Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มะเร็ง…รู้เร็ว รักษาได้ ผลลัพธ์ดี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2024
โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง (cancer) เป็นโรคที่น่ากลัวและร้ายแรง และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของโลก โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี 2022 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 10 ล้านคนทั่วโลก ในประเทศไทย โรคมะเร็งถือว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี 2022 มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 120,000 คนต่อปี 

เนื่องจากโรคมะเร็งมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจนเกิดการลุกลามของมะเร็ง และทำให้รักษายาก และเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น

สารบัญ

  • โรคมะเร็งคืออะไร?
  • โรคมะเร็งที่พบได้บ่อย
  • อาการ สัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง 
  • ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง
  • การวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • การตรวจคัดกรองมะเร็ง
  • การรักษาโรคมะเร็ง
  • การป้องกันโรคมะเร็ง
  • สรุป

โรคมะเร็งคืออะไร?

มะเร็ง (cancer) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย เซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วกว่าปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ทัน ส่งผลให้เซลล์มะเร็งรวมตัวกันเป็นก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่ ไปกดเบียดเนื้อเยื่ออวัยวะข้างเคียง และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายผ่านระบบเลือดและน้ำเหลือง ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะ ส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

เนื้องอกอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป เนื้องอกบางชนิดเป็นเพียงเนื้องอกธรรมดา ไม่ได้ลุกลามหรือทำลายเนื้อเยื่อข้างเคียง การวินิจฉัยว่าเนื้องอกนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

> กลับสู่สารบัญ

โรคมะเร็งที่พบได้บ่อย

มะเร็งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จากสถิติจากองค์การอนามัยโลก รายงานจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยปี 2022 แบ่งตามเพศดังนี้

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย 5 อันดับแรก

  1. มะเร็งเต้านม
  2. มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  3. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
  4. มะเร็งปากมดลูก
  5. มะเร็งปอด

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย 5 อันดับแรก

  1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
  2. มะเร็งปอด
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  4. มะเร็งต่อมลูกหมาก
  5. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

> กลับสู่สารบัญ

อาการ สัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง

มะเร็งระยะแรกมักไม่มีสัญญาณเตือนที่ชัดเจน หลายครั้งที่พบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างไรก็ตาม มะเร็งบางชนิดอาจแสดงอาการบางอย่างในระยะเริ่มต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง โดยอาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • มีไข้
  • มีเลือดออกผิดปกติที่อวัยวะต่าง เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือมูกเลือด มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์  มีรอยจ้ำ เป็นห้อเลือดง่าย หรือมีจุดแดงตามผิวหนัง 
  • มีอาการปวดของอวัยวะต่าง ๆ เช่น  ปวดหลัง หรือปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง
  • ท้องอืด ปวดเสียด ท้องเฟ้อแน่น อึดอัดท้อง เรื้อรัง หรือ ท้องผูกสลับท้องเสีย
  • น้ำหนักลดลงมาก โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเล็ด โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • แขนและ/หรือขาอ่อนแรง  มีอาการชัก โดยที่ไม่มีประวัติของโรคอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการชัก
  • กลืนลำบาก เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
  • แผลหายยาก รักษาไม่หาย
  • มีการเปลี่ยนแปลงของหูดและไฝตามร่างกาย มีก้อนหรือตุ่มต่าง ๆ ตามร่างกาย

> กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง เกิดจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายและภายในร่างกาย 

ปัจจัยภายนอกร่างกาย เป็นปัจจัยที่เราสามารถหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงได้ ดังนี้

  1. สารเคมีต่าง ๆ 
  • สารเคมีในอาหาร: เช่น สารอะฟลาทอกซินจากเชื้อราในอาหารแห้ง สีผสมอาหาร สารกันบูด
  • ควันบุหรี่และเขม่ารถยนต์
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สารเคมีจากเนื้อสัตว์แปรรูป: เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน
  • สารเคมีในอุตสาหกรรม:
  1. รังสีต่าง ๆ 
  • รังสีจากแสงแดด
  • รังสีเอกซเรย์
  • รังสีจากวัสดุอุปกรณ์กัมมันตภาพรังสี
  1. การติดเชื้อเรื้อรัง
  • ไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
  • ไวรัส Epstein-Barr
  • ไวรัส Human papillomavirus (HPV) ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
  • พยาธิใบไม้ตับ ทำให้เกิดมะเร็งตับและท่อน้ำดี

ปัจจัยภายในร่างกาย เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่สามารถดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงได้ ดังนี้

  1. อายุ
  2. พันธุกรรม
  3. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
  4. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  5. การระคายเคืองเรื้อรัง
  6. ภาวะทุพโภชนาการ

อย่างไรก็ตามหากพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคมะเร็ง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อจะช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งชนิดใด ระยะใด และเพื่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม แพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยหลายวิธีประกอบกัน ดังนี้

  • การตรวจร่างกายโดยแพทย์: แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด คลำหาต่อมน้ำเหลืองที่โต ก้อนเนื้อผิดปกติ หรือรอยโรคอื่น ๆ ในบางชนิดของมะเร็งผู้ป่วยสามารถตรวจด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ เช่น การตรวจเต้านม
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ: ตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเสมหะ เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง หรือเซลล์มะเร็ง ตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
  • การตรวจทางพยาธิวิทยา: โดยจะเป็นการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเซลล์จากบริเวณที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง แล้วส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของเซลล์ ตรวจสอบว่าเซลล์เหล่านั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ และเพื่อระบุชนิดของมะเร็ง
  • การตรวจทางรังสี: เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะอวัยวะ (MRI) การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยเทคนิคเหล่านี้ช่วยให้แพทย์มองเห็นก้อนเนื้อ มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และช่วยระบุระยะของโรค
  • การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ: เช่น การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร การตรวจอัลตราซาวด์อวัยวะต่าง ๆ

โดยแพทย์จะเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค อาการ และประวัติของผู้ป่วย

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจคัดกรองมะเร็ง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นวิธีการที่สำคัญ ช่วยให้พบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ส่งผลต่อแนวทางการรักษาและโอกาสหายจากโรค เพราะการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ ทำให้มีโอกาสรักษาหายสูง การรักษามีความซับซ้อนน้อยลง รวมทั้งผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยลง

ปัจจุบัน โปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งมักรวมอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไปหรืออาจมีโปรแกรมเฉพาะโรคเพื่อการตรวจที่ละเอียดและแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคมะเร็งทำได้โดย

  • การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง

    • AFP: ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
    • CEA: ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
    • PSA: ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
    • CA153: ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

    • ThinPrep Pap Test: ตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคมะเร็ง

ในการรักษาโรคมะเร็ง แพทย์จะวางแผนการรักษาโดยพิจารณาตามปัจจัยต่าง ๆ  เช่น ตำแหน่ง ระยะของโรคและความรุนแรงของโรค ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษาหลายวิธีประกอบกันเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด การรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการตรวจพบและรักษาที่ระยะรุนแรงแล้ว วิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยทั่วไป มีดังนี้

  • การผ่าตัด: เป็นการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเนื้อมะเร็งออก เหมาะสำหรับมะเร็งระยะแรก ๆ หรือมะเร็งที่ยังไม่ลามไปยังอวัยวะอื่น
  • การให้ยาเคมีบำบัด: เป็นการใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย อาจใช้ยาเพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดร่วมกัน มักใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การผ่าตัด หรือการฉายรังสี
  • การฉายรังสี: เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง อาจฉายรังสีจากภายนอกร่างกาย หรือสอดเครื่องมือฉายรังสีเข้าไปในร่างกาย มักใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การผ่าตัด หรือยาเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน: เป็นการใช้ยาฮอร์โมนเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การรักษาแบบผสมผสาน: เป็นการรักษาร่วมกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคมะเร็ง

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคมะเร็งที่จำเพาะเจาะจง แต่บุคคลทั่วไปสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพ ดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารเคมี แสงแดด
  • จัดการความเครียด
  • ตรวจสุขภาพและคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคมะเร็งคือการเกิดเซลล์ผิดปกติที่เติบโตอย่างไม่ปกติและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมหรือปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับหรือสัมผัสสารเคมี การควบคุมปัจจัยเสี่ยงและการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งหญิง

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งชาย

รายละเอียด

โปรแกรมตรวจหาเชื้อ Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหารผ่านทางลมหายใจ

รายละเอียด

โปรแกรมผ่าตัดมะเร็งเต้านม

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจหาเชื้อเอชพีวี (HPV DNA Test)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปอด (Low-Dose CT Lung Screening)

รายละเอียด

แพ็กเกจวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 9 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความผิดปกติของเต้านมด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (3D Digital Mammogram with Breast Ultrasound)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Liquid Prep+HPV DNA PCR

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมพร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Liquid prep

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา