Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ และอาการทางหัวใจหลังได้รับเชื้อ

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 22 กุมภาพันธ์ 2023
โควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

โควิด-19 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

โควิด-19 โรคระบาดที่สำคัญของยุคนี้ ถึงตอนนี้ทุกคนคงคุ้นเคยกับไวรัสตัวนี้ซึ่งมีอันตราย หากติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงก็ทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่สุขภาพแข็งแรงอาจมีอาการน้อย หรืออาจไม่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ในขณะที่ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หากติดโควิด-19 จะทำให้มีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

New call-to-action

สารบัญ

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิด-19 อันตรายมากกว่าคนทั่วไป
  • ไวรัสโควิด-19 อันตรายต่อหัวใจอย่างไร ?
  • อาการทางโรคหัวใจเมื่อติดโควิด-19
  • ภาวะ Long COVID ต่อหัวใจ
  • การป้องกันไวรัสโควิด-19
  • สรุป

ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิด-19 อันตรายมากกว่าคนทั่วไป

มีรายงานของวารสาร The Lancet ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ รายงานว่าในจำนวนผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีถึง 40% ที่เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีโรคหัวใจมีความเสี่ยงต่อการติดโควิด-19 ได้มากกว่าคนทั่วไป และยังมีรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Cardiology รายงานอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหัวใจแล้วติดโควิด-19 ร่วมกับมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย สูงถึง 70% ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจึงเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและต้องหลีกเลี่ยงการติดโควิด-19

อันตรายผู้ป่วยโรคหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

ไวรัสโควิด-19 อันตรายต่อหัวใจอย่างไร ?

คนทั่วไปหากได้รับเชื้อโควิด-19 แล้ว พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ เสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือด จนกระทั่งอาจทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติไป ในขณะที่ผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่า

ปัจจุบันเชื่อว่ากลไกที่เชื้อโควิด-19 มีผลต่อหัวใจมีกลไกหลัก ๆ คือ

  1. เชื้อโควิด-19 ทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เนื่องจากเชื้อโควิด-19 จะจับกับตัวรับชนิดหนึ่งที่ผิวเซลล์มนุษย์เพื่อเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ ตัวรับนี้มีชื่อว่า ACE-2 receptor (angiotensin-convertingenzyme 2 receptor) ตัวรับชนิดนี้พบมากที่ปอดและหัวใจ จึงทำให้เซลล์หัวใจและปอดได้รับความเสียหายจากเชื้อโควิด-19 ได้โดยตรง พบว่าผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 พบเอนไซม์โทรโปนิน (troponin) ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งบ่งบอกถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
  2. มีภาวะขาดออกซิเจนของหัวใจ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ทำให้ปอดเสียหาย ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลง ร่วมกับในช่วงของการติดเชื้อร่างกายและกล้ามเนื้อหัวใจจะต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น แต่ปอดไม่สามารถทำงานแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ สุดท้ายกล้ามเนื้อหัวใจก็จะขาดออกซิเจนและนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด และขาดออกซิเจนได้
  3. กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือด เชื้อโควิด-19 จะทำให้เซลล์ในหลอดเลือดทั่วร่างกายและหลอดเลือดหัวใจเสียหาย แล้วกระตุ้นทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นในหลอดเลือด ซึ่งหากลิ่มเลือดนี้เกิดในหลอดเลือดหัวใจจะทำให้เกิดการอุดตัน ตามมาด้วยกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด
  4. เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เชื้อโควิด-19 จะกระตุ้นให้มีการหลั่งสารการอักเสบ (cytokines) ซึ่งทำลายเซลล์หัวใจ จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติไป
กลไกโควิดอันตรายต่อหัวใจ

> กลับสู่สารบัญ

อาการทางโรคหัวใจเมื่อติดโควิด-19

โควิด-19 ทำให้เกิดภาวะทางหัวใจและหลอดเลือด โดยพบว่าอาจเกิดภาวะ

  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย โดยพบเอนไซม์โทรโปนิน (troponin) ในเลือดสูงขึ้น
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
  • ภาวะความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ซึ่งผู้ที่ติดโควิด-19 อาจมีอาการต่าง ๆ ได้แก่

  • ใจสั่น
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • รู้สึกอึดอัด หายใจลำบาก

หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของภาวะทางหัวใจและหลอดเลือด จึงควรหมั่นใส่ใจและคอยสังเกตอาการของตนเองหากติดโควิด-19 และรีบไปโรงพยาบาลถ้ามีอาการข้างต้น

New call-to-action
อาการโรคหัวใจกับโควิด

> กลับสู่สารบัญ

ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) ต่อหัวใจ

เป็นที่ทราบกันว่าผู้ที่ติดโควิด-19 หลังจากหายจากการติดเชื้อแล้ว มักมีอาการต่าง ๆ ที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากโควิด-19 หรือที่เรียกว่า ภาวะลองโควิด (long covid) ซึ่งมักมีอาการสมองล้า อ่อนเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ 

โดยผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่เคยผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ  และโรคหัวใจอื่น ๆ จะมีแนวโน้มที่จะมีอาการทางหัวใจในภาวะลองโควิดได้มากกว่าผู้ไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งอาการทางหัวใจที่หลงเหลืออยู่ที่พบในภาวะลองโควิด ได้แก่

  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้ติดโควิด-19 จึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ข้างต้น และหากมีอาการแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเพื่อตรวจและวินิจฉัยเพิ่มเติม

ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ

> กลับสู่สารบัญ

อ่านเพิ่มเติม : เข้าใจโรคหัวใจ รู้ก่อน รักษาทัน ป้องกันได้

การป้องกันไวรัสโควิด-19

การดูแลป้องกันตัวเองอย่างที่เราคุ้นเคยยังคงเป็นมาตรการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันเชื้อโควิด-19 ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เพื่อป้องไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจที่รุนแรงและอันตราย

  • ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • หากมีอาการสงสัยว่าติดโควิด-19 ควรรีบไปโรงพยาบาล
  • รักษาระยะห่าง หรือ social distancing อย่างน้อย 1 เมตร
  • สวมหน้ากากอนามัย โดยควรสวมให้พอดีกับใบหน้า
  • จัดที่บ้านและที่ทำงานให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ไม่ไปในสถานเสี่ยง ที่มีคนเบียดเสียด หรือที่ที่มีคนเยอะ
  • ล้างมือบ่อย ๆ
การป้องกันไวรัสโควิด

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ผู้ที่มีโรคหัวใจเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เมื่อติดโควิด-19 แล้วจะมีอาการรุนแรงและอาจรุนแรงจนถึงเสียชีวิต ซึ่งจากข้อมูลพบว่าผู้เป็นโรคหัวใจมีโอกาสติดโควิด-19 ได้มากกว่าคนปกติ และ หลังหายจากโควิดแล้วยังมีอาการของภาวะลองโควิดได้มากกว่าอีกด้วย 

ดังนั้นการป้องกันและรักษามาตรการ รวมถึงการฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตรายจากโควิด-19 ได้ และผู้เป็นโรคหัวใจควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมไม่ให้โรคหัวใจแย่ลง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา