Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 9 พฤษภาคม 2025
ลิ้นหัวใจเทียม

การผ่าตัดลิ้นหัวใจเทียม เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ กลุ่มที่มีปัญหาของลิ้นหัวใจ การผ่าตัดนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ ลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง 

ภาวะลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจรั่วมาก ๆ หรือตีบมาก ๆ มักจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ปกติ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยการทดแทนลิ้นหัวใจเดิมที่เสื่อมสภาพด้วยลิ้นหัวใจเทียมที่มีความทนทานและทำงานได้ใกล้เคียงลิ้นหัวใจธรรมชาติ 

ในบทความนี้ จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนของการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม ทั้งในด้านการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัด และการดูแลหลังผ่าตัด รวมถึงคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดชนิดนี้

สารบัญบทความ

  • ลิ้นหัวใจคืออะไร?
  • ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร?
  • สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • อาการแบบไหนต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?
  • ลิ้นหัวใจแต่ละชนิดเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน
  • ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
  • ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • การดูแลหลังผ่าตัด
  • การป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • สรุป

ลิ้นหัวใจคืออะไร?

ลิ้นหัวใจ (Heart Valve) คือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ในหัวใจ ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดในแต่ละห้องของหัวใจ โดยมีทั้งหมด 4 ลิ้น ได้แก่ ลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic Valve) ลิ้นหัวใจพัลโมนิก (Pulmonary Valve) ลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral Valve) และลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid Valve) ลิ้นหัวใจแต่ละลิ้นจะเปิดและปิดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร?

ลิ้นหัวใจเทียม (Prosthesic Valve) คืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้เลือดในหัวใจไหลเวียนได้ดีขึ้น โดยลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ประเภทหลัก ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะและข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ลิ้นหัวใจเทียมชนิดโลหะ (Mechanical Valve)
    • ผลิตจากวัสดุที่มีความทนทาน เช่น ไทเทเนียม หรือคาร์บอน
    • อายุการใช้งานนานกว่าลิ้นหัวใจเทียมชนิดเนื้อเยื่อ
    • ผู้ป่วยต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดบริเวณลิ้นหัวใจเทียม ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลืออย่างสม่ำเสมอ (ซึ่งในบางกรณีอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการลืมรับประทานยา หรือผู้ป่วยที่อาจมีความเสี่ยงจากการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด)
    • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการอายุการใช้งานยาวนานโดยไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย
  • ลิ้นหัวใจเทียมชนิดเนื้อเยื่อ (Bioprosthetic Valve)
    • ผลิตจากเนื้อเยื่อของสัตว์ เช่น วัวหรือหมู หรือจากผู้บริจาค
    • ไม่ต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นประจำ จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่ต้องใช้ยาประจำ
    • อายุการใช้งานสั้นกว่า โดยปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 10-20 ปี
    • เหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงของการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจสามารถเกิดการเสื่อมหรือมีปัญหาได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเพื่อฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้ปกติ โดยโรคที่อาจทำให้ต้องมีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เช่น

  • โรคลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด: ลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น ลิ้นหัวใจตีบ
  • ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ: การเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ
  • การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (Infective Endocarditis; IE): การติดเชื้อแบคทีเรียที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งทำให้ลิ้นหัวใจเสียหาย
  • ภาวะลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis): ภาวะที่ลิ้นหัวใจไม่สามารถเปิดได้เต็มที่ ทำให้เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจได้ยากขึ้น
  • ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว (Regurgitation): ภาวะที่ลิ้นหัวใจไม่สามารถปิดได้สมบูรณ์ ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังห้องหัวใจเดิม

อาการแบบไหนต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ?

  1. อาการเหนื่อยง่ายเรื้อรัง
    • รู้สึกเหนื่อยทั้งในขณะทำกิจกรรมเบา ๆ หรือแม้แต่ในขณะพักผ่อน ซึ่งอาจเกิดจากลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วมาก ๆ ซึ่งจะทำให้เลือดไหลออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายต้องปรับให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
  2. หายใจลำบาก โดยเฉพาะขณะนอนราบหรือขณะออกแรง
    • เริ่มจากเหนื่อยง่ายเวลาทำกิจกรรม และพัฒนาไปจนกระทั่งหายใจลำบากแม้ในขณะพักผ่อน และอาจเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจเหนื่อยร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นอาการของน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  3. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
    • รู้สึกเจ็บแน่นบริเวณกลางหน้าอก โดยเฉพาะเวลาที่ใช้แรง เช่น เดินขึ้นบันไดหรือทำงานหนัก อาการนี้พบได้ในผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจตีบอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
  4. หน้ามืด วิงเวียน หรือหมดสติ
    • เกิดจากหัวใจส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หากไม่ได้รับการรักษา อาจเสี่ยงต่อการหมดสติหรือการ วูบ ล้ม บาดเจ็บได้
  5. บวมที่ขา ข้อเท้า หรือหน้าท้อง
    • เป็นสัญญาณของการมีของเหลวคั่งในร่างกาย โดยเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย ซึ่งอาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคของลิ้นหัวใจ หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย
  6. หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือใจสั่น
    • รู้สึกใจเต้นเร็วหรือแรงผิดปกติ โดยเฉพาะในช่วงพักผ่อนหรือขณะนอนหลับ มักเกิดจากลิ้นหัวใจที่เสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระตุ้นหัวใจที่ผิดปกติ
  7. อ่อนเพลียเรื้อรังจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
    • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ เช่น การเดินขึ้นบันไดหรือการออกกำลังกายเบา ๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหัวใจที่ทำงานหนักเกินไป
  8. ภาวะแทรกซ้อนที่ทำลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ
    • เช่น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (Infective Endocarditis) หรือโรคหลอดเลือดตีบที่ทำให้การบีบตัวของหัวใจเสียไป หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้

ลิ้นหัวใจแต่ละชนิดเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน

การเลือกชนิดของลิ้นหัวใจเทียมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุของผู้ป่วย ภาวะสุขภาพพื้นฐาน และความสะดวกในการติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัด ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ชนิดหลักดังที่กล่าวไปแล้ว ได้แก่ ลิ้นหัวใจเทียมชนิดโลหะ (Mechanical Valve) และ ลิ้นหัวใจเทียมชนิดเนื้อเยื่อ (Bioprosthetic Valve) ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละประเภทดังนี้

1. ลิ้นหัวใจเทียมชนิดโลหะ (Mechanical Valve)

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ป่วยอายุน้อย
    เนื่องจากลิ้นหัวใจชนิดนี้มีความทนทานสูงและใช้งานได้ตลอดชีวิต ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่บ่อยครั้ง
  • ผู้ป่วยที่สามารถควบคุมการใช้ยาละลายลิ่มเลือดได้ดีหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องรับประทานยาวาร์ฟาริน (Warfarin) เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด จึงเหมาะกับผู้ที่สามารถตรวจติดตามระดับเลือด และรับประทานยาาร์ฟารินได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยาละลายลิ่มเลือด
    เช่น ผู้ที่ไม่มีประวัติเลือดออกง่ายหรือมีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออก

ข้อดี:

  • อายุการใช้งานนาน (20-30 ปี หรือมากกว่า)
  • ไม่ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจบ่อย

ข้อจำกัด:

  • ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดตลอดชีวิต
  • เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น เลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ

2. ลิ้นหัวใจเทียมชนิดเนื้อเยื่อ (Bioprosthetic Valve)

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ป่วยสูงอายุ
    เนื่องจากไม่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดในระยะยาว เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาละลายลิ่มเลือดได้
    เช่น ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเลือดออก หรือมีโรคประจำตัวที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ข้อดี:

  • ไม่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดในระยะยาว
  • ลดความเสี่ยงจากภาวะเลือดออก

ข้อจำกัด:

  • อายุการใช้งานสั้นกว่าลิ้นหัวใจชนิดโลหะ (ประมาณ 10-20 ปี)
  • ต้องผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่เมื่อหมดอายุการใช้งาน ซึ่งในการผ่าตัดลิ้นหัวใจซ้ำจะเพิ่มความเสี่ยงของการผ่าตัดมากขึ้น

ปัจจัยเพิ่มเติมในการเลือกชนิดของลิ้นหัวใจ

  • โรคประจำตัว: เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคตับหรือเลือดออกง่าย อาจไม่เหมาะกับลิ้นหัวใจชนิดโลหะ
  • แผนการตั้งครรภ์ในอนาคต: ผู้หญิงที่วางแผนมีบุตรอาจเหมาะกับชนิดเนื้อเยื่อชีวภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้ยาละลายลิ่มเลือด

อย่างไรก็ตามแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและให้คำแนะนำตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

การเตรียมตัวอย่างเหมาะสมช่วยเพิ่มความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติดังนี้

  1. การตรวจร่างกายอย่างละเอียด
    • ตรวจเลือดเพื่อประเมินความพร้อมของร่างกาย
    • เอกซเรย์ทรวงอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
    • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiogram) เพื่อประเมินดูลักษณะการทำงาน รวมถึงความรุนแรงของลิ้นหัวใจที่มีปัญหา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์โรคหัวใจสามารถวางแผนการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น
  2. การปรับยาก่อนผ่าตัด
    • หยุดยาบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ตามคำแนะนำของแพทย์
    • ปรับยาควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิต ตามคำแนะนำของแพทย์
  3. การเตรียมตัวทางจิตใจและร่างกาย
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์
    • พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด
    • เตรียมความพร้อมสำหรับการพักฟื้นหลังผ่าตัด เช่น จัดที่พักให้สะดวกต่อการเคลื่อนไหว
  4. การปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
    • แพทย์จะอธิบายขั้นตอนการผ่าตัดและตอบคำถามเพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจ และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด สามารถปรึกษาแพทย์ได้ ไม่ควรปล่อยไว้ เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด
    • แจ้งประวัติการแพ้ยาและโรคประจำตัวอย่างละเอียด

ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจสามารถทำได้ 2 วิธีหลัก ขึ้นอยู่กับลิ้นหัวใจที่ต้องได้รับการผ่าตัด และความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน

  1. การผ่าตัดเปิดหน้าอก (Open-heart Surgery)
    • วิธีการ: แพทย์จะเปิดหน้าอกเพื่อเข้าถึงหัวใจ และหยุดการเต้นของหัวใจชั่วคราวโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Heart-lung Machine) จากนั้นจึงทำการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
    • ระยะเวลา: ใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโรค ตำแหน่งของลิ้นที่ต้องผ่าตัด รวมถึงสภาวะของผู้ป่วยแต่ละคน
  2. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน (Transcatheter Aortic Valve Implantation; TAVI/TAVR)
    • ใช้เฉพาะการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติก (ยังไม่สามารถใช้วิธีนี้กับลิ้นหัวใจอื่นได้)
    • วิธีการ: การรักษาด้วยวิธีนี้ ไม่ต้องเปิดหน้าอก แต่จะทำการรักษาโดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ โดยแพทยจะใช้สายสวนใส่ลิ้นหัวใจใหม่ผ่านหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่บริเวณขาหนีบ
    • เหมาะสำหรับ: ผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดใหญ่

การดูแลหลังผ่าตัด

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วและป้องกันภาวะแทรกซ้อน:

  1. ระยะแรก (2-4 สัปดาห์แรก)
    • พักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3-10 วันขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัด เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
    • ดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาดและอย่าให้แผลติดเชื้อ
    • ทำความสะอาดแผลตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลด้วยมือที่ไม่สะอาด
    • สังเกตอาการบวม แดง หรือหนองที่แผล ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หากพบต้องรีบพบแพทย์ทันที
    • หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือออกแรงมาก
  2. การปรับตัวในระยะยาว
    • ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน โยคะ โดยควรออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ลดอาหารที่มีรสเค็ม ลดไขมัน ลดแป้งและน้ำตาล
    • ติดตามผลกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ลิ้นหัวใจชนิดโลหะซึ่งต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดอายุการทำงานของลิ้นหัวใจ และป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่ลิ้นหัวใจที่จะทำให้การทำงาานของลิ้นหัวใจเสียไป

การป้องกันภาวะแทรกซ้อน

หลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างราบรื่นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  1. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
    • รับประทานยาละลายลิ่มเลือดตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
    • เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเบา ๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
    • หลีกเลี่ยงการนั่งนิ่ง ๆ หรือยืนเป็นเวลานานเกินไป
  2. ป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจ (Endocarditis)
    • รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำหัตถการ เช่น การถอนฟันหรือทำฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่หัวใจ
    • รักษาสุขอนามัยในช่องปาก เช่น แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
    • หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  3. เฝ้าระวังอาการผิดปกติ
    • อาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอก อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว
    • อาการขาบวม เท้าบวม หรือข้อเท้าบวม ซึ่งอาจเกิดจากมีน้ำเกินในร่างกาย ซึ่งเป็นสัญญาณการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ
    • มีไข้หรืออาการคล้ายไข้หวัด ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ
  4. การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และโปรตีนไร้ไขมัน
    • ลดการบริโภคเกลือและไขมันอิ่มตัว เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีวิตามินเคสูง เช่น ผักใบเขียวเข้ม หากใช้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยา
  5. ติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
    • เข้าพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจเช็กลิ้นหัวใจเทียมและประเมินการทำงานของหัวใจ
    • แจ้งแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออ่อนเพลียผิดปกติ
    • ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ INR (ค่าที่ประเมินการเกิดลิ่มเลือด) อย่างสม่ำเสมอในผู้ที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือด
  6. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
    • พักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงความเครียด
    • ออกกำลังกายเบา ๆ ตามที่แพทย์แนะนำ เช่น เดิน ปั่นจักรยานเบา ๆ
  7. การรับวัคซีนป้องกันโรค
    • รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำ
    • รับวัคซีนป้องกันปอดอักเสบตามคำแนะนำของแพทย์
    • ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและครอบครัว โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และใส่ใจการดูแลตัวเองในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

สรุป

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม นอกจากนี้การดูแลตัวเองทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดก็มีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และฟื้นตัวช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว เพื่อการกลับไปใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติ

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน (Echocardiogram)
  • โปรแกรมตรวจคัดกรองหลอดเลือดหัวใจและตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ (Calcium Score & Exercise Stress Test)
  • โปรแกรมตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score)
  • โปรแกรมตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test)
  • แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการใจสั่น พร้อมติดเครื่อง EVENT Recorder
  • แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการใจสั่น พร้อมติดเครื่อง Holter Monitoring

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา