Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ปากกาลดน้ำหนัก…ตัวช่วยลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 กันยายน 2023
ปากกาลดน้ำหนัก

โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่โรคอ้วนจะทำให้เสียบุคลิกภาพและส่งผลต่อความมั่นใจแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคร้ายต่าง ๆ  การรักษาโรคอ้วนโดยการควบคุมน้ำหนักที่ไม่ถูกวิธี เช่น การอดอาหาร รับประทานแต่ผัก เนื้อสัตว์และผลไม้ โดยที่ไม่รับประทานแป้งหรือไขมันเลย และไม่รับประทานอาหารให้ครบตามความต้องการของร่างกาย แม้ว่าอาจจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ในระยะหนึ่ง แต่จะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้น้อยลง สลายไขมันได้ยากขึ้น จึงทำให้ระยะยาวไม่สามารถลดน้ำหนักได้จริง และอาจทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย จะเห็นได้ว่าการลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจประสบผลสำเร็จ บางคนอาจล้มเหลว 

ปัจจุบันการรักษาโรคอ้วนหรือการลดน้ำหนักมีทางเลือกใหม่ ๆ มากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ การใช้ปากกาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นทางเลือกการรักษาโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเป็นการรักษาโรคอ้วนที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และได้ผลในระยะยาวหากทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สามารถทำได้ด้วยตัวเอง แต่ควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยและผลการรักษาที่ดีที่สุด

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • ความอ้วนอันตรายอย่างไร?
  • สาเหตุของความอ้วน
  • ปากกาลดน้ำหนัก คืออะไร?
  • กลไกการออกฤทธิ์ของปากกาลดน้ำหนัก
  • ปากกาลดน้ำหนักใช้อย่างไร?
  • ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับใคร?
  • ข้อดีของปากกาลดน้ำหนัก
  • ผลข้างเคียงของปากกาลดน้ำหนัก
  • ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยา
  • สรุป

ความอ้วนอันตรายอย่างไร?

ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินจนกลายเป็นโรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โรคอ้วนหมายถึงการสะสมไขมันที่ผิดปกติหรือมากเกินไป ผู้มีมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 ถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน หากมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ถือว่าเป็นโรคอ้วน ซึ่งภาวะอ้วนนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เพราะโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตับอักเสบจากไขมันพอกตับ นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งโรคอ้วนยังสัมพันธ์กับมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งไต และมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังมีการศึกษาพบว่าโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และพบอีกว่าการลดน้ำหนักเพียง 5-10% ของน้ำหนักตัว สามารถลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ 

และในปัจจุบันที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงให้มีอาการรุนแรงหากมีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต และยังอาจมีอาการลองโควิดรุนแรงกว่าผู้มีสุขภาพดี หลังจากหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของความอ้วน

สาเหตุของโรคอ้วนแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุคือ

  1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มากเกินอัตราการเผาผลาญของร่างกาย รวมถึงการออกกำลังกายไม่เพียงพอ ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้หมด ส่วนที่เกินก็จะสะสมในรูปของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความไม่สมดุลกันระหว่างการใช้พลังงานของร่างกายกับการสะสมไขมันที่มากเกินไปเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิดโดยเฉพาะโรคในกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก (metabolic syndrome) โดยโรคอ้วนถือเป็นโรคหนึ่งของโรคกลุ่มเมตาบอลิก และยังทำให้เกิดภาวะทางเมตาบอลิกอื่น ๆ ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะไขมันในเลือดสูง และภาวะความดันสูง  
  2. เป็นภาวะแทรกซ้อนจากยาหรือโรคต่าง ๆ  เช่น โรคทางต่อมไร้ท่อที่ทำให้มีความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์  ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โรคของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เนื้องอกในสมอง การบาดเจ็บหรือติดเชื้อในสมอง การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด ยารักษาโรคจิตเภท ยารักษาโรคซึมเศร้า และยารักษาโรคเบาหวาน หรือกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด 

> กลับสู่สารบัญ

ปากกาลดน้ำหนัก คืออะไร?

ปากกาลดน้ำหนักเป็นยาลดน้ำหนักชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ลิรากลูไทด์ (Liraglutide)” โดยบรรจุภัณฑ์ของยามีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกับปากกา ซึ่งยานี้จะไปออกฤทธิ์ควบคุมสมองให้ลดความอยากอาหาร ไม่รู้สึกหิว จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยานี้จะสามารถควบคุมการรับประทานอาหารได้ดีขึ้น ทำให้น้ำหนักตัวลง นอกจากนี้ยาตัวนี้ยังออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้การย่อยอาหารช้าลง ทำให้อิ่มเร็วขึ้นและอิ่มนานขึ้น จึงนับว่าเป็นทางเลือกที่เป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนัก โดยยาลิรากลูไทด์ เป็นยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการลดน้ำหนัก  และยังเป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การฉีดลิรากลูไทด์ พร้อมกับควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยในการลดน้ำหนักได้ดีและยั่งยืนมากขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

กลไกการออกฤทธิ์ของปากกาลดน้ำหนัก

  • ยาออกฤทธิ์เลียนแบบการทำงานฮอร์โมนอิ่มที่ชื่อว่า  GLP-1 (glucagon-like peptide 1) โดยตัวยามีความใกล้เคียงกับ GLP-1 ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายถึง 97% ออกฤทธิ์ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้น้ำหนักตัวลดลง
  • ยาช่วยลดการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นย่อยช้าลง ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
  • กระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) มากขึ้น ช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด

> กลับสู่สารบัญ

ปากกาลดน้ำหนักใช้อย่างไร?

  • ฉีดยาเข้าบริเวณชั้นไขมันใต้ผิวหนัง บริเวณหน้าท้อง ต้นขา หรือต้นแขน
  • ฉีดยาต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ โดยขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

> กลับสู่สารบัญ

ปากกาลดน้ำหนักเหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือ ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง ไขมันพอกตับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 27

โดยรวมกับปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารลดลง 500 กิโลแคลอรีต่อวันและออกกำลังกายแอโรบิก 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อให้ได้ผลที่ต่อเนื่อง

สนใจนัดหมายแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

ข้อดีของปากกาลดน้ำหนัก

  • เป็นตัวช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ง่ายขึ้น 
  • ตัวยาเป็นสารที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับฮอร์โมนในร่างกาย (GLP-1)
  • ช่วยให้อิ่มได้นานขึ้น ลดการกินจุกจิก กินไม่เป็นเวลา
  • ช่วยปรับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ลดการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ทำให้อาหารเคลื่อนที่ช้าลง มีผลให้อิ่มเร็วและนานขึ้น รับประทานอาหารน้อยลงกว่าเดิม
  • เจ็บน้อยกว่าการฉีดยาทั่วไปเพราะเข็มมีขนาดเล็ก
  • ไม่มีผลต่ออารมณ์ หงุดหงิด หรือซึมเศร้าเหมือนยาลดน้ำหนักเดิม

> กลับสู่สารบัญ

ผลข้างเคียงของปากกาลดน้ำหนัก

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาลิรากลูไทด์ที่พบได้มีดังนี้

  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีอาการท้องเสีย หรือท้องผูก ป้องกันโดยเริ่มฉีดยาในขนาดต่ำและค่อยปรับปริมาณช้าๆ หากรู้สึกอิ่ม ควรหยุดรับประทานอาหาร เมื่อใช้ต่อเนื่อง ร่างกายปรับตัวอาการข้างเคียงจะลดลง
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเ พิจารณาปรับลดยาชนิดอื่น
  • มีรายงานจากการศึกษาว่าพบ นิ่วในถุงน้ำดีมากขึ้น ภาวะถุงน้ำดีอักเสบ ภาวะตับอ่อนอักเสบ หากมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนมากผิกปกติควรปรึกาแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยา

  1. ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด medullary หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อมมะเร็งไทรอยด์ ชนิด medullary 
  2. สตรีวางแผนตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  3. เด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี
  4. ผู้ที่มีประวัติโรคตับอ่อนอักเสบ 
  5. ผู้ป่วยโรคไต ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนเริ่มยา
  6. ผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นตารุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนเริ่มยา

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ปากกาลดน้ำหนักเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ใช้ในการลดน้ำหนัก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน เป็นวิธีการรักษาที่มีความปลอดภัยเหมาะสำหรับผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีต่าง ๆ มาแล้วไม่เห็นผล โดยการใช้ปากกาลดน้ำหนักควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิธีการใช้ที่ถูกต้องและเหมาะสมของแต่ละบุคคล ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน 

อย่างไรก็ตามหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนักควรเริ่มจากการปรับพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารควบคู่ไปการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะพฤติกรรมดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่การลดความอ้วนหรือการลดน้ำหนัก แต่เป็นการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย

สนใจนัดหมายแพทย์

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

โปรแกรมปากกาควบคุมน้ำหนัก

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน (Diabetic Screening)

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิค_1-1

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา