Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

วัคซีนแนะนำในวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 2 สิงหาคม 2022
คำแนะนำฉีดวัคซีนตามวัย

การฉีดวัคซีนไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กเท่านั้น ถึงแม้ว่าเราจะเคยฉีดวัคซีนในตอนเด็กมาแล้วแต่ภูมิคุ้มกันก็ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป และในชีวิตแต่ละช่วงเราอาจมีโอกาสสัมผัสโรคต่าง ๆ ที่แตกต่างจากในวัยเด็ก อีกทั้งอายุที่มากขึ้นอาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงจนมีความเสี่ยงที่จะติดโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่จึงมีความจำเป็นเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเดิมที่มีอยู่ให้สูงขึ้นให้เพียงพอต่อการป้องกันโรคและป้องกันการติดเชื้ออื่น ๆ ที่มีโอกาสสัมผัสในวัยผู้ใหญ่

New call-to-action

วัคซีนที่แนะนำในทุกวัย

1. วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap)

ผู้ใหญ่ที่เกิดหลังปี 2520 อาจได้รับวัคซีนชนิดนี้แล้วตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจากวัคซีนนี้จะเริ่มให้เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับทารกทุกคนตั้งแต่ปี 2520 แต่อย่างไรก็ตามภูมิคุ้มกันของทั้ง 3 โรคนี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป 

โดยพบว่าวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุ 15 ขึ้นไปมีภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบลดลง และในอดีตมีการระบาดของโรคคอตีบเมื่อปี 2555 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มอายุ 15-44 ปี 

สำหรับโรคบาดทะยัก กลุ่มผู้สูงอายุถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อบาดทะยักมากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน (เพราะกลุ่มผู้สูงอายุเกิดก่อนช่วงที่มีวัคซีน) หรือไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นมาเป็นระยะเวลานานทำให้ภูมิคุ้มกันต่อโรคบาดทะยักลดลง 

สำหรับโรคไอกรนถึงแม้อาการของโรคไม่รุนแรงในผู้สูงอายุแต่หากมีการแพร่และมีการติดเชื้อในเด็กทารกอาจทำให้ทารกอาการหนักจนถึงเสียชีวิตได้ โดยรายงานพบว่าภูมิคุ้มกันของโรคไอกรนในประชากรไทยมีเพียง 50% เท่านั้นถึงแม้จะเคยฉีดวัคซีนมาก่อน  ดังนั้นผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทุกคนควรฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยแนะนำให้ฉีด บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap) 1 เข็มจากนั้นฉีดกระตุ้นด้วย Tdap หรือ Td (บาดทะยัก คอตีบ) ทุก 10 ปี

2. วัคซีนไข้หวัดใหญ่

สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดทุกปี เนื่องจากสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีและภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้อยู่ได้ไม่นาน สำหรับคำแนะนำการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดก่อนเข้าหน้าฝนซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงในประเทศไทย โดยฉีดปีละ 1 เข็ม

วัคซีนที่แนะนำในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 15-26 ปี

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการรวมกลุ่มกันและมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคมสูง จึงอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อได้ นอกจากนี้วัยรุ่นบางคนอาจรับวัคซีนบางอย่างในวัยเด็กไม่ครบถ้วนซึ่งก็จะยิ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากขึ้น วัคซีนที่แนะนำในกลุ่มนี้ได้แก่

1. วัคซีน (hepatitis A)

ไวรัสตับอักเสบเอเป็นโรคที่ติดต่อจากการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ ทำให้เกิดอาการตับอักเสบ ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงขั้นตับวาย และหากมีโรคตับแข็งหรือตับเรื้อรังอยู่เดิมอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นไทยอายุ 15-20 ปี มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากการติดเชื้อตามธรรมชาติน้อยลง โดยในประชากรกลุ่มนี้มีจำนวนน้อยกว่า 10% ที่มีภูมิคุ้มกันธรรมชาติต่อไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประชากรโดยรวม ทั้งนี้อาจเนื่องจากโอกาสการสัมผัสเชื้อน้อยลงจากสุขอนามัยของประชาชนที่ดีขึ้น ดังนั้นประชากรกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อและหากได้รับเชื้อแล้วก็จะเกิดการแพร่ระบาดได้ เพราะฉะนั้นจึงมีคำแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่เข้ารับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ หากไม่มีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อน

2. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B)

ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคที่ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ สารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเลือดหรือจากแม่สู่ลูก  จากสถิติพบว่าประมาณ 5% ของประชากรไทยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ซึ่งอาจไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้การติดเชื้อเรื้อรังนั้นจะนำไปสู่โรคมะเร็งตับได้อีกด้วย โดยทารกที่เกิดหลังปี 2535 จะได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ แต่อย่างไรก็ตามหากไม่แน่ใจว่าได้รับวัคซีนตอนเด็กครบแล้วหรือไม่ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยแนะนำให้เจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดเพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันของไวรัสตับอักเสบบี

3. วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV)

สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิง และเชื้อ HPV ยังเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งทวารหนักในเพศชาย มะเร็งในคอหอย หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ และมะเร็งที่อวัยวะเพศ 

สำหรับวัคซีนมะเร็งปากมดลูกแนะนำให้ฉีดในเด็กและวัยรุ่นหญิงและชายอายุ 9-26 ปี ซึ่งจะได้ประสิทธิภาพสูงเนื่องจากการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันดีและส่วนใหญ่ไม่เคยสัมผัสโรคมาก่อน ถึงแม้การติดเชื้อ HPV ในผู้ชายส่วนใหญ่จะไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่การฉีดวัคซีนในผู้ชายจะช่วยป้องกันการเป็นพาหะที่จะนำเชื้อไปสู่ผู้หญิง วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ 90-100% และภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานอย่างน้อย 10 ปี

4. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน และคางทูม (MMR)

โรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อง่ายและทำให้เกิดโรครุนแรงได้ในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง สำหรับโรคหัดเยอรมันหากมีการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการได้ 

ในวัยวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นหากฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ตั้งแต่วัยเด็กมักจะได้รับวัคซีนชนิดนี้แล้ว แต่บางคนอาจจะยังได้รับไม่ครบ 2 เข็ม จะทำให้ภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ และที่ผ่านมายังพบว่ามีการระบาดของหัดและหัดเยอรมันในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่าเคยรับการฉีดวัคซีนครบหรือไม่ แนะนำให้ฉีดอย่างน้อย 1 เข็ม

5. วัคซีนอีสุกอีใส (varicella zoster)

วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ เนื่องจากโรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ติดต่อง่ายและมีอาการรุนแรงในผู้ใหญ่ โดยแนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนการฉีดวัคซีน เนื่องจากการศึกษาในประชากรไทยพบว่ากว่า 80% ของผู้ใหญ่ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปมีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใสแล้วถึงแม้จะไม่แน่ใจว่ามีประวัติการติดเชื้อมาก่อนหรือไม่

วัคซีนที่แนะนำในผู้ใหญ่ อายุ 27-59 ปี

1. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B)

วัคซีนชนิดนี้จะเริ่มฉีดเป็นวัคซีนพื้นฐานให้กับทารกทุกคนตั้งแต่ปี 2535 ดังนั้นผู้ใหญ่ที่เกิดก่อนปี 2535 จะยังไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดนี้ จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ ซึ่งการติดเชื้อเรื้อรังจะนำไปสู่มะเร็งตับได้ โดยไวรัสตับอักเสบบีนี้ติดต่อง่ายผ่านทางเลือด การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ การใช้สิ่งของที่มีโอกาสสัมผัสเลือด เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน ร่วมกัน 

ดังนั้นแนะนำให้ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีในผู้ใหญ่ทุกคนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่อาศัยร่วมบ้านกับผู้ที่ติดเชื้อ บุคลากรการแพทย์ ผู้ที่ทำงานสถานพยาบาล  ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย กลุ่มชายรักชาย และผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือผู้ที่ไม่แน่ใจว่าฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีครบ 3 เข็มหรือไม่ โดยควรตรวจภูมิคุ้มกันและตรวจว่ามีการติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ก่อนฉีดวัคซีน

2. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR)

โรคหัดและหัดเยอรมันพบมากในผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากอาจได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 เข็มในวัยเด็ก หรือยังไม่มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ง่าย เช่น บุคลากรการแพทย์ ครู ผู้ที่ทำงานในสถานเลี้ยงเด็ก ผู้ที่อาศัยในสถานที่แออัด นอกจากนี้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีแผนจะตั้งครรภ์หากไม่แน่ใจประวัติการได้รับวัคซีนนี้ควรฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม โดยฉีดก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน

3. วัคซีนอีสุกอีใส (varicella zoster)

ประมาณ 90% ของประชากรไทยที่อายุมากกว่า 30 ปีพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส  ดังนั้นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออีสุกอีใสและควรได้รับการฉีดวัคซีนชนิดนี้คือกลุ่มผู้ที่อายุน้อยกว่า 30 ปีที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 30 ปีที่ไม่แน่ใจประวัติการเป็นอีสุกอีใสและมีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ง่ายเช่น บุคลากรการแพทย์ ครู ผู้ที่ทำงานในสถานเลี้ยงเด็ก ผู้ที่อาศัยในสถานที่แออัด ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่หากมีการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์อาจเกิดทำให้เกิดความพิการแก่ทารกในครรภ์ได้ ควรรับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส โดยแนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด

4. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A)

ในอดีตพบว่า 90% ของผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติซึ่งเกิดการติดเชื้อตามธรรมชาติแล้ว แต่ปัจจุบันสุขอนามัยของประชากรดีขึ้น ทำให้การติดเชื้อตามธรรมชาติน้อยลงจึงพบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอในผู้ใหญ่น้อยลงด้วย โดยพบว่า 90% ของผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอ ดังนั้นในผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 50 จะยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอได้ 

โดยแนะนำให้ผู้ใหญ่กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ เช่น กลุ่มชายรักชาย ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศที่มีความชุกของโรคสูง หรือในผู้ที่ติดเชื้อแล้วมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย เช่น ผู้ที่ทำอาชีพประกอบอาหาร หรือกลุ่มที่มีโรคไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ตับแข็ง หรือตับอักเสบเรื้อรังอยู่เดิมซึ่งมีโอกาสติดเชื้อรุนแรงได้ โดยแนะนำให้ตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีด

5. วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (HPV)

ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 27-45 ปี อาจพิจารณาให้ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกได้แม้ประโยชน์ที่ได้จากวัคซีนจะน้อยกว่ากลุ่มอายุ 9-26 ปี เพราะกลุ่มอายุนี้อาจเคยได้รับเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว แต่วัคซีนก็ยังมีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดอื่นที่ไม่เคยติดมาก่อน

ในเพศชายแนะนำให้ฉีดในกลุ่มรักร่วมเพศซึ่งมีโอกาสติดเชื้อ HPV สูง ซึ่งเชื้อ HPV นี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งทวารหนักและมะเร็งองคชาติ โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการได้รับวัคซีนในผู้ใหญ่กลุ่มอายุ 27-45 ปี

New call-to-action

วัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

1. วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส (PCV 13, PPSV 23)

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัสสามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักของปอดอักเสบ ซึ่งติดต่อทางละอองไอหรือจามของผู้ที่ติดเชื้อ 

ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป โดยภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้แก่ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือดและอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

แนะนำให้ฉีดวัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัสในผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่อายุ 19-64 ปีที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ตับแข็ง ปอดเรื้อรัง ไตวาย สูบบุหรี่เรื้อรัง หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

2. วัคซีนงูสวัด (herpes zoster)

เชื้อที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดคือเชื้อชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใส หากติดเชื้ออีสุกอีใสมาก่อนเชื้อจะแฝงอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้น ร่วมกับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง เชื้อที่แฝงอยู่ก็จะทำให้เกิดโรคงูสวัดขึ้นซึ่งอาการจะมีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำตามแนวเส้นประสาทและปวดแสบร้อน 

ความเสี่ยงของงูสวัดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และจะเพิ่มขึ้นชัดเจนเมื่ออายุมากกว่า 60 ปีและมีโอกาสเกิดอาการปวดปลายประสาท (post herpetic neuralgia) ได้มากถึง 20% 

@praram9hospital งูสวัด…ไม่ต้องรอเป็น ก็ป้องกันได้! 💉👩‍⚕️ #งูสวัด #เคล็ดลับสุขภาพ #โรงพยาบาลพระรามเก้า #Praram9Hospital ♬ Funny Kids - Syafeea library

ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนงูสวัดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามสามารถเริ่มฉีดได้เมื่ออายุ 50 ปี โดยวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้ เช่น อาการปวดปลายประสาท การลุกลามไปที่ตาหรือระบบประสาทส่วนกลางซึ่งก่อให้เกิดอาการผิดปกติแบบถาวรได้ โดยผู้ที่เคยเป็นงูสวัดมาก่อนสามารถฉีดได้หลังจากหายจากงูสวัดแล้วอย่างน้อย 1 ปี

คำแนะนำการฉีดวัคซีนตามกลุ่มอายุ

อายุ 15-26 ปี

  • วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
  • วัคซีนมะเร็งปากมดลูก
  • วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม
  • วัคซีนอีสุกอีใส

อายุ 27-59 ปี

  • วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
  • วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (อายุ ≤ 40 ปี )
  • วัคซีนอีสุกอีใส
  • วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ  
  • วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (อายุ 27-45 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด)

อายุ 60 ปีขึ้นไป

  • วัคซีนบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอคคัส
  • วัคซีนงูสวัด
New call-to-action

บทความเกี่ยวกับวัคซีนและสุขภาพที่น่าสนใจ

  • ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบนิวโมคอคคัส https://www.praram9.com/pneumococcal-vaccine/
  • วัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน (Tdap) https://www.praram9.com/dtp-vaccine/
  • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อรู้ทันโรคร้ายที่อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัว https://www.praram9.com/health-check-up/
  • LONG COVID หลังติดเชื้อแล้ว โควิดทิ้งอะไรไว้ให้กับร่างกายเรา ! https://www.praram9.com/long-covid/

สำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการ ศูนย์วัคซีนและเวชศาสตร์การเดินทาง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  โรงพยาบาลพระรามเก้า  

  • Website: https://bit.ly/3xJUA3f  
  • Line: https://lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital  
  • Facebook: https://www.facebook.com/praram9Hospital 
  • โทร.1270 

#โรงพยาบาลพระรามเก้า 
#HEALTHCAREYOUCANTRUST 
#Praram9Hospital

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ_1-1

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา