Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

อัลไซเมอร์ กับการรับมือที่ไม่ง่ายของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 16 พฤษภาคม 2022
อัลไซเมอร์ การรับมือกับผู้ป่วย

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือที่เรียกกันว่า โรคความจำเสื่อม หรือโรคสมองเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างของเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสียการทำงานไป ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อม พบได้บ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป  ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะแสดงอาการออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

  1. มีความผิดปกติด้านความทรงจำและทักษะต่าง ๆ ที่เคยทำได้ เช่น ลืมชื่อ ลืมวันเวลา ลืมสถานที่ ลืมสิ่งทำไปแล้ว พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ ทักษะความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง เช่น ทักษะการขับรถผิดปกติ สับสนทิศทาง เป็นต้น

  2. มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไป เช่น ขี้โมโห ก้าวร้าว มีพฤติกรรมขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดความคิดผิดชอบชั่วดี มีพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ หรือมีพฤติกรรมการนอนผิดปกติไป เป็นต้น

  3. ไม่สามารถทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ เช่น ลืมวิธีการอาบน้ำ การแต่งตัว หรือกิจวัตรที่เคยทำได้ ซึ่งในที่สุดอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา เป็นต้น
New call-to-action

ในระยะที่อาการรุนแรงผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำและทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงกิจกรรมง่าย ๆ ที่คนปกติทำได้ เช่น การล้างจาน ถูบ้าน ซักผ้า หรือแค่การเดินไปหยิบของ

นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ทำให้ขี้โมโห โกรธแบบไม่มีเหตุผล คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรต่าง ๆ และผลจากการเสื่อมของเซลล์สมองจะทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว จนทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีคนดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่รักษาไม่หายและผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย 

ดังนั้น การรับมือกับโรคทั้งของผู้ป่วยเอง และคนดูแลจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนัก ผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือพฤติกรรมแปลก ๆ นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่มีสติสัมปชัญญะในการทำพฤติกรรมที่ผิดปกตินั้น ๆ และเป็นอาการของโรคอัลไซเมอร์

และเนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หาย การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเน้นไปที่การรักษาอาการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ผู้ป่วยยังพอช่วยเหลือตัวเองได้ ควบคุมให้การดำเนินโรคให้เป็นไปอย่างช้าที่สุด ญาติ และผู้ดูแลต้องมีความเข้าใจ พร้อมทั้งหาวิธีการรับมืออย่างเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสภาพจิตใจของผู้ดูแลด้วย

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา