะเป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธ์เร็ว ได้แก่ short-acting beta- agonist (SABA), ICS/formoterol 
  2. ยาควบคุมอาการ (controllers) โดยจะเริ่ม controllers ตามขั้นความรุนแรงของอาการ โดยยาในกลุ่มนี้ เช่น Inhaled corticosteroids (ICS), ICS/LABA( long-acting beta2-agonist), LAMA (long acting muscarinic antagonist) มีฤทธิ์ลดการอักเสบของทางเดินหายใจและขยายหลอดลมแบบออกฤทธิ์ยาว

นอกจากนี้ในปัจจุบันหอบหืดที่ควบคุมยากยังมียา biologics ใหม่ๆออกมาหลายตัวเพื่อควบคุมหอบหืดได้ดีขึ้น เช่น omalizumab (anti-IgE), mepolizumab และ benralizumab (anti-IL5), dupilumab (anti-IL4)

การรักษาอื่นๆ ร่วมด้วยนอกจากยา

  • หยุดสูบบุหรี่ 
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น, สารก่อภูมิแพ้, air pollution
  • รักษาโรคร่วมให้ดี เช่นภูมิแพ้, โรคอ้วน
  • มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึง breathing exercise 
  • วัคซีน ปัจจุบันแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีน covid-19

โรคหอบหืดและ covid-19

ผู้ป่วยหอบหืดไม่ได้เป็นความเสี่ยงของการติดเชื้อ covid-19 และจากการศึกษาปัจจุบันยังไม่พบว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ดีเป็นความเสี่ยงที่ covid-19 จะรุนแรงหรือเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจาก covid-19

โรคหืดกำเริบเฉียบพลัน

เมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน แนะนำให้ใช้ยาพ่นฉุกเฉิน (reliver) กลุ่ม inhaled short-acting B2-agonist (SABA) เช่น salbutamol MDI 4-10 puff ทุก 20 นาที ถ้าพ่น 3 รอบแล้วยังไม่หายให้รีบมาห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเพื่อประเมินและรับการรักษาที่เหมาะสมเพิ่มเติม

สรุป

โรคหอบหืดเป็นโรคที่รุนแรงถึงชีวิตได้ แต่ก็สามารถควบคุมได้เช่นกัน โดยการเข้าใจโรค รู้จักอาการและสิ่งกระตุ้นอาการ ใช้ยาพ่นถูกวิธีและสม่ำเสมอ หมั่นออกกำลังกาย รักษาโรคร่วมต่างๆ ลดความเครียด รู้จักอาการฉุกเฉิน  และหมั่นพบแพทย์ตามนัด ดังนั้นใครที่เป็นโรคหอบหืดอยู่ หรือมีอาการที่สงสัยโรคหอบหืด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.มัณฑนา สันดุษฎี

พญ.มัณฑนา สันดุษฎี

ศูนย์อายุรกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา