Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ตรวจเลือดมะเร็ง ตรวจอย่างไร บอกอะไรได้บ้าง?

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 21 สิงหาคม 2024
ตรวจเลือดมะเร็ง

ปัจจุบันพบว่าคนไทยป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบว่าป่วยเป็นมะเร็งก็มักจะอยู่ในระยะที่รุนแรง และทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรก ๆ จะสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาหายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ 

ปัจจุบันโปรแกรมการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลหลาย ๆ แห่งมีการตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง ที่สามารถบอกแนวโน้ม และความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ซึ่งการตรวจเลือดมะเร็งนี้เรียกว่าการตรวจ Tumor Marker (สารบ่งชี้มะเร็ง) ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและเจ็บตัวน้อยในการตรวจหามะเร็งเบื้องต้น

การตรวจ Tumor Marker สามารถตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถยืนยันผลการวินิจฉัยมะเร็งได้ หากพบผลผิดปกติ แพทย์มักจะแนะนำให้มีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจทางรังสี การตรวจอัลตราซาวนด์ หรือการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยให้แม่นยำขึ้น

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • การตรวจเลือดมะเร็งคืออะไร?
  • การตรวจเลือดมะเร็งดีอย่างไร?
  • ตรวจเลือดมะเร็งทำอย่างไร?
  • ประโยชน์ของการตรวจเลือดมะเร็ง
  • ใครบ้างควรตรวจเลือดมะเร็ง
  • สารบ่งชี้มะเร็งมีอะไรบ้าง?
  • สรุป

การตรวจเลือดมะเร็งคืออะไร?

การตรวจเลือดมะเร็งคือการใช้ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย ที่ได้จากการเจาะเลือดเพื่อตรวจสอบหาสารหรือสิ่งบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง เช่น โปรตีน สารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง (DNA, RNA) หรือสารชีวเคมีอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาจากเซลล์มะเร็งหรือจากร่างกายที่ตอบสนองต่อการเกิดมะเร็ง

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจเลือดมะเร็งดีอย่างไร?

การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งมีข้อดีคือ สามารถทำให้ตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด นอกจากนี้การตรวจเลือดยังสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องมีการผ่าตัดหรือกระบวนการที่ซับซ้อน และยังสามารถใช้ในการติดตามผลการรักษา และตรวจหาการกลับมาเป็นซ้ำของโรคได้อีกด้วย

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจเลือดมะเร็งทำอย่างไร?

  1. เจาะเลือดจากผู้ป่วย เพื่อการเก็บตัวอย่างเลือด: ผู้ป่วยจะได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดที่แขน ซึ่งเป็นวิธีการเจาะเลือดตรวจร่างกายปกติในปัจจุบัน
  2. การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ: ตัวอย่างเลือดจะถูกนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาสารบ่งชี้มะเร็ง 
  3. การแปลผล: ผลการตรวจเลือดจะถูกแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะพิจารณาผลการตรวจเลือดร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อการตัดสินใจในการวินิจฉัยและการรักษา

> กลับสู่สารบัญ

ประโยชน์ของการตรวจเลือดมะเร็ง

  • สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรก: การตรวจเลือดมะเร็งสามารถคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ซึ่งเป็นระยะที่มีผลการรักษาดีที่สุด
  • ติดตามผลการรักษา: การตรวจเลือดมะเร็งสามารถใช้ในการติดตามผลการรักษามะเร็งได้ โดยการติดตามสารบ่งชี้ชีวภาพที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นหลังการรักษา
  • ตรวจหาโรคมะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ำ: การตรวจเลือดมะเร็งสามารถใช้ในการตรวจหาโรคมะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์โรคมะเร็งสามารถตรวจพบและวางแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างควรตรวจเลือดมะเร็ง

  • ผู้ที่มีครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็ง: หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นมะเร็ง การตรวจเลือดอาจช่วยในการตรวจพบการเกิดมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ ซึ่งเป็นระยะที่มีโอกาสรักษาหาย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง: ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เคยได้รับสารเคมีที่เป็นพิษ หรือทำอาชีพหรือมีกิจกรรมที่ได้รับแสงอาทิตย์มากเกินไป ควรพิจารณาการตรวจเลือดเพื่อค้นหาสรบ่งชี้มะเร็ง
  • ผู้ที่มีอาการที่สงสัยว่าเป็นอาการของโรคมะเร็ง: หากมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็ง เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ  มีเลือดออกที่อวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติ หรืออาการมะเร็งอื่น ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย
  • ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็ง: การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งจะช่วยในการตรวจหาโรคมะเร็งที่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้
  • ผู้ที่มีอายุอยู่ในวัยที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง: เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้มีความเสี่ยงของมะเร็งเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

สารบ่งชี้มะเร็งมีอะไรบ้าง?

  • Prostatic Specific Antigen (PSA) เป็นสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่หากพบค่า PSA สูง อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ 100% เนื่องจากในผู้ป่วยที่มะภาวะต่อมลูกหมากโตก็อาจมีค่า PSA สูงขึ้นได้
  • Prostatic Acid Phosphatase (PAP) มักพบว่ามีค่าสูงในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 
  • CA125 สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด 
  • CA19-9 มักพบว่ามีค่าสูงในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งถุงน้ำดี 
  • CA-15-3 เป็นสารที่ใช้ติดตามมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมที่แพร่กระจาย เนื่องจากในมะเร็งระยะเริ่มแรกค่านี้อาจไม่สูง ควรตรวจร่วมกับแมมโมแกรมเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น
  • Carcinoembryonic Antigen (CEA) สารนี้มักมีค่าสูงในมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจาย 
  • Alpha-Fetoprotein (AFP) อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งตับ มะเร็งลูกอัณฑะ หรือมะเร็งรังไข่
  • Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ปกติสารนี้จะสร้างจากรกและพบสูงในหญิงตั้งครรภ์ แต่หากพบค่านี้สูงในคนทั่วไป อาจบ่งชี้ถึงมะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งปอด
  • LDH (Lactate Dehydrogenase) สารนี้ไม่เจาะจงกับมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง ใช้ตรวจหาเซลล์ผิดปกติในร่างกายและติดตามรักษามะเร็งบางชนิด
  • Neuron Specific Enolase (NSE) มักพบในมะเร็งของเซลล์ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เช่น มะเร็งปอด และมะเร็งของระบบประสาท
  • Human Growth Hormone (HGH) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอด
  • Ferritin ในมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งตับ และหากพบค่า Ferritin สูงพร้อมกับ CEA อาจบ่งชี้ถึงมะเร็งเต้านม

แต่อย่างไรก็ตามการตรวจเลือดมะเร็งต้องได้รับการแปลผลและวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้อง

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

การตรวจหาสารบ่งชีมะเร็งเป็นวิธีที่มีประโยชน์และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกเริ่มได้ อย่างไรก็ตามการแปลผลการตรวจควรได้รับการแปลผลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วยเพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้อง 

การดูแลสุขภาพโดยรวมยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็งและการมีสุขภาพที่ดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

สนใจนัดหมายแพทย์

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งหญิง

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งชาย

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมพร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Liquid prep

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Liquid Prep+HPV DNA PCR

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (3D Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความผิดปกติของเต้านมด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปอด (Low-Dose CT Lung Screening)

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา