Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 4 พฤษภาคม 2025
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นภาวะที่สามารถรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวันให้มีความยากลำบาก แถมยังสามารถส่งผลอันตรายรุนแรงจนถึงชีวิตได้ในบางครั้ง แต่ไม่ต้องกังวลไป หากเราทำความรู้จักและเข้าใจสาเหตุ อาการและวิธีรักษาให้ดี การต่อสู้กับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Key Takeaways

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุหลากหลายและซับซ้อน เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อมาร่วมด้วย
  • อาการโรคจะพัฒนาเป็นระยะ โดยมักเริ่มจากอาการเล็กน้อย เช่น มือหรือเท้าไม่มีแรง ก่อนลุกลามไปสู่ปัญหาในการเคลื่อนไหว การกลืน การพูด และการหายใจในระยะที่รุนแรงขึ้น
  • สามารถใช้ยา กายภาพบำบัด และการดูแลเฉพาะทางเพื่อช่วยชะลอความรุนแรงของโรคและพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • การตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถชะลออาการของโรคและได้รับการดูแลที่เหมาะสมกับระยะของโรคมากที่สุด

สารบัญบทความ

  • ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร มีกี่ชนิด?
  • ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีสาเหตุเกิดจากอะไร?
  • อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอะไรบ้าง?
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีวิธีการรักษาอย่างไร รักษาหายไหม?
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภัยเงียบที่ยับยั้งได้หากตรวจพบเร็ว
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไรมีกี่ชนิด?

กล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานน้อยกว่าปกติสูญเสียศักยภาพและเสื่อมสภาพลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้มีอาการหมดเรี่ยวแรง ขยับเขยื้อนร่างกายได้อย่างยากลำบาก และอาจทำให้กล้ามเนื้อดูลีบเล็กในกรณีที่มีอาการรุนแรง ซึ่งหากกล้ามเนื้อสำคัญอย่างระบบลมหายใจเกิดอาการอ่อนแรงก็อาจจะอันตรายถึงชีวิตได้

โดยภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็สามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ แยกออกเป็น 3 ประเภทที่ควรรู้หลัก ๆ ได้แก่ Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS), Myasthenia Gravis (MG) และ Spinal Muscular Atrophy (SMA)

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภท Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS)

ภาวะ ALS มักเกิดที่มือ, เท้า, แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่งก่อน จากนั้นอาการจะลุกลามไปยังอีกข้างและกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการพูดไม่ชัดเจน ลิ้นขยับเขยื้อนไม่ค่อยได้ กลืนอาหารไม่สะดวก ไอเป็นประจำ และเหนื่อยง่าย โดยอาการเหล่านี้มักเกิดบ่อยเมื่อนอนราบอยู่ เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการหายใจอ่อนแรงลง โดยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักจะรุนแรงและมีการลุกลามมากขึ้นโดยเวลาที่ผ่านไป มักใช้เวลาเป็นปี

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภท Myasthenia Gravis (MG)

อาการ Myasthenia Gravis อาจเกิดได้ในหลายจุด เช่น เปลือกตาตกลงมาอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นภาพซ้อนหรือไม่สามารถโฟกัสภาพได้ตามปกติ หากเกิดที่คอก็อาจทำให้ออกเสียงผิดปกติ พูดไม่ชัด เสียงเปลี่ยนไป เสียงขึ้นจมูก กลืนอาหารได้ยากลำบากและมักสำลักบ่อย หากเกิดกับแขนและขาก็จะทำให้การเคลื่อนไหวไม่สะดวกและเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกในบางครั้ง ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดในช่วงเวลาหลังจากมีการใช้กล้ามเนื้อดังกล่าวมาก ๆ และดีขึ้นหลังจากการพัก อาจมีการเปลี่ยนแปลงของอาการระหว่างวัน

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภท Spinal Muscular Atrophy (SMA)

SMA จะเกิดจากเซลล์ประสาทที่เสื่อมสภาพ แบ่งได้เป็นหลายกลุ่มโดยแยกจากช่วงอายุที่เกิด ในผู้ใหญ่ซึ่งเคยใช้ชีวิตได้ตามปกติมักเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปี สามารถทำให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ การกลืน และการเคลื่อนไหวอ่อนแรงลง ผู้ป่วยมักเริ่มสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อทีละน้อย เริ่มจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่แล้วจึงลามไปมัดเล็กกว่า ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ขาไม่มีแรง เคลื่อนไหวได้ลำบาก และอาจมีอาการชาหรืออ่อนล้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ในกรณีที่โรคมีความรุนแรงก็อาจทำให้การกลืนอาหารอาจเป็นไปอย่างยากลำบาก และระบบทางเดินหายใจอาจได้รับผลกระทบจนทำให้หายใจติดขัดหรือล้มเหลวในที่สุด

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีสาเหตุเกิดจากอะไร?

โรค mg อันตรายไหม

ตัวอย่างสาเหตุที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงสำหรับโรคดังกล่าวก็จะสามารถแบ่งประเภทคร่าว ๆ ตามบริเวณที่เกิดความผิดปกติได้ ดังนี้

  1. การเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor Neuron Degeneration) : ภาวะนี้พบใน ALS และ SMA โดย ALS มักจะมีภาวะที่ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการในสมองและไขสันหลัง (Upper & Lower Motor Neurons) เสื่อมลง ส่งผลให้การควบคุมกล้ามเนื้อบกพร่อง แม้ว่า ALS บางกรณีอาจเกิดจากพันธุกรรม แต่ประมาณ 90% ของผู้ป่วย ALS เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ในขณะที่ SMA เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน SMN1 ซึ่งทำให้เซลล์ประสาทสั่งการใน ไขสันหลังส่วน Lower Motor Neurons เสื่อมลง
  2. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Disorder) : ภาวะนี้พบใน MG ซึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดีมาทำลายตัวรับ Acetylcholine ที่จุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Junction) ทำให้กล้ามเนื้อรับสัญญาณประสาทได้ลดลงและเกิดอาการอ่อนแรง

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีอะไรบ้าง?

กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการ

จริงอยู่ว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีหลายรูปแบบที่อาจเกิดจากสาเหตุหรือมีผลกับอวัยวะแตกต่างกันไป แต่ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็ยังมีอาการโดยรวม ๆ อยู่ ดังนี้

  • ซุ่มซ่ามมากขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุ : หลายคนอาจสังเกตเห็นว่าเรี่ยวแรงลดลงโดยไม่รู้ตัวจนทำให้ร่างกายทำงานผิดพลาดบ่อยขึ้น เช่น กำของไม่แน่นเหมือนเคย เดินสะดุดบ่อยขึ้น กล้ามเนื้อกระตุก หรือเคลื่อนไหวได้ไม่คล่องแคล่วเหมือนเดิม
  • รู้สึกอ่อนแรงและล้าเร็ว : ผู้ป่วยอาจพบว่ากล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ยกของหนักไม่ไหว เจ็บกล้ามเนื้อ หรือเมื่อลุกขึ้นยืนจากท่านั่งต้องใช้แรงมากกว่าปกติ บางรายอาจรู้สึกว่าเดินได้ไม่มั่นคง และต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการทำกิจวัตรประจำวัน
  • กล้ามเนื้อลีบและฝ่อลง : เมื่อกล้ามเนื้อไม่ได้รับการกระตุ้นจากระบบประสาทเป็นเวลานาน จะเกิดภาวะลีบเล็ก ขนาดของกล้ามเนื้อลดลงอย่างชัดเจน ทำให้แขนหรือขาดูเล็กลงผิดปกติ
  • อาการเกี่ยวกับดวงตา : ในบางครั้งอาการอาจแสดงออกที่ดวงตาก่อน เช่น หนังตาตกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ทำให้มองเห็นไม่ชัด หรือเกิดอาการเห็นภาพซ้อน เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตาอ่อนแรงลง
  • ปัญหาในการพูดและการกลืน : ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการพูดไม่ชัด เสียงขึ้นจมูก หรือออกเสียงได้เบากว่าปกติเนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดทำงานผิดปกติ อาจมีปัญหาในการกลืนอาหารหรือดื่มน้ำ โดยเฉพาะของเหลว อาจทำให้สำลักได้ง่ายขึ้น
  • อาการเกี่ยวกับระบบหายใจ : หากโรคมีผลต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบ อาจรู้สึกเหนื่อยง่ายหรือมีภาวะหายใจไม่อิ่ม บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่ออาการรุนแรงขึ้น

โดยอาการเหล่านี้สามารถเกิดได้ทั้งในรูปแบบฉับพลันหรือค่อย ๆ เกิดขึ้นทีละน้อย และอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ก็ควรจะรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร็วที่สุด

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีวิธีการรักษาอย่างไร รักษาหายไหม?

ยารักษากล้ามเนื้ออ่อนแรง

การรักษาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยรวมแล้วจะไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้หายขาดได้ในทุกกรณี แต่จะมีวิธีที่ใช้ชะลอและช่วยยับยั้งอาการอยู่หลากหลายแบบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและจุดที่มีอาการของโรคด้วยว่าการรักษาแบบไหนจะเหมาะสมที่สุด โดยตัวอย่างการรักษาก็จะมี ดังนี้

  • ใช้ยารักษากล้ามเนื้ออ่อนแรง : เช่น ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือยายากดภูมิคุ้มกันต่าง ๆ
  • การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา (Plasmapheresis) : เป็นการกำจัดแอนติบอดีที่รบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยบรรเทาอาการชั่วคราว แต่มีผลข้างเคียง เช่น ความดันต่ำ เลือดออกผิดปกติ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous Immunoglobulin: IVIg) : ช่วยเพิ่มแอนติบอดีที่สมดุลเพื่อปรับการทำงานของภูมิคุ้มกัน เห็นผลนาน 3–6 สัปดาห์ อาจมีผลข้างเคียง เช่น หนาวสั่น เวียนศีรษะ และปวดหัว เหมาะกับผู้ป่วยอาการรุนแรง
  • กายภาพบำบัด : การทำกายภาพบำบัดช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและชะลอการฝ่อลง รวมถึงช่วยลดอาการข้อติดแข็ง ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และนักกิจกรรมบำบัดยังสามารถช่วยให้คำแนะนำการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ด้วย
  • การบำบัดการพูดและการกลืน : ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูดและการกลืน อาจต้องเข้ารับการบำบัดโดยนักบำบัดการพูด เพื่อช่วยให้สามารถออกเสียงและกลืนอาหารได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของการสำลัก
  • บำบัดทางโภชนาการ : การเลือกอาหารที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะผู้ที่กลืนลำบาก อาจต้องปรับเปลี่ยนเนื้อสัมผัสของอาหาร หรือใช้อาหารทางสายยางในกรณีที่รุนแรง
  • ผ่าตัด : ในบางครั้งผู้ป่วยโรค MG ที่มีความผิดปกติของต่อมไทมัส แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดต่อมไทมัสเพื่อลดผลกระทบของโรค

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภัยเงียบที่ยับยั้งได้หากตรวจพบเร็ว

ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักมีอาการเริ่มต้นที่ไม่น่ากลัวและความรุนแรงน้อย แต่อาจซ่อนไว้ซึ่งโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะหากปล่อยไว้โดยไม่ได้พบแพทย์เพื่อรับการประเมินตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้ไม่มีมาตรการในการชะลอการดำเนินโรค หรือการรักษา 

แพทย์สามารถยับยั้งและดูแลอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ดีกว่าหากตรวจพบและหาสาเหตุได้เร็วโดยเฉพาะในช่วงที่อาการยังไม่พัฒนาไปในระดับที่รุนแรง ซึ่งที่โรงพยาบาลพระราม 9 ก็จะมีศูนย์สมองและระบบประสาทคอยให้บริการตรวจสอบระบบประสาทและพร้อมให้การช่วยเหลือในทุกด้านของการรักษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง

1. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีกี่ระยะ?

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละประเภทจะแบ่งได้แตกต่างกันไป ดังนี้

  • ระยะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงจาก ALS จะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

    • ระยะเริ่มต้น : ซึ่งเริ่มมีอาการอ่อนแรงเล็กน้อย เช่น ยกแขนลำบากหรือเดินสะดุด 
    • ระยะกลาง : อาการรุนแรงขึ้นจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เช่น พูดไม่ชัด กลืนลำบาก หายใจติดขัด 
    • ระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและให้อาหารทางสายยาง
  • ระยะของกล้ามเนื้ออ่อนแรงจาก MG สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ได้แก่

    • Stage I : มีอาการเฉพาะที่กล้ามเนื้อตา เช่น หนังตาตกหรือเห็นภาพซ้อน ซึ่งในเเต่ละระยะของโรคนี้มักมีอาการอ่อนเเรงของกล้ามเนื้อบริเวณตาร่วมด้วย
    • Stage II : อาการเริ่มกระจายไปกล้ามเนื้อส่วนอื่นแต่ยังไม่รุนแรง 
    • Stage III : กล้ามเนื้อบริเวณอื่นเริ่มอ่อนแรงชัดเจน อาจเริ่มกระทบต่อการพูด การกลืน
    • Stage III : อาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงรุนแรงมากขึ้นชัดเจนขึ้น 
    • Stage IV : อาการกล้ามเนื้ออ่อนเเรงรุนแรง อาจทำให้กินอาหารด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องใส่ท่อให้อาหาร (Feeding Tube)
    • Stage V : อาการรุนแรงที่สุดขั้นมีภาวะหายใจล้มเหลวและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงจาก SMA จะไม่มีการแบ่งระยะแต่จะสามารถจำแนกประเภทตามช่วงอายุที่เริ่มมีอาการได้ ดังนี้

    • Type 0 : อาการเริ่มตั้งแต่ทารกแรกเกิด มีอาการรุนแรงมาก พบได้น้อย
    • Type 1 : อาการเริ่มในทารกวัยก่อน 6 เดือน (Werdnig-Hoffman disease)
    • Type 2 : อาการเริ่มแสดงในวัย 6 – 18 เดือน 
    • Type 3 : อาการเกิดในวัยเด็กโตหรือวัยรุ่น (Kugelberg-Welander disease)
    • Type 4 : อาการเริ่มในวัยผู้ใหญ่ 
    • ผู้ป่วยแต่ละประเภทจะมีความรุนแรงของอาการแตกต่างกัน และควรได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทาง

2. กล้ามเนื้ออ่อนแรงควรกินวิตามินอะไร?

หากมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรกินวิตามินทุกประเภทโดยเฉพาะวิตามินบี 1 กับ 6 ที่หาได้ในเนื้อสัตว์ นมและไข่ และวิตามินบี 12 จากขนมปังและโยเกิร์ตเพื่อบำรุงระบบประสาทและสมอง เพิ่มประสิทธิภาพการสั่งการของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังควรเติมวิตามินดีให้เพียงพอด้วย ซึ่งร่างกายจะสร้างวิตามินดีขึ้นเองเมื่อพบกับแสงแดด แต่หากไม่สะดวกออกแดดก็สามารถรับเพิ่มจากอาหารอย่างปลาทู และไข่แดงได้

References

Providence Health Team. (2024, June 21). Myasthenia gravis vs. ALS: Symptoms, causes and treatment. Providence Health. https://blog.providence.org/blog/myasthenia-gravis-vs-als-symptoms-causes-and-treatment

Neuromuscular Disorders. (2024, February 20). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/neuromuscular-disorders

Neuromuscular Disorders. (n.d.). Physio-Pedia. https://www.physio-pedia.com/Neuromuscular_Disorders

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

อ.สิทธิ

นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา