Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ลิ้นหัวใจรั่ว…อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น อาจเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง!

นพ.อนุพงษ์ ปริณายก

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 29 สิงหาคม 2024
ลิ้นหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจไม่สามารถปิดได้สนิท ทำให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ห้องหัวใจห้องเดิม ซึ่งอาจส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อชดเชยการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติไป หากมีลิ้นหัวใจรั่วรุนแรง และไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือความดันในปอดสูงได้ ดังนั้น การรู้เท่าทันสาเหตุ อาการ วิธีการวินิจฉัย และการรักษา จะช่วยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคลิ้นหัวใจรั่ว และสังเกตอาการ รวมถึงทราบถึงการป้องกันโรคนี้ได้

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • โรคลิ้นหัวใจรั่วคืออะไร?
  • สัญญาณเตือน และอาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • โรคลิ้นหัวใจรั่วเกิดจากอะไร?
  • การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว
  • สรุป

โรคลิ้นหัวใจรั่วคืออะไร?

หัวใจของเรามี 4 ห้อง โดยแต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของเลือดระหว่างห้องหัวใจและหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อให้เลือดไหลไปเป็นทิศทางเดียว และป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี ลิ้นหัวใจอาจเกิดการรั่ว ทำให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่ห้องหัวใจเดิม ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ลิ้นหัวใจที่มักพบว่ามีการรั่วได้บ่อย คือ

  1. ลิ้นหัวใจไมทรัล (Mitral Valve): เป็นลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจซ้ายบน (Left Atrium) และห้องหัวใจซ้ายล่าง (Left Ventricle)
  2. ลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic Valve): เป็นลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจซ้ายล่างและหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)
  3. ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid Valve): เป็นลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาบน (Right Atrium) และห้องหัวใจขวาล่าง (Right Ventricle)
  4. ลิ้นหัวใจพัลโมนิก (Pulmonary Valve): เป็นลิ้นที่อยู่ระหว่างห้องหัวใจขวาล่างและหลอดเลือดปอด (Pulmonary Artery)

> กลับสู่สารบัญ

สัญญาณเตือน และอาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว

อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่วมีได้หลายอาการ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและระยะเวลาของโรค เช่น

  1. หายใจลำบาก: มักมีอาการเมื่อออกแรง หรือในรายที่รุนแรงอาจมีอาการหายใจลำบากเมื่อนอนราบ
  2. อ่อนเพลีย: รู้สึกเหนื่อยง่ายหรือไม่มีแรง แม้จะทำกิจกรรมที่เคยทำได้ปกติ
  3. ใจสั่น: รู้สึกว่าใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
  4. บวม: อาจพบว่ามีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า หรือขา เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไม่ปกติ
  5. ไอเรื้อรัง: โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ซึ่งอาจเป็นอาการของน้ำท่วมปอด
  6. แน่นหน้าอก: อาจมีอาการแน่นหน้าอก เมื่อออกแรง หรือในภาวะที่หัวใจทำงานหนัก

หากมีอาการดังกล่าวเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

โรคลิ้นหัวใจรั่วเกิดจากอะไร?

โรคลิ้นหัวใจรั่วเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • โรคหัวใจขาดเลือด (Coronary Artery Disease): การอุดตันของหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอและลิ้นหัวใจเกิดความเสียหาย
  • การเสื่อมของลิ้นหัวใจตามอายุ (Degenerative Valve Disease): เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ลิ้นหัวใจอาจเสื่อมสภาพ ทำให้ปิดไม่สนิท และเกิดการรั่วได้
  • มีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ (Infective Endocarditis): การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจจะทำให้ลิ้นหัวใจเกิดการอักเสบและเสียหาย
  • โรคไข้รูมาติก (Rheumatic Fever): โรคนี้มักเกิดจากการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ แล้วทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว
  • ภาวะลิ้นหัวใจยาวและย้วย (Mitral Valve Prolapse): เกิดจากลิ้นหัวใจไมทรัลย้วย และยาวยื่นเข้ามาในห้องหัวใจซ้ายบนเมื่อหัวใจบีบตัว ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

การวินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่วต้องอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจ เช่น

  1. การฟังเสียงหัวใจ (Auscultation): แพทย์อาจฟังเสียงหัวใจเพื่อฟังเสียงของเลือดที่ไหลผิดปกติ
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram – EKG): เพื่อบันทึกการทำงานของหัวใจและตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  3. การเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray): เพื่อดูขนาดและรูปร่างของหัวใจและปอด
  4. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจหรืออัลตราซาวนด์หัวใจ (Echocardiogram): เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพหัวใจ โดยจะเห็นการเปิดปิดของลิ้นหัวใจและการไหลของเลือด

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

การรักษาลิ้นหัวใจรั่วขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาแบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบรวมกัน ดังนี้:

  1. การรักษาด้วยยา
    • ยาลดความดันโลหิต: เพื่อลดภาระการทำงานของหัวใจ
    • ยาขับปัสสาวะ: เพื่อลดปริมาณของเหลวในร่างกายและบรรเทาอาการบวม
    • ยาลดการเต้นของหัวใจ: เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและควบคุมการเต้นของหัวใจให้สม่ำเสมอ
    • ยาอื่น ๆ: แพทย์อาจพิจารณาให้ยาอื่น ๆ เพิ่มเติม
  2. การรักษาผ่านทางสายสวนหัวใจ (Catheter-Based Procedures)
    • การใส่คลิปที่ลิ้นหัวใจ (MitraClip): เป็นวิธีที่ใช้สายสวนหัวใจใส่คลิปเล็ก ๆ ที่ลิ้นหัวใจไมทรัล เพื่อช่วยให้ลิ้นหัวใจปิดได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดใหญ่ได้
    • การใส่ลิ้นหัวใจเทียมเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (Transcatheter Aortic Valve Replacement – TAVR): สำหรับผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบหรือรั่วอย่างรุนแรง วิธีนี้จะใช้สายสวนใส่ลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปแทนที่ลิ้นหัวใจที่เสียหาย โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก
  3. การผ่าตัด
    • การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ (Valve Repair): ในบางกรณีสามารถซ่อมลิ้นหัวใจที่รั่วได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นลิ้นหัวใจเทียม โดยแพทย์อาจใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การเย็บซ่อมแซม หรือการใช้วงแหวนพยุงลิ้นหัวใจ (Annuloplasty Ring) เพื่อทำให้การรั่วของลิ้นหัวใจน้อยลง
    • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement): แต่หากลิ้นหัวใจเสียหายรุนแรง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ โดยใช้ลิ้นหัวใจเทียม (Prosthetic Valve) ซึ่งอาจเป็นลิ้นหัวใจโลหะ (Mechanical Valve) หรือลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากเนื้อเยื่อ (Bioprosthetic Valve)

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพหัวใจและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่ว การป้องกันโรคลิ้นหัวใจทำได้โดย

  1. ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ: ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนักและทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  2. ป้องกันการติดเชื้อ: ดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจแพร่เข้าสู่ลิ้นหัวใจ เช่น แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน และพบทันตแพทย์เป็นประจำ นอกจากนี้หากเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ  ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรทำการรักษาโรคติดเชื้อนั้น ๆ อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะโรคติดเชื้อในลำคอ ซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบของลิ้นหัวใจได้
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน วิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจและระบบหลอดเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  4. ควบคุมน้ำหนักและอาหาร: รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด และอาหารที่มีไขมันดี ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและลิ้นหัวใจรั่ว
  5. เลิกสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์: การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของลิ้นหัวใจรั่ว และควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ
  6. การจัดการความเครียด: การจัดการความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือการผ่อนคลายอื่น ๆ จะช่วยรักษาสุขภาพหัวใจและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ: ตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน

การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถทำได้โดยการรักษาสุขภาพหัวใจและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคลิ้นหัวใจรั่วและโรคหัวใจอื่น ๆ ได้

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ลิ้นหัวใจรั่วเป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ทำให้มีเลือดไหลย้อนกลับและทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น หัวใจล้มเหลว 

การวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้อง เช่น การใช้ยา การผ่าตัด และการสวนหัวใจ จะสามารถช่วยควบคุมอาการและชะลอความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การควบคุมความดันโลหิต ควบคุมไขมัน การออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพหัวใจอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยป้องกันและทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง ลดความเสี่ยงของโรคลิ้นหัวใจรั่วได้

สนใจนัดหมายแพทย์

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจเช็คหัวใจให้ชัวร์ Exclusive Heart

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการใจสั่น พร้อมติดเครื่อง EVENT Recorder

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการใจสั่น พร้อมติดเครื่อง Holter Monitoring

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

A0941

นพ.อนุพงษ์ ปริณายก

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา