Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

อาการความดันสูงเป็นอย่างไร? อันตรายเงียบ… รู้ไว้ก่อน ป้องกันได้

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 15 พฤษภาคม 2024
อาการความดันสูงเป็นอย่างไร

ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่พบบ่อยและส่งผลกระทบต่อประชากรหลายล้านคนทั่วโลก มักถูกขนานนามว่า ” ฆาตกรเงียบ ” เพราะความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากความดันสูงขั้นรุนแรงอาจแสดงอาการผิดปกติได้ การทราบว่าอาการความดันสูงเป็นอย่างไร? จะช่วยให้สามารถสังเกตสัญญาณความผิดปกติได้

สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลกได้มีการกำหนดให้วันที่ 17 พ.ค. ของทุกปี เป็น “วันความดันโลหิตสูงโลก” (World Hypertension Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาการโลกตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • ทำไมความดันโลหิตสูงถึงมักไม่มีอาการ?
  • ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงโรคอื่น ๆ
  • อาการความดันสูงเป็นอย่างไร?
  • อย่าปล่อยให้ความเงียบหลอกคุณ: การตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ คือหัวใจสำคัญของการรักษา
  • การควบคุมความดันโลหิต
  • สรุป

ทำไมความดันโลหิตสูงถึงมักไม่มีอาการ?

หลาย ๆ คนมีความสงสัยว่า อาการความดันสูงเป็นอย่างไร?  ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ ซึ่งการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการนั้น เนื่องจากความดันโลหิตสูงเกิดจากแรงดันของเลือดที่ดันที่ผนังหลอดเลือดแดงสูงเกินปกติ แรงดันที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถทำลายหลอดเลือดได้หากเป็นเรื้อรัง แต่ร่างกายจะปรับตัวต่อแรงดันที่สูงนี้ได้เอง ซึ่งการปรับตัวนี้เป็นคำอธิบายว่าทำไมคนที่มีความดันโลหิตสูงจึงไม่มีอาการ

> กลับสู่สารบัญ

ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงโรคอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การไม่มีอาการผิดปกติไม่ได้แปลว่าไม่เป็นอันตราย ความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการควบคุมอาจส่งผลร้ายแรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น

โรคหัวใจ

ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ซึ่งในระยะยาวอาจนำไปสู่โรคหัวใจในที่สุด

**แนะนำแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ >> แพ็กเกจเช็คหัวใจให้ชัวร์ Exclusive Heart

โรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง แรงที่กระทำต่อผนังหลอดเลือดแดงอาจทำให้เสียหาย เสี่ยงต่อการแตกหรืออุดตันได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากเกิดหลอดเลือดแดงแตกหรืออุดตันในสมอง อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมา

โรคไต

ความดันโลหิตสูงอาจทำลายระบบกรองภายในไต นำไปสู่โรคไต

หัวใจล้มเหลว

เมื่อเวลาผ่านไป แรงดันที่สูงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อหัวใจ อาจทำให้หัวใจทำงานได้แย่ลง สูบฉีดเลือดได้ไม่ดี ภาวะนี้เรียกว่า “หัวใจล้มเหลว”

> กลับสู่สารบัญ

อาการความดันสูงเป็นอย่างไร?

แม้ว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการที่ชัดเจน แต่บางคนอาจแสดงอาการที่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามสัญญาณเหล่านี้มักไม่เฉพาะเจาะจง และอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ แต่หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรต้องไปตรวจวัดความดันโลหิต เพื่อหาว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่

1. ปวดศีรษะ

การปวดศีรษะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในตอนเช้า อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของความดันโลหิตสูง

2. วิงเวียนหรือรู้สึกหน้ามืด

รู้สึกเหมือนหน้ามืดหรือวิงเวียนเมื่อยืนขึ้น อาจเป็นสัญญาณของความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลง

3. ตาพร่า

มีการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัวหรือมองไม่เห็นชั่วคราว อาจเป็นอาการที่พบได้น้อยแต่อาจเป็นอาการเตือนของความดันโลหิตสูง

4. อ่อนเพลีย

รู้สึกเหนื่อยง่ายหรืออ่อนเพลียผิดปกติ บางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง

5.นอนหลับยาก

การนอนหลับไม่สม่ำเสมอและนอนหลับยาก อาจเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง

6.เลือดกำเดาไหล

การมีเลือดกำเดาไหลบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเด็ก อาจเป็นสัญญาณเตือนของความดันโลหิตสูง

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูงหรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ควรวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

> กลับสู่สารบัญ

อย่าปล่อยให้ความเงียบหลอกคุณ: การตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ คือหัวใจสำคัญของการรักษา

เพราะภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้การรักษาและการควบคุมอาการทำได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างมาก การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ มีความสำคัญดังนี้

  • ป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพร้ายแรง: การตรวจพบและควบคุมความดันโลหิตสูงตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อย่างมาก
  • ลดความจำเป็นในการใช้ยา: การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเพียงพอที่จะควบคุมความดันโลหิตได้ โดยอาจช่วยให้ชะลอหรือแม้กระทั่งหลีกเลี่ยงการใช้ยาได้
  • รักษาสุขภาพโดยรวม: การรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือด และส่งเสริมสุขภาพโดยรวม

> กลับสู่สารบัญ

การควบคุมความดันโลหิต

แม้ว่าจะพบบ่อยแต่ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่สามารถควบคุมได้ โดยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้มีสุขภาพดี คุณก็จะสามารถลดความดันโลหิต และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างมาก ซึ่งทำได้โดย

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ: ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของความดันโลหิตสูง การลดน้ำหนัก ก็สามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตได้อย่างมาก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: เน้นการรับประทานอาหารที่สมดุล ผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ โซเดียม และของหวาน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ: ตั้งเป้าหมายออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ด้วยความหนักระดับปานกลาง 5 วันต่อสัปดาห์
  • ลดความเครียด: ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อความดันโลหิตสูง ลองทำกิจกรรมการจัดการความเครียด เช่น โยคะ การนั่งสมาธิ หรือการฝึกหายใจลึก ๆ
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • ไม่สูบบุหรี่: การสูบบุหรี่ทำลายหลอดเลือด และทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • ควบคุมโรคประจำตัว: หากคุณมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือโรคไต ควรพบแพทย์ตามนัดและควบคุมโรคเหล่านั้นไม่ให้รุนแรง เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจทำให้ความดันโลหิตสูงรุนแรงขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยร้ายที่คุกคามระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไต และหัวใจล้มเหลว การที่ทราบว่าอาการความดันสูงเป็นอย่างไร? จะช่วยให้ทราบถึงอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณอันตราย สัญญาณเตือนของความดันโลหิตสูงที่ไม่ควรปล่อยละเลย เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย นอนหลับยาก และเลือดกำเดาไหล การป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถทำได้โดยการหมั่นตรวจวัดความดันเป็นประจำ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดความเครียด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกสูบบุหรี่ การรักษาสุขภาพและรู้เท่าทันเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง เป็นการป้องกันจากโรคร้ายและสร้างสุขภาพที่แข็งแรงให้กับตัวเอง


หากมีอาการที่น่าสงสัย หรือมีข้อกังวลเกี่ยวกับความดันสูง ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม

ปรึกษาอาการเบื้องต้นได้เลย เพื่อสุขภาพของคุณ

สนใจนัดหมายแพทย์

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา