Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

กระดูกพรุน สาเหตุของกระดูกเปราะ หักง่าย ภัยเงียบของผู้สูงวัย

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2024
กระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้กระดูกเปราะบาง หักง่าย มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยอื่นด้วยเช่นกัน และด้วยโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลก  มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติจึงได้กำหนดให้วันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันกระดูกพรุนโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแล และป้องกันโรคกระดูกพรุน

บทความนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน ครอบคลุมสาเหตุ อาการ กลุ่มเสี่ยง การวินิจฉัย แนวทางรักษา และการป้องกัน รวมทั้งการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน

สารบัญ

  • เข้าใจโรคกระดูกพรุน
  • สาเหตุโรคกระดูกพรุน
  • อาการของโรคกระดูกพรุน
  • การรักษาโรคกระดูกพรุน
  • โรคกระดูกพรุน ออกกำลังกายอย่างไร?
  • การป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • สรุป

เข้าใจโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) คือ ภาวะที่ความหนาแน่นและมวลกระดูกลดน้อยลง ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงลดลง กระดูกเปราะ และผิดรูป ระยะดำเนินของโรคใช้เวลายาวนานหลายปี พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ จึงไม่สามารถสังเกตหรือรู้สึกได้จนกว่าจะเกิดกระดูกหัก หรือเกิดการค่อมโค้งผิดรูปของกระดูกสันหลังเนื่องจากกระดูกทรุดและตัวเตี้ยลงอย่างชัดเจน

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. เพศ: เพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย เพราะผู้หญิงมีความหนาแน่นและมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย และมีโอกาสที่จะสูญเสียแคลเซียมในกระดูกมากกว่าเพศชาย อย่างไรก็ตามผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนเช่นเดียวกัน
  2. อายุ: โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เนื่องจาก กระบวนการสร้างเนื้อกระดูกทำได้ช้าลง แต่ในขณะเดียวกันกระบวนการสลายกระดูกกลับเร็วขึ้น จึงส่งผลให้เสียสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายเนื้อกระดูก
  3. น้ำหนักน้อยหรือผอม: ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยหรือมีภาวะผอมจะมีกระดูกเล็กและบาง จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ
  4. เชื้อชาติ: ผู้หญิงเอเชียและผู้หญิงชนชาติผิวขาวมีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้หญิงอัฟริกา อเมริกา และเม็กซิกัน เนื่องจากกระดูกมีความแข็งแรงน้อยกว่า
  5. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนทำให้เสียสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายเนื้อกระดูก 
  6. ยา: การใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้สูญเสียมวลกระดูกและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น ยากลุ่มฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ ซึ่งใช้รักษาโรคหอบและโรครูมาตอยด์ กลุ่มยากันชัก ยารักษาโรคมะเร็ง ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (proton pump inhibitor)
  7. อาหาร: การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีต่ำ หรือรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากหรือต่ำมากเกินไป ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน 
  8. ขาดการออกกำลังกาย: การไม่เคลื่อนไหวหรือไม่ออกกำลังกายเพิ่มความเสี่ยงในการสูญเสียมวลกระดูก
  9. ดื่มแอลกอฮอลล์: การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนเนื่องจากไปลดประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
  10. การสูบบุหรี่: มีงานวิจัยพบว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

> กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่ไม่มีอาการแสดงใด ๆ ที่ชี้ชัดว่ามีภาวะกระดูกพรุน จนกว่าจะเกิดกระดูกหักซึ่งอาจเกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากการยืด เหยียดผิดท่า มีการพลัดตกหกล้ม เป็นต้น อย่างไรก็ตามเราสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นดังนี้

  • ส่วนสูงลดลงทำให้ตัวเตี้ยลง
  • หลังค่อม หลังคด
  • ปวดเอว ปวดหลัง ปวดกระดูกเรื้อรัง
  • กระดูกหักง่าย

ถ้าพบอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการตรวจมวลกระดูก และตรวจวินิจฉัย โดยเร็วที่สุด

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคกระดูกพรุน

การรักษาโรคกระดูกพรุนจะเน้นการปรับพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน โดยกระตุ้นและส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ควบคู่ไปกับการรับประทานวิตามินดี เพื่อช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายเป็นประจำ งดการดื่มแอลกอฮอลล์ และสูบบุหรี่ 

กรณีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนอาจต้องรักษาโดยการใช้ยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรม เพื่อป้องกันกระดูกหัก ยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุนได้แก่

  1. กลุ่มยาที่ยับยั้งการสลายกระดูก เช่น estrogen agonist, calcitonin, bisphosphonates และ denosumab 
  2. กลุ่มยาส่งเสริมการสร้างกระดูก เช่น teriparatide, abaloparatide และ romosozumab

> กลับสู่สารบัญ

โรคกระดูกพรุน ออกกำลังกายอย่างไร?

เมื่อพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็สามารถออกกำลังกายได้เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่งเสริมให้ร่างกายมีความสมดุล ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก และบรรเทาอาการปวดเมื่อย แต่ต้องมั่นใจว่ารูปแบบการออกกำลังกายนั้นเหมาะสม และปลอดภัย 

ก่อนออกกำลังกายอาจต้องปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อทำการทดสอบความหนาแน่นของมวลกระดูก (bone density) และการประเมินสมรรถภาพของร่างกาย (fitness) จากนั้นจึงเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม ดังนี้

  • การออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านในการบริหารกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น (strength training exercise) เช่น ใช้ยางยืดออกกำลังกาย (resistant band) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังส่วนบนทำให้มีการจัดระเบียบร่างกายที่เหมาะสม และช่วยรักษามวลกระดูก
  • การออกกำลังกายโดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง (weight-bearing aerobic activities) เช่น การเดิน การวิ่ง และการเต้นแอโรบิกชนิดที่ไม่หนักเกินไป ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ส่งผลให้กระดูกขา กระดูกสะโพก และกระดูกสันหลังช่วงเอวแข็งแรง นอกจากนั้นยังเป็นการออกกำลังกายที่ส่งผลดีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วย
  • การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น (flexibility exercise) คือการออกกำลังกายที่มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยควรยืดเหยียดแบบช้า ๆ ช่วยลดการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวร่างกายและช่วยส่งเสริมการเคลื่อนที่ของข้อต่อต่าง ๆ
  • การออกกำลังเสริมกายด้วยการทรงตัว (ฺbalance exercises) เช่น การรำไทเก๊ก เป็นการฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ และช่วยในเรื่องการทรงตัว

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีโปรตีน และแคลเซียมเพียงพอ ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีควบคู่กับอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น
  • รับแดดในช่วงเช้าประมาณ 15 นาที เพื่อกระตุ้นการสร้างวิตามินดี และรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น น้ำมันตับปลา ปลาที่มีไขมันสูง (ปลาแซลมอน) นม ไข่ เห็ด เมล็ดธัญพืชและน้ำผลไม้ 
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในช่วงมาตรฐาน โดยค่าดัชนีมวลกาย (body mass index) ควรอยู่ในช่วง 18.5 – 22.90
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่พบได้บ่อยในวัยสูงอายุ เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจน แต่จะพบสัญญาณเตือนก็ต่อเมื่อมีภาวะกระดูกพรุนแล้ว สัญญาณเตือนดังกล่าว เช่น กระดูกหัก หลังค่อม ส่วนสูงลดลง ดังนั้นเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคกระดูกพรุนและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของคนที่คุณรัก ควรส่งเสริมให้มีการปรับพฤติกรรมให้ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก Bone Mineral Density

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการปวด หลัง บ่า ไหล่

รายละเอียด

โปรแกรมผ่าตัดข้อสะโพก

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา