Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 27 มีนาคม 2025
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

หัวใจสามารถเต้นเป็นจังหวะต่อเนื่องได้อัตโนมัติ จากการทำงานของเซลล์พิเศษที่สร้างกระแสไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง (pacemaker cell) ถ้าเซลล์ดังกล่าวไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ตามทิศทางปกติ จะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่ต้องรักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม 

Key Takeaways

  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ฝังลงไปใต้ผิวหนัง เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า ให้กลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติ 
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ จะทำการสอดสายสื่อสัญญาณไปที่หัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำ เมื่อเชื่อมสายกับตัวส่งสัญญาณแล้ว จะฝังเครื่องไว้ที่บริเวณหน้าอกของผู้ป่วย 
  • หลังใส่เครื่อง หากมีอาการเหนื่อยหอบเฉียบพลัน หน้ามืดเป็นลม หรือแผลมีลักษณะบวมแดง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

สารบัญบทความ

  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ คืออะไร ทำไมผู้ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะควรใส่?
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ มีหลักการทำงานอย่างไร
  • วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • ขั้นตอนการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker implantation) พร้อมวิธีเตรียมตัวที่ถูกต้อง
  • การปฏิบัติตนหลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ให้แผลหายเร็ว
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ วิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดปกติ
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ คืออะไร ทำไมผู้ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะควรใส่?

Pacemaker คือ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ หรือ Pacemaker คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ฝังลงไปในผนังหน้าอกของผู้ป่วย ประกอบไปด้วย ตัวเครื่องส่งสัญญาณ สายสื่อสัญญาณไฟฟ้า และแบตเตอรี่ โดยเครื่องกระตุ้นหัวใจจะทำหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้าทดแทนขึ้น เมื่อตรวจพบความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจจากห้องบนสู่ห้องล่าง รวมถึงความผิดปกติของจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วสลับช้า 

ทำให้การเต้นของหัวใจกลับมามีจังหวะสม่ำเสมอมากขึ้น สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ได้เพียงพอ และไม่มีอาการแสดงของภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย, ไม่มีแรง, วิงเวียนศีรษะ หรือใจสั่น จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ มีหลักการทำงานอย่างไร 

ในขณะที่หัวใจเต้นเป็นปกติ สัญญาณจะถูกส่งผ่านสายสื่อสัญญาณ ไปยังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้เครื่องไม่ปล่อยไฟฟ้าออกมา แต่เมื่อหัวใจเต้นช้าลง มีจังหวะไม่สม่ำเสมอ ตัวเครื่องส่งสัญญาณจะทำการปล่อยไฟฟ้าผ่านสายสื่อสัญญาณไปยังหัวใจห้องต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีอัตราการเต้นที่เร็วขึ้น ช่วยปรับการทำงานของหัวใจให้มีความสอดประสานกัน จนใกล้เคียงกับภาวะปกติที่สุด 

วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านการเต้นผิดปกติของหัวใจ และได้รับการประเมินจากแพทย์เรียบร้อยแล้ว เห็นสมควรว่าต้องเข้ารับการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ จะมีวิธีการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ 

  1. การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แบบใส่สายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (Endocardial lead placement) แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อสอดสายสื่อสัญญาณไฟฟ้า ไปยังหัวใจของผู้ป่วยผ่านทางหลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) หรือหลอดเลือดดำซับคลาเวียน (subclavian vein) ที่อยู่บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า

    เมื่อเคลื่อนสายถึงหัวใจแล้ว ปลายสายสื่อสัญญาณด้านหนึ่งจะถูกวางไว้บนเยื่อบุภายในหัวใจ ซึ่งต้องอาศัยการดูภาพถ่ายเอกซเรย์ประกอบการผ่าตัด เพื่อให้สายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และทำการฝังเครื่องส่งสัญญาณไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกส่วนบนของผู้ป่วย 

    จากนั้นแพทย์จะทำการต่อสายสื่อสารเข้ากับตัวส่งสัญญาณของเครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ ทั้งนี้ ระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยจะยังคงรู้สึกตัวอยู่ จึงอาจรู้สึกถึงแรงกดเล็กน้อยระหว่างใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ แต่ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาสลบก็ได้เช่นกัน 
  2. การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แบบติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (Epicardial lead placement) เทคนิคนี้จำเป็นต้องใช้การดมยาสลบก่อน เพราะแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเปิดเข้าทรวงอกด้านซ้าย เพื่อติดปลายสายสื่อสัญญาณที่เยื่อหุ้มหัวใจโดยตรง และทำการฝังเครื่องส่งสัญญาณไว้ที่บริเวณหน้าท้องใต้ชายโครง หรือใต้กล้ามเนื้อหน้าอกตามความเหมาะสม แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้วิธีนี้ในการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแล้ว 
  1. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบไร้สาย (Leadless Pacemaker) เป็นเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยการสอดผ่านเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ ผ่านทางสายสวนและฝังเครื่องไว้ที่หัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียที่ควรเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสม

ขั้นตอนการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker implantation) พร้อมวิธีเตรียมตัวที่ถูกต้อง 

ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะต้องทำการผ่าต

การปฏิบัติตนหลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ให้แผลหายเร็ว

การปฏิบัติตนหลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ให้แผลหายเร็ว

หลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็ว และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยควรดูแลตนเอง ตามคำแนะนำเหล่านี้

  • รับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง 
  • ระวังไม่ให้แผลโดนน้ำเป็นเวลา 7 วัน เพื่อป้องกันการอักเสบและติดเชื้อ 
  • หลีกเลี่ยงการกด แกะ เกา บริเวณแผลผ่าตัด 
  • ไม่ใส่เสื้อผ้าที่รัดแผล 
  • ช่วง 7 วันแรกก่อนเปิดแผล ให้จำกัดความเคลื่อนไหวของแขนข้างที่ใส่เครื่อง พยายามแนบชิดลำตัวเอาไว้ ถัดมา ในช่วงก่อนครบ 1 เดือน สามารถยกแขนได้ไม่เกินหัวไหล่ ไม่แกว่งแขนแรง ๆ หลังครบ 1 เดือนจะใช้แขนได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ทำให้เกิดการกระแทก 
  • มาตามนัดของแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษา และตรวจเช็กการทำงานของเครื่อง 
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น แผลบวมแดงมาก มีน้ำเหลืองไหล ไข้สูง หรือมีอาการเหนื่อยหอบเฉียบพลัน ใจสั่น เป็นลม สะอึกบ่อย ๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที 

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ วิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดปกติ  

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ เครื่องจะช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจให้เร็วขึ้น ลดอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นช้า เช่น อ่อนเพลีย ใจสั่น วูบหรือหมดสติได้ดี

หากคุณเป็นโรคดังกล่าวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา สามารถเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ได้ที่สถาบันหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระรามเก้า ซึ่งมีบริการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาหัวใจอย่างละเอียด ช่วยฟื้นฟูสุขภาพหัวใจ ให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติอีกครั้ง 

สามารถติดต่อโรงพยาบาลผ่านช่องทาง ดังนี้

  • Facebook: Praram 9 hospital  
  • Line @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ มีความเสี่ยงหรือไม่? 

หลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ อาจมีความเสี่ยงพบภาวะแทรกซ้อนได้บ้าง เช่น มีลมรั่วในช่องปอด สายสื่อเลื่อนหลุด การติดเชื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีเลือดออกมากหรือเกิดก้อนเลือดใต้ผิวหนัง มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อไหล่ติด จากการไม่ยอมเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วย เนื่องจากกลัวเจ็บ เป็นต้น แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดต่ำ ประมาณร้อยละ 1-5 เท่านั้น 

หลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง?

หลังใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ควรระวังการอยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กแรงสูง การตรวจ MRI การรักษาด้วยรังสีหรือฉายแสง พยายามใช้โทรศัพท์มือถือให้ห่างจากจุดที่ฝังเครื่องราว 1 ฟุต และพกบัตรประจำตัวของผู้ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจติดตัวไว้เสมอ 

References 

Heart Foundation. (2024, March 10). Permanent Pacemaker (PPM). https://www.heartfoundation.org.au/your-heart/permanent-pacemaker-ppm

National Institutes of Health. (2022, March 24). What Are Pacemakers?. https://www.nhlbi.nih.gov/health/pacemakers

The Mater Hospital. (n.d.). Permanent Pacemaker Implantation (PPM). https://www.mater.ie/docs/services/cardiology/Pacemaker%20v1.0%20Aug%2022.pdf

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา