Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

วัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 กุมภาพันธ์ 2025
วัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่ 2566

ไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การระบาดของไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังโรค กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคพบว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีรายงานผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากไข้เลือดออกมากถึง 33 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวล ทำให้เราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้ เพราะแม้จะเป็นโรคที่พบได้บ่อยและผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรงแต่ในผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการรุนแรงจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

นัดหมายปรึกษาแพทย์

สารบัญ

  • ไข้เลือดออกเกิดจากอะไร?
  • ใครที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้บ้าง?
  • อาการของไข้เลือดออก
  • การป้องกันไข้เลือดออก
  • ข้อมูลของวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่ 2566
  • สรุป

ไข้เลือดออกเกิดจากอะไร?

โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า “เชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus; DENV)”  ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ Dengue 1 (DEN1), Dengue 2 (DEN2), Dengue 3 (DEN3), และ Dengue 4 (DEN4) ซึ่งหากมีการติดเชื้อสายพันธ์ุใดสายพันธุ์หนึ่งแล้ว ร่างกายจะมีภูมิกันต่อเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ไปตลอดชีวิต แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่น ๆ ดังนั้นจึงสามารถติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ และป่วยเป็นไข้เลือดออกได้หากมีการติดเชื้อภายหลัง

> กลับสู่สารบัญ

ใครที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้บ้าง?

สามารถพบการติดเชื้อและป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ทุกช่วงอายุคือตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ ไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีอาการป่วยมีความแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ที่มีการติดเชื้อ และความแข็งแรงและสุขภาพร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ โดยจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกที่พบมากที่สุดจะเป็นเด็กอายุ 5-14 ปี แต่จากข้อมูลการป่วยไข้เลือดออกในช่วง 20 ปีพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ กลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีสูงขึ้น

การติดเชื้อไข้เลือดออกในผู้ใหญ่มากขึ้นและอันตรายมากขึ้น

อย่างที่กล่าวข้างต้น ในช่วง 20 ปีหลังมานี้แนวโน้มการเกิดโรคในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มีมากขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยเด็กในกลุ่มอายุน้อยกว่า 15 ปี มีแนวโน้มลดลง และอัตราการเสียชีวิตในผู้ใหญ่มีมากกว่าในเด็ก โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตในผู้ใหญ่อายุ 25 ปีขึ้นไป มากกว่าในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-24 ปี ถึง 2-3 เท่า ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ใหญ่มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น ได้แก่ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และอื่น ๆ เช่น 

  • โรคอ้วน 
  • โรคเบาหวาน 
  • โรคความดันสูง 
  • โรคเกี่ยวกับตับและไต 
  • ภาวะติดสุราเรื้อรัง 
  • หอบหืด 
  • ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 
  • การไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลช้า 
  • การซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดประเภท NSAIDs ซึ่งทำให้มีเลือดออกรุนแรง

> กลับสู่สารบัญ

อาการของไข้เลือดออก

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า ไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด คนเราสามารถติดเชื้อไข้เลือดออกได้มากกว่า 1 ครั้งในสายพันธุ์ที่ต่างจากครั้งแรก ซึ่งประเทศไทยพบการระบาดทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนสลับกันไปแล้วแต่ช่วงเวลา แต่สายพันธุ์ ที่ 1 และ 2 เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การติดเชื้อครั้งแรกส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นไปตลอดชีวิต แต่การติดเชื้อครั้งที่สองที่เป็นการติดเชื้อจากสายพันธุ์ที่ต่างไปจากการติดเชื้อครั้งแรกอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น

อาการของไข้เลือดออก ในช่วงเริ่มต้น

  • ไข้สูงเฉียบพลัน ไข้สูงเกิน 38.5 องศา 
  • ปวดศีรษะ 
  • ปวดกระบอกตา 
  • ปวดเมื่อยตัว 
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • อาจมีจุดเลือดออกตามแขนขา ลำตัว มีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน

อาการของไข้เลือดออกในวันที่ 3-7 ของการป่วย

อาจมีอาการรุนแรง ได้แก่ 

  • ภาวะช็อก 
  • เลือดออกผิดปกติรุนแรง 
  • อาจเสียชีวิตได้
@praram9hospital มีแต่ยุงเท่านั้นที่รู้ว่าเราอร่อยแค่ไหน แต่อร่อยมากแค่ไหนก็ระวังเป็นไข้เลือดออกนะ 😱🦟 #ไข้เลือดออก #โรงพยาบาลพระรามเก้า #Praram9Hospital ♬ Pretty and fun Marimba song - Azuline
สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันไข้เลือดออก

การป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด รวมถึงการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณรอบบ้าน 

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกและลดความรุนแรงของโรคได้ ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยแล้ว 2 ชนิด ซึ่งสามารถป้องกันเชื้อเดงกีได้ทั้ง 4 สายพันธุ์

วัคซีนชนิดแรก (Dengvaxia®) เริ่มมีใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2560 เป็นวัคซีนเชื้อเป็น ป้องกันสายพันธุ์ที่ 3 และ 4 ได้ดี และป้องกันสายพันธุ์ที่ 1 และ 2 ได้ปานกลาง มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกโดยรวมได้ 65% และป้องกันการนอน รพ.จากไข้เลือดออกได้ 80%  โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 6 เดือน สามารถฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 6-45 ปี ที่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อนเท่านั้น เนื่องจากพบว่าหากฉีดในคนที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น

วัคซีนไข้เลือดออกชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดใหม่ (QDenga®) เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้ในประเทศไทยได้ในปี 2566 ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ 1 และ 2 ได้ดี

> กลับสู่สารบัญ

ข้อมูลของวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่

วัคซีนไข้เลือดออกชนิดที่ 2 หรือวัคซีนชื่อ QDenga® นี้ มีการใช้แล้วใน 16 ประเทศทั่วโลก เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น สามารถป้องกันสายพันธุ์ที่ 1 และ 2 ได้ดี ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบมากและเป็นส่วนใหญ่ของประเทศไทย

ข้อดีของวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่

  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกโดยรวมได้ 80% 
  • ป้องกันการนอน รพ.จากไข้เลือดออกได้ถึง 90% 
  • สามารถฉีดได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป
  • สามารถฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมาก่อน 
  • ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันไข้เลือดออกก่อนได้รับวัคซีน

วัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่ ฉีดอย่างไร?

วัคซีนชนิดใหม่นี้ ต้องฉีดจำนวน 2 เข็ม เข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3 เดือน

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่

  1. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วย HIV เป็นต้น
  2. หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร โดยแนะนำให้หญิงวัยเจริญพันธุ์คุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เดือน อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับวัคซีน 
  3. ผู้ที่มีประวัติแพ้ส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง

ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน

วัคซีนมีความปลอดภัย มีผลข้างเคียงส่วนใหญ่เป็นอาการที่พบทั่วไปหลังการได้รับวัคซีน ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 2 วันหลังฉีด และหายได้เองภายใน 3-4 วัน และเมื่อติดตามผลหลังฉีดวัคซีนไป 4.5 ปี ก็ไม่พบการป่วยด้วยไข้เลือดออกที่อาการรุนแรงมากขึ้นในผู้ที่ฉีดวัคซีนโดยไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยอาการข้างเคียงที่พบได้ ได้แก่ 

  • อาการปวดบวมแดงร้อนเฉพาะบริเวณที่ฉีด 
  • อาการไข้ ปวดเมื่อยตัว 
  • ปวดศีรษะ

ประสิทธิภาพระยะยาวเป็นอย่างไร? ต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่?

เมื่อติดตามผลหลังฉีดวัคซีนไปในระยะเวลา 4.5 ปี พบว่าประสิทธิภาพลดลงเหลือ 61% สำหรับการป้องกันไข้เลือดออก แต่ยังสามารถป้องกันการนอน รพ.จากไข้เลือดออกได้สูง คืออยู่ที่ 80% 

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพหลังจาก 4.5 ปี และยังไม่มีคำแนะนำการฉีดกระตุ้น ต้องรอข้อมูลผลการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาแล้วฉีดได้หรือไม่ ควรฉีดหลังจากหายจากไข้เลือดออกนานเท่าไหร่?

เนื่องจากการติดเชื้อไข้เลือดออกในครั้งที่ 2 มักมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วจึงเป็นกลุ่มที่แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันความรุนแรงในการติดเชื้อครั้งต่อไป โดยฉีดหลังจากหายจากไข้เลือดออกแล้วอย่างน้อย 6 เดือน

เคยฉีดวัคซีนไข้เลือดออกชนิดเดิมมาแล้ว สามารถฉีดวัคซีนชนิดใหม่นี้ได้หรือไม่?

ยังไม่มีข้อมูลของการฉีดวัคซีนชนิดใหม่ในคนที่เคยฉีดวัคซีนชนิดเดิมมาแล้ว ทั้งในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนครบหรือยังไม่ครบและต้องการมาฉีดต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีการระบาดในประเทศไทยทุกปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งจากสถิติมีรายงานพบผู้ป่วยได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ และในระยะหลังพบสถิติการป่วยในผู้ใหญ่มากขึ้นอย่างมากซึ่งบางส่วนมีอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิต 

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัคซีนสำหรับการป้องกันไข้เลือดออก และเมื่อปลายปี 2566 นี้เพิ่งมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนไข้เลือดออกชนิดใหม่ที่สามารถป้องกันไข้เลือดออกสายพันธุ์ 1 และ 2 ได้ดีซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยในประเทศไทย สามารถป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากไข้เลือดออกได้สูงถึง 90% และสามารถฉีดได้ทั้งในผู้ที่เคยเป็นและยังไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการป้องกันไข้เลือดออก อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย

สนใจนัดหมายแพทย์

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็คเกจวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก 2 เข็ม (QDENGA VACCINE)

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ_1-1

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา