Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจง่าย ป้องกันมะเร็งได้ก่อนสายเกินไป

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2024
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหารสามารถเข้าไปส่องดูภายในของลำไส้ใหญ่ได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ในปัจจุบันวิธีนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจหาและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ นับเป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีการแนะนำให้ทุกคนควรได้รับตรวจหากอยู่ในช่วงอายุ 40-50 ปีขึ้นไป

สารบัญ

  • ลำไส้ใหญ่คืออะไร?
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ส่องกล้องลำไส้ใหญ่คืออะไร?  ทำอย่างไร?
  • ผู้ที่ควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
  • การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลําไส้ใหญ่
  • อาการที่อาจพบได้หลังการตรวจ
  • ส่องกล้องลําไส้ใหญ่อันตรายไหม?
  • สรุป

ลำไส้ใหญ่คืออะไร?

ลำไส้ใหญ่ (colon) คือ อวัยวะที่เป็นท่อของกล้ามเนื้อในส่วนท้ายของระบบทางเดินอาหาร โดยต่อมาจากลำไส้เล็กแล้วไปสิ้นสุดที่ไส้ตรงและรูทวาร ลำไส้ใหญ่มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร 

หน้าที่หลักของลำไส้ใหญ่ คือเปลี่ยนกากอาหารที่ผ่านการย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ให้กลายเป็นอุจจาระ โดยการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุที่ยังเหลืออยู่ และบีบตัวให้อุจจาระเคลื่อนที่ไปจนขับถ่ายออกจากร่างกายในที่สุด นอกจากนั้นลำไส้ใหญ่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งสมดุลของจุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon cancer หรือ colorectal cancer) คือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ โดยเริ่มจากการเป็นติ่งเนื้องอก (polyps) จากนั้นจึงมีการพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์มะเร็ง 

มะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำให้ลำไส้ใหญ่มีการทำงานผิดปกติไป สูญเสียการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ ส่งผลต่อลักษณะของอุจจาระและการขับถ่าย ทำให้ผู้ป่วยมาด้วยอาการท้องผูกหรือท้องเสียบ่อย อาจมีท้องผูกสลับกับท้องเสีย ถ่ายไม่สุด อุจจาระมีก้อนเล็กลง มีมูกเลือดปนเวลาเบ่งถ่าย รวมทั้งอาจมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก หรือตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระจากการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งหมดนี้คือสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากปล่อยไว้เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ 

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งทั้งหมด 

วิธีการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุด คือ การดูแลสุขภาพ กินอาหารที่มีกากใยสูงเป็นประจำ หมั่นสังเกตการขับถ่าย และที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพราะจะช่วยให้เราตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเนื้องอก และตัดออกได้ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง หรือถ้าหากพบว่าเป็นมะเร็ง ก็จะสามารถพบได้เร็วตั้งแต่ในระยะที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย ก็จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่ามาก

> กลับสู่สารบัญ

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่คืออะไร? ทำอย่างไร?

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น fiber optic ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฎบนจอโทรทัศน์ 

โดยแพทย์จะสอดกล้องเข้าไปทางปากทวารหนักจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนต้นซึ่งต่อกับลำไส้เล็กส่วนปลายทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้ถูกต้องแม่นยำ สามารถวินิจฉัยว่าเป็น แผล เนื้องอก มะเร็ง หรือความผิดปกติของเส้นเลือดในลำไส้ใหญ่ นอกจากนั้นเครื่องมือยังสามารถกำจัดเนื้องอกผิดปกติได้ในทันที การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่จึงนับได้ว่าเป็นทั้งการตรวจคัดกรองและการรักษาป้องกันในคราวเดียวกัน

> กลับสู่สารบัญ

ผู้ที่ควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป แม้จะสุขภาพดี ไม่มีอาการใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ควรได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ทุก 3-5 ปี
  • ตรวจอุจจาระพบเม็ดเลือดแดงแฝง (stool occult blood: positive) หรือผลการตรวจเลือดพบค่าสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ (CEA) สูงผิดปกติ
  • มีอาการปวดท้องเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการคล้ายริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งมีก้อนเนื้อยื่นออกมา
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายไม่สุด หรือถ่ายอุจจาระเรียวแบน
  • ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • คลำพบก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
  • โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับในด้านการรักษา สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติ ส่งตรวจและการตัดเอาเนื้องอกที่เป็นติ่งเล็ก ๆ ผ่านกล้อง โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดช่องท้อง และในกรณีมีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ สามารถหาสาเหตุและห้ามเลือดโดยผ่านกล้องได้

ทั้งนี้ ก่อนทำการส่องกล้องแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการประเมินโรคประจำตัว และยาที่ทานเป็นประจำ เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด (Aspirin,Plavix) หรือ วิตามินอี เพราะทำให้เลือดหยุดช้า ต้องหยุดยาก่อนมารับการตรวจ 1 สัปดาห์ 

อย่างไรก็ตามการตรวจวินิจฉัยต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญในการตรวจ เพื่อผลการตรวจที่ดีที่สุด

> กลับสู่สารบัญ

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลําไส้ใหญ่

  • ก่อนวันนัด 3 วัน ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย งดผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย และดื่มน้ำมาก ๆ 
  • การเตรียมลำไส้ใหญ่ เป็นการเตรียมตัวก่อนการตรวจที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต้องให้กล้องที่สอดเข้าไปสามารถถ่ายภาพผนังลำไส้ใหญ่ได้อย่างชัดเจน แพทย์จึงจะสามารถตรวจหาความผิดปกติได้อย่างทั่วถึง ไม่ถูกบดบังโดยอุจจาระ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรับประทานยาระบาย และสวนอุจจาระเพื่อขับอุจจาระที่ตกค้างออกให้หมด โดยอาจมีการให้น้ำเกลือเพื่อช่วยลดอาการขาดน้ำและอ่อนเพลีย
  • ในวันตรวจ ผู้ป่วยควรมีญาติมาด้วย ไม่ควรขับรถมาเองคนเดียว

> กลับสู่สารบัญ

อาการที่อาจพบได้หลังการตรวจ

  1. ท้องอืด มีลมในลำไส้ เนื่องจากมีการใส่ลมเพื่อขยายผนังลำไส้ใหญ่ให้เห็นได้ชัดขณะส่องกล้อง
  2. อุจจาระอาจมีเลือดปนเล็กน้อย เนื่องจากอาจมีหัตถการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
  3. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ถ่ายอุจจาระมีเลือดปนไม่หยุด ควรรีบมาพบแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

ส่องกล้องลําไส้ใหญ่อันตรายไหม?

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่นับเป็นการตรวจคัดกรองที่ปลอดภัยสูง ความเสี่ยงต่ำ โดยผลการศึกษาเมื่อปี 2016 ในสหรัฐอเมริกา พบว่า มีอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงรุนแรงเกิดขึ้นน้อยมาก เพียง 4-8 ครั้งต่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 10,000 ครั้ง

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า การส่องกล้องลำไส้ใหญ่มีความสำคัญในการป้องกันและรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยที่ไม่ต้องรอให้ก้อนมะเร็งใหญ่จนแสดงอาการป่วยและความผิดปกติให้เห็น ซึ่งมักจะเป็นระยะที่มะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว หากตรวจคัดกรองพบก้อนเนื้อผิดปกติแต่เนิ่น ๆ แพทย์สามารถตัดได้ทันทีก่อนที่จะพัฒนากลายไปเป็นมะเร็ง การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงนับเป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และคุ้มค่า

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งหญิง

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งชาย

รายละเอียด

แพ็กเกจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนกล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา