Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท ปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้พิการได้

นพ.รัฐฤกษ์ อรุณากูร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 17 ตุลาคม 2022
หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท

ผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท มักจะมีอาการที่ทำให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องมาจากอาการปวดหลัง หรือปวดสะโพกแล้วร้าวลงขา แรก ๆ ผู้ป่วยอาจจะยังสามารถทนกับอาการดังกล่าวได้ แต่ในระยะต่อไปอาการจะมากขึ้น หากไม่รีบรักษาอาจทำให้เกิดความผิดปกติจน เดินไม่ได้ ดังนั้นหากมีอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาต่อไป

New call-to-action

สารบัญ

  • หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท คืออะไร?
  • หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เกิดจากสาเหตุใด?
  • อาการของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
  • การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
  • สรุป

หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท คืออะไร ?

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือที่เรียกกันว่า “หมอนรองกระดูกทับเส้น” เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแตกแล้วปลิ้นออกไปกดทับเส้นประสาทที่อยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง 

ปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนเราแต่ละข้อจะมีหมอนรองกระดูกสันหลัง (intervertebral disc) คั่นอยู่ ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทก เหมือนกับ ‘โช้คอัพ’ ของรถยนต์ ช่วยป้องกันความเสียหายของกระดูกสันหลัง และภายในกระดูกสันหลังจะมีโพรงซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาท ดังนั้นหากมีการแตกและปลิ้นของหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวจึงทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทส่วนเอว และทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงสะโพกได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

> กลับสู่สารบัญ

หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เกิดจากสาเหตุใด?

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การใช้หลังผิดท่าทาง เช่น ท่านั่งไม่ถูกวิธี การก้มยกของหนักไม่ถูกวิธี
  • การไอจามแรง ๆ
  • ความเสื่อมของร่างกาย
  • อุบัติเหตุที่ทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกหรือช่องท้องเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนตัวออกมาจนเข้าไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง
สาเหตุของหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

> กลับสู่สารบัญ

อาการของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

เมื่อเส้นประสาทที่ไขสันหลังถูกกดทับ เส้นประสาทจะเกิดการอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปวดหลังหรือสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง
  • ชา หรืออ่อนแรงขา และอาจมีอาการชาเท้าร่วมด้วย
  • หากรุนแรงจะมีอาการของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก
  • ในระยะที่รุนแรงขึ้น อาการปวด ชา และอ่อนแรงจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ  จนเส้นประสาทบาดเจ็บซึ่งเสี่ยงต่อความพิการได้
อาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาเบื้องต้น แพทย์มักจะเริ่มด้วยการรักษาแบบประคับประคอง (conservative treatments) ได้แก่ การพักผ่อน งดกิจกรรมหนัก การใช้ยา รวมถึง การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด อย่างไรก็ตามหากอาการไม่ทุเลา หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์  เช่น มีอาการขาชาหรืออ่อนแรงมากขึ้น หรือมีการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระผิดปกติไป อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ผู้ป่วยควรต้องรีบรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด (surgical treatments)

โดยทั่วไปของการผ่าตัดรักษา คือ ตัดเอาหมอนรองกระดูกเฉพาะส่วนที่เคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทออก (discectomy) โดยในปัจจุบันสามารถผ่าตัดโดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้อง(endoscope) จะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทชัดเจนมากขึ้น และช่วยลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด ทำให้ร่างกายมีความบอบช้ำน้อย ผู้ป่วยจะปวดแผลน้อยลง และมีแผลเล็ก ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวไว สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น 

ประสบการณ์ผู้ที่เคยผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง

New call-to-action

อย่างไรก็ตาม ก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการประเมินก่อนผ่าตัดอย่างละเอียด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะใช้ดุลยพินิจ เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์กระดูกสันหลังโรงพยาบาลพระรามเก้า

> กลับสู่สารบัญ

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แม้ว่าโรคนี้จะมีปัจจัยที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความเสื่อมตามวัย แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถป้องกันได้ เช่น การใช้หลังให้ถูกท่าทาง การนั่งด้วยท่าทางที่ถูกต้อง หากต้องนั่งนาน ๆ ควรลุกเปลี่ยนอิริยาบถบ้างเป็นระยะ เมื่อต้องยกของหนักจากพื้นต้องย่อเข่า ไม่ก้มโค้งหลังลงไปเพื่อยกของ และควรหมั่นฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง ก็จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลัง และยืดอายุการใช้งานของหมอนรองกระดูก ไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรได้อีกด้วย

วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เป็นโรคที่ทำให้มีอาการปวดหลัง หรืออาจมีอาการชาขา หรือเท้า ทำให้กิจวัตรประจำวันหากปล่อยไว้เรื้อรังจะทำให้เส้นประสาทไขสันหลังที่ถูกกดทับเสียหายมากขึ้นได้ อาการก็จะรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นหากเมื่อพบว่ามีอาการปวดหลังแล้วร้าว ชา ลงขา ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยรักษาให้ทันท่วงทีเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.รัฐฤกษ์ อรุณากูร

นพ.รัฐฤกษ์ อรุณากูร

ศูนย์กระดูกสันหลัง

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์กระดูกสันหลัง_1-1

ศูนย์กระดูกสันหลัง

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา