Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

หัวใจโต สัญญาณเตือนโรคหัวใจ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2024
หัวใจโต

โรคหัวใจถือเป็นโรคยอดฮิตโรคหนึ่งในยุคปัจจุบัน ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษา อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “หัวใจโต” ซึ่งถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของหัวใจ และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจที่รุนแรงได้ ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหัวใจโตและการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สารบัญ

  • หัวใจโต คืออะไร?
  • อาการของภาวะหัวใจโต
  • หัวใจโตเกิดจากอะไร?
  • ใครบ้างเสี่ยงต่อภาวะหัวใจโต?
  • การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจโต
  • การรักษาหัวใจโต 
  • การป้องกันภาวะหัวใจโต
  • สรุป

หัวใจโต คืออะไร?

หัวใจโต (cardiomegaly) เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติกับโครงสร้างหัวใจ เป็นภาวะที่ตรวจพบได้ ซึ่งอาจตรวจพบตอนทำเอกซเรย์ทรวกอก การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือจากการตรวจอัลตราซาวนด์หัวใจ ภาวะนี้ไม่ใช่โรค เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่หรือหนาตัวขึ้น มักเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดันสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคอื่น ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ จนนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้  ดังนั้นจึงนับได้ว่าภาวะหัวใจโตนี้เป็นสัญญาณหนึ่งของโรคหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

อาการของภาวะหัวใจโต

  • หายใจถี่ โดยเฉพาะเมื่อออกแรงหรือเมื่อนอนลง
  • เหนื่อยง่าย
  • ขาบวม
  • อ่อนเพลีย
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • วิงเวียน เป็นลม
  • ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง

อาการเหล่านี้อาจไม่ปรากฏเสมอไป และอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของหัวใจโต บางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าอาการจะรุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ

> กลับสู่สารบัญ

หัวใจโตเกิดจากอะไร?

ภาวะหัวใจโตเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนี้

  1. โรคหัวใจขาดเลือด (coronary artery disease): เกิดจากการสะสมของคราบพลัคและไขมันในหลอดเลือดหัวใจ เกิดหลอดเลือดอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง หรือเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย จนหัวใจบีบตัวน้อยลง ทำให้เลือดเหลือค้างภายในหัวใจมากขึ้น ทำให้ห้องหัวใจมีการขยายตัวจนมีภาวะหัวใจโต
  2. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defects): ความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่เกิดตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติเหล่านี้อาจทำให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ เกิดภาวะหัวใจโตได้
  3. โรคหัวใจล้มเหลว (heart failure): เป็นภาวะที่หัวใจทำงานแย่ลงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ เกิดภาวะหัวใจโตได้
  4. โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy): ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดและความหนาผิดปกติ
  5. โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease): การตีบและการรั่วของลิ้นหัวใจทำให้ทิศทางการไหลของเลือดในห้องหัวใจผิดปกติ ทำให้เลือดค้างอยู่ในห้องหัวใจ เกิดภาวะหัวใจโตได้
  6. มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion): ทำให้เมื่อเอกซเรย์ทรวงอก จะพบว่าหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น
  7. ความดันในปอดสูง (pulmonary hypertension): ทำให้หัวใจห้องขวาทำงานหนักขึ้น เกิดภาวะหัวใจโตได้
  8. ความดันสูง (hypertension): เมื่อความดันสูง หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเอาชนะแรงดันในหลอดเลือดที่สูง เพื่อพยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการหนาตัว และโตขึ้น
  9. โรคไทรอยด์ (thyroid disease): ทั้งภาวะไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป (hyperthyroidism) และภาวะขาดไทรอยด์ ทำให้เกิดภาวะหัวใจโตได้
  10. เบาหวาน (diabetes): โรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการควบคุมจะทำให้หลอดเลือดเสียหาย ซึ่งรวมถึงหลอดเลือดหัวใจ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจโตตามมาได้
  11. ภาวะโลหิตจาง (anemia): ซึ่งทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ไม่เพียงพอ หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้นเพื่อชดเชยออกซิเจนที่ลดลงในกระแสเลือด เกิดเป็นภาวะหัวใจโตได้
  12. โรคอะไมลอยด์โดสิสหัวใจ (cardiac amyloidosis): เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย เป็นโรคที่มีการสะสมโปรตีนอะไมลอยด์ที่หัวใจ ทำให้ผนังห้องหัวใจหนาตัวขึ้นอย่างถาวร ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ
  13. การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอและโตขึ้น
  14. การใช้ยาบางชนิด: ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ อาจทำให้หัวใจโตได้
  15. การตั้งครรภ์: (ในบางกรณี) ในระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ในบางกรณี หัวใจอาจขยายตัวและหนาตัวชั่วคราว
  16. การออกกำลังกาย: โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (aerobic exercise) ในนักกีฬาบางคน หัวใจอาจจะขยายใหญ่ขึ้น จากการออกกำลังกายหนักและนานเป็นประจำ โดยทั่วไปภาวะหัวใจโตแบบนี้ไม่จัดเป็นโรคหรือภาวะที่อันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษา

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างเสี่ยงต่อภาวะหัวใจโต

  • ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคความดันสูง
  • ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ผู้ที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • ผู้ที่มีไทรอยด์ผิดปกติ
  • ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจโต

  • การซักประวัติและตรวจร่างกาย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
  • การเอกซเรย์ทรวงอก
  • การทำอัลตราซาวนด์หัวใจ (echocardiogram)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (cardiac MRI; CMR)
  • การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (cardiac CT scan)

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาหัวใจโต

การรักษาภาวะหัวใจโตจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ โดยทั่วไปแล้วการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดหัวใจโตและป้องกันไม่ให้หัวใจโตแย่ลง ซึ่งมีทั้งการรักษาด้วยยา และการผ่าตัดหรือทำหัตถการต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น หากภาวะหัวใจโตเกิดจากความสูง แพทย์อาจสั่งยาเพื่อลดความดัน หากภาวะหัวใจโตเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์อาจแนะนำให้ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจหรือผ่าตัดบายพาสหัวใจ ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันภาวะหัวใจโต

เพื่อป้องกันภาวะหัวใจโตทำได้โดยการลดและป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ควรงดสูบและหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ และรีบรักษาอาการใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจโต เช่น ความดันสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และคอเลสเตอรอลสูง นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัวหรือมีอายุมากกว่า 35 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ภาวะหัวใจโตคือภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่กว่าปกติ เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวหรือห้องหัวใจขยายตัว ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง การตรวจสุขภาพ และหมั่นสังเกตอาการ ว่ามีอาการที่เข้าได้กับอาการของภาวะหัวใจโตหรือไม่ ก็จะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยที่อันตรายหรือภาวะที่รุนแรงได้ 

การดูแลสุขภาพร่างกายก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้รวมถึงภาวะหัวใจโตด้วย

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (9 Healthy Heart: EST)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ (9 Healthy Heart: CAC)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการใจสั่น พร้อมติดเครื่อง Holter Monitoring

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการใจสั่น พร้อมติดเครื่อง EVENT Recorder

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา