Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ไขมันพอกตับ!…หากรู้ตัวช้า อาจเป็นสาเหตุของตับแข็ง และมะเร็งตับได้

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 19 มีนาคม 2024
ไขมันพอกตับ

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่ สร้างน้ำย่อยเพื่อย่อยอาหาร สร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด กำจัดสารพิษต่าง ๆ เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างและสลายสารอาหาร และสารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ แอมโมเนีย และยังทำหน้าเก็บกักสารอาหารเพื่อเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายอีกด้วย 

ปัจจุบันเราพบว่าประชาการมีความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับตับมากขึ้น โดยเฉพาะ “โรคไขมันพอกตับ” เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย จึงทำให้เสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ และหากมีภาวะไขมันพอกตับเรื้อรัง อาจทำให้มีภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับตามมาได้

สารบัญ

  • ไขมันพอกตับ คืออะไร? 
  • สาเหตุของไขมันพอกตับ 
  • อาการของไขมันพอกตับ 
  • ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ? 
  • อาหารแบบไหนเสี่ยงทำให้เป็นไขมันพอกตับ? 
  • การวินิจฉัยไขมันพอกตับ 
  • ไขมันพอกตับ เป็นแล้วหายได้ไหม? 
  • การรักษาไขมันพอกตับ
  • การป้องกันไขมันพอกตับ
  • สรุป

ไขมันพอกตับ คืออะไร?

ไขมันพอกตับ (fatty liver disease) เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันส่วนเกินที่ตับ ซึ่งมักทำให้เอนไซม์ตับ (AST และ ALT) ที่ตรวจได้จากการเจาะเลือดมีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ในบางรายหากปล่อยไว้นานไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับต่อไปได้ 

ภาวะไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  • ไขมันพอกตับในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ alcoholic fatty liver disease (AFLD) 
  • ไขมันพอกตับในผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD)

> กลับสู่สารบัญ

ไขมันพอกตับ คืออะไร?

ไขมันพอกตับ (fatty liver disease) เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันส่วนเกินที่ตับ ซึ่งมักทำให้เอนไซม์ตับ (AST และ ALT) ที่ตรวจได้จากการเจาะเลือดมีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ในบางรายหากปล่อยไว้นานไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับต่อไปได้ 

ภาวะไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  • ไขมันพอกตับในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ alcoholic fatty liver disease (AFLD) 
  • ไขมันพอกตับในผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD)

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของไขมันพอกตับ

สาเหตุของไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (AFLD)

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำและเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันสะสมในตับ เนื่องจากตับมีหน้าที่ในการเผาผลาญแอลกอฮอล์ ดังนั้นการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้ตับทำงานหนัก ประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลง และยังทำให้เกิดการสะสมของไขมัน ซึ่งเป็นผลมาจากการสลายแอลกอฮอล์ ทำให้มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิด “ภาวะไขมันพอกตับ”

ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ที่สามารถนำไปสู่ไขมันพอกตับอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่โดยทั่วไปการศึกษาพบว่าการบริโภคแอลกอฮอล์มากกว่า 40 กรัม (หรือประมาณ 4 แก้ว) ต่อวันเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาจนเกิดภาวะไขมันพอกตับมักเกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นปีหรือหลายปี

สาเหตุไขมันพอกตับในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

  • จากภาวะอ้วน หรือการมีไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกายมากเกินไป โดยเฉพาะไขมันหน้าท้อง โดยจะสังเกตได้ว่าเป็นลักษณะการอ้วนแบบ “ลูกแอปเปิล” หรือ “apple-like” body shape 
  • มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เนื่องจากอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อร่างกายมีภาวะดื้อต่อการทำงานของอินซูลิน (ซึ่งมักพบในโรคอ้วนและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2) ตับจะตอบสนองโดยการผลิตน้ำตาลกลูโคสมากขึ้น ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับ
  • รับประทานทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะทำให้มีระดับไขมันและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และถูกนำไปเก็บสะสมไว้ที่ตับ นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับได้

> กลับสู่สารบัญ

อาการของไขมันพอกตับ

  • ในระยะเริ่มแรกมักไม่มีแสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่จะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจเลือดเพื่อดูค่าเอนไซม์ตับในเลือด 
  • ในบางรายอาจมีอาการ เช่น

    • ปวดแน่นใต้ชายโครงด้านขวา 
    • เหนื่อยง่าย 
    • น้ำหนักลดลงอย่างหาสาเหตุไม่ได้ 

  • ในรายที่มีการสะสมของไขมันในตับมากและเรื้อรัง อาจทำให้มีอาการของโรคตับแข็งได้ เช่น

    • ตัวเหลือง ตาเหลือง
    • เลือดออก หรือเป็นจ้ำเลือดง่าย
    • เบื่ออาหาร
    • ขา เท้า หรือข้อเท้าบวม

> กลับสู่สารบัญ

อาหารแบบไหนเสี่ยงทำให้เป็นไขมันพอกตับ?

ภาวะไขมันพอกตับอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น

  • อาหารที่มีไขมันสูง ทั้งไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ขนมขบเคี้ยว อาหารแปรรูป 
  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง น้ำหวาน น้ำอัดลม
  • บริโภคคาร์โบไฮเดรตขัดสีมากเกินไป เช่น ขนมปังขาว ข้าวขาว พาสต้า
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นไขมันพอกตับ

  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันสูง
  • ผู้ที่มีประวัติเคยติดเชื้อ หรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยไขมันพอกตับ

  • การซักประวัติ: แพทย์จะซักถามอาการ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสภาวะทางสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดไขมันพอกตับ
  • การตรวจร่างกาย: แพทย์อาจตรวจร่างกายแล้วคลำพบว่าตับมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือกดเจ็บบริเวณช่องท้อง
  • การตรวจเลือด: เพื่อประเมินการทำงานของตับและตรวจหาเอนไซม์ตับที่เพิ่มขึ้น เช่น ALT และ AST ซึ่งใช้ในการประเมินการทำงานของตับในเบื้องต้น
  • FibroScan หรือ transient elastography: เป็นการตรวจโดยใช้เทคนิคของอัลตราซาวนด์ หรือคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เพื่อใช้วัดความแข็งของตับ ซึ่งสามารถบ่งชี้ว่ามีพังผืดหรือรอยแผลเป็นในตับหรือไม่
  • การตรวจพิเศษอื่น ๆ : เช่น การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography; CT) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging; MRI) ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนมากขึ้นและช่วยระบุของเขตของความเสียหายของตับได้
  • การตรวจชิ้นเนื้อตับ: ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาให้ทำการตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับ

> กลับสู่สารบัญ

ไขมันพอกตับ เป็นแล้วหายได้ไหม?

ภาวะไขมันพอกตับเป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม โดยการรักษาเบื้องต้นสามารถทำได้โดย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และการรับประทานอาหาร แต่หากยังพบว่ามีภาวะไขมันพอกตับอยู่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาไขมันพอกตับ

  • ลดน้ำหนัก: หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ควรค่อย ๆ ลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหาร และรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดการสะสมของไขมันในตับได้
  • ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร: จำกัดการบริโภคอาหารแปรรูป เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และคาร์โบไฮเดรตขัดสี เปลี่ยนไปบริโภคอาหารที่ให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ครบ 5 หมู่ รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ และไขมันที่ดีต่อสุขภาพในมื้ออาหารแทน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ: การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินได้ดีขึ้น และยังสามารถดึงไขมันในตับออกมาใช้ ทำให้ไขมันที่พอกอยู่ในตับลดลงได้ โดยตั้งเป้าหมายการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อตับมากขึ้น
  • การรักษาด้วยการรับประทานยา: เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาในภาวะไขมันพอกตับโดยตรง ในบางกรณีแพทย์อาจจ่ายยาเพื่อช่วยจัดการโรคที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการสะสมของไขมันที่ตับเพิ่มมากขึ้น เช่น ยาควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ไขมัน หรือควบคุมระดับน้ำตาล ในผู้ป่วยที่มีเบาหวานร่วมด้วย

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันไขมันพอกตับ

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือทุก 6 เดือน จะช่วยให้พบความผิดปกติของตับได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาวะไขมันพอกตับสามารถตรวจเจอในระยะแรก ๆ โดยการตรวจเลือด อัลตราซาวนด์ หรือการตรวจด้วยเครื่อง FibroScan
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือ อาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เช่น เนื้อติดมัน เบคอน แฮม น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เบเกอรี ครีมเทียม
  • หลีกเลี่ยงน้ำตาลฟรุกโตส เช่น เครื่องดื่มที่มีรสหวาน คุกกี้ ลูกอม น้ำผลไม้  (ควรรับประทานผลไม้ทั้งผลมากกว่า)
  • ควรรับประทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก อาโวคาโด ถั่วต่าง ๆ ปลาทู ปลาแซลมอน ปลาทูน่า
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 4-5 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30-45 นาที
  • ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์อ้วน คือ มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักตัว โดยสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ว่าควรจะมีน้ำหนักประมาณเท่าไร และควรลดน้ำหนักโดยวิธีใดได้บ้าง
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 5-6 ชั่วโมงต่อวัน

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปและการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันพอกตับ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้ตับเสียการทำงานไป นอกจากนี้ อาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะไขมันพอกตับ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำ รักษาสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ ก็จะช่วยรักษาสุขภาพและการทำงานของตับให้เป็นปกติ

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน (Diabetic Screening)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

รายละเอียด

Isokinetic & Isotonic ออกกำลังกายในยิม ร่วมกับออกกำลังกายด้วยเครื่องไอโซคิเนติก จำนวน 4 ครั้ง

รายละเอียด

Gym & Reformer ออกกำลังกายในยิม ร่วมกับออกกำลังกายด้วยเครื่องรีฟอร์เมอร์ จำนวน 10 ครั้ง

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา