Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

Q&A รวมข้อสงสัยมะเร็งเต้านม พร้อมคำตอบแบบเคลียร์ชัด

นพ.ปัญญา ทวีปวรเดช

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 4 กรกฎาคม 2022

สาเหตุหลักประการหนึ่ง ที่ทำให้การรักษามะเร็งเต้านมมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เกิดจากการเข้ารับการรักษาช้าเกินไปจนเซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปมาก ซึ่งที่จริงแล้ว แม้มะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่น่ากลัว แต่การตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ประสบผลสำเร็จได้

ดังนั้น เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำและถูกต้อง เราจึงได้รวบรวมข้อสงสัยและคำถามที่คนทั่วไปมักอยากรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม พร้อมคำตอบจากแพทย์ สามารถอ่านหัวข้อคำถามที่สงสัยได้จากสารบัญได้เลย

New call-to-action

สารบัญ

  • มะเร็งเต้านม รักษาให้หายขาดได้ไหม
  • โอกาสเป็นมะเร็งเต้านม ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
  • อาการเริ่มแรกของมะเร็งเต้านม เป็นอย่างไร
  • พบก้อนในเต้านม แล้วรู้สึกเจ็บเต้านมจัง! แบบนี้ใช่มะเร็งหรือไม่
  • พบก้อนในเต้านม แต่บีบแล้วไม่เจ็บ แบบนี้ไม่เป็นไรใช่ไหม
  • ตรวจแล้วว่าเป็นเนื้องอกที่ไม่เป็นอันตราย ควรทำอย่างไรต่อ
  • ตรวจแล้วว่าเป็นถุงน้ำ (Cyst) ควรทำอย่างไรต่อ
  • ตรวจคลำเต้านมเองหรือให้แพทย์ตรวจให้ เพียงพอแล้วหรือไม่
  • รอให้มีอาการผิดปกติก่อน ค่อยไปตรวจคัดกรองดีไหม
  • หากมีของเหลว ไหลออกมาจากหัวนม ถือว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  • คันที่หัวนมบ่อย ๆ หรือคันเรื้อรัง แบบนี้มีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่
  • ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเมื่อไหร่ อย่างไร
  • การถูกบีบจับเต้านมบ่อย ๆ จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้นหรือไม่
  • ทำ Mammogram ถูกบีบเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บ จะเป็นอันตรายหรือไม่
  • ใส่ชุดชั้นในที่มีขอบโลหะเสริมจะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
  • การรักษามะเร็งเต้านม มีวิธีการใดบ้าง
  • เป็นมะเร็งเต้านม รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเลยได้หรือไม่
  • มีวิธีรักษามะเร็งเต้านม โดยไม่ต้องตัดเต้านมออกทั้งหมดหรือไม่
  • เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่งมาก่อน มีโอกาสเป็นมะเร็งที่เต้านมอีกข้างหรือไม่
  • สรุป

มะเร็งเต้านม รักษาให้หายขาดได้ไหม

คำตอบ: ในปัจจุบัน สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเราไปพบแพทย์ในระยะไหนของมะเร็ง โดยในระยะแรก ๆ เซลล์มะเร็งพิ่งจะก่อตัวขึ้น ยังไม่ทันลุกลามออกไปจากจุดกำเนิด จึงยังสามารถรักษาได้ง่าย และโอกาสหายขาดสูงมากอีกด้วย

> กลับสู่สารบัญ

โอกาสเป็นมะเร็งเต้านม ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

คำตอบ: ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่ามะเร็งเต้านมมาจากสาเหตุใด และไม่จำกัดเฉพาะเพศหญิง  ผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้  อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องของเพศแล้ว ปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าหากเราเอง หรือบุคคลในครอบครัวหรือญาติสายตรงมีประวัติเป็นมะเร็งชนิดนี้ ก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น

ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็ง เช่น ประจำเดือนมาเร็วตั้งแต่อายุน้อย ๆ, ถึงวัยหมดประจำเดือนช้า, ได้รับฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน, เป็นโรคอ้วน, มีหน้าอกแน่น (Dense Breasts), และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ ก็อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย

> กลับสู่สารบัญ

อาการเริ่มแรกของมะเร็งเต้านม เป็นอย่างไร

คำตอบ: มะเร็งในระยะแรก มักจะยังคลำก้อนไม่พบ และไม่มีอาการใด ๆ ผิดปกติ แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม แนะนำว่าควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ

อาการเริ่มแรกมะเร็งเต้านม

> กลับสู่สารบัญ

พบก้อนในเต้านม แล้วรู้สึกเจ็บเต้านมจัง! แบบนี้ใช่มะเร็งหรือไม่

คำตอบ: จากสถิติแล้ว กรณีที่ทำให้รู้สึกเจ็บ มักจะเป็นก้อนซีสมากกว่า อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยละเอียดอีกครั้ง

> กลับสู่สารบัญ

พบก้อนในเต้านม แต่บีบแล้วไม่เจ็บ แบบนี้ไม่เป็นไรใช่ไหม

คำตอบ: คำถามนี้ มักเป็นคำถามต่อเนื่องมาจากข้อบน หลายคนมักจะกังวลเฉพาะเวลาที่รู้สึกเจ็บเต้านม เมื่อเป็นกรณีที่พบก้อนแต่ไม่รู้สึกเจ็บ ก็เลยทำให้ไม่ค่อยกังวล คิดว่าอาจเป็นแค่ก้อนที่ไม่เป็นอันตราย จึงตัดสินใจยังไม่มามาพบแพทย์ รอดูว่าจะมีอาการเจ็บหรือไม่

แต่จากสถิติที่ผ่านมาแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ มักจะเริ่มด้วยอาการระยะแรกที่จะพบก้อนมะเร็ง แต่ไม่รู้สึกเจ็บ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีอาการเจ็บหรือไม่ก็ตาม ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งจะดีที่สุด เพราะมีสิทธิ์เป็นก้อนเนื้อร้ายได้ทั้งสองกรณี อย่างไรก็ตาม กรณีคลำเจอก้อน ควรเข้ารับการตรวจยืนยันโดยแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจแล้วว่าเป็นเนื้องอกที่ไม่เป็นอันตราย ควรทำอย่างไรต่อ

คำตอบ: ถ้าเป็นการตรวจโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญแล้ว ก็ขอให้เชื่อตามผลการตรวจ และไม่ต้องกังวลมากนัก ให้เราปฏิบัติหรือรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ เพียงแต่อย่าประมาท ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอตามปกติ หากพบความผิดปกติหรือความเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้อ ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจโดยละเอียดอีกครั้ง

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจแล้วว่าเป็นถุงน้ำ (Cyst) ควรทำอย่างไรต่อ

คำตอบ: กรณีที่เป็นถุงน้ำ (Cyst) และแพทย์ประเมินแล้วว่าไม่เป็นอันตราย ปกติจะสามารถหายได้เอง แต่ถ้ารู้สึกรำคาญ รู้สึกเจ็บ หรือไม่สบายใจ สามารถรักษาโดยเจาะเอาน้ำออกได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นถุงน้ำประเภท Complex Cyst ซึ่งมีลักษณะเป็นเนื้อและหุ้มด้วยชั้นน้ำ แพทย์อาจให้เจาะไปตรวจอีกครั้งหนึ่งว่าเป็นสาเหตุของมะเร็งหรือไม่

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจคลำเต้านมเองหรือให้แพทย์ตรวจให้ เพียงพอแล้วหรือไม่

คำตอบ: การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง หรือให้แพทย์ตรวจ เป็นวิธีที่ดีและควรทำเป็นประจำ แต่ยังไม่เพียงพอ

ผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตามคำแนะนำของแพทย์ มีตั้งแต่การตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ ไปจนถึงขั้นตอนที่มีความแม่นยำขึ้น ได้แก่ การทำแมมโมแกรมเต้านม การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม รวมถึงขั้นตอนการตรวจเชิงละเอียดตามข้อวินิจฉัยของแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

รอให้มีอาการผิดปกติก่อน ค่อยไปตรวจคัดกรองดีไหม

คำตอบ: แนวทางนี้อาจจะช่วยให้รู้สึกสะดวกสบาย เพราะไม่ต้องวุ่นวายไปตรวจบ่อย ๆ แต่ค่อนข้างเสี่ยง เนื่องจากมะเร็งเต้านมในระยะแรก ๆ มักไม่มีอาการปรากฏชัดเจน จะเริ่มมีอาการก็ตอนที่อยู่ในระยะหลัง ๆ แล้ว

การไปพบแพทย์เมื่อพบเห็นอาการผิดปกติแล้วจึงช้าไป ทำให้การรักษามีความซับซ้อนมากขึ้น มีทางเลือกน้อยลง อาจรักษาเต้านมไว้ไม่ได้ การไปตรวจคัดกรองเป็นระยะตามคำแนะนำ จะช่วยให้มีทางเลือกในการรักษามากกว่า เพิ่มโอกาสในการรักษาเต้านม และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้

> กลับสู่สารบัญ

หากมีของเหลว ไหลออกมาจากหัวนม ถือว่ามีความผิดปกติหรือไม่

คำตอบ: บางคนอาจคิดว่า ถ้าของเหลวที่ไหลออกมาเป็นเลือด น้ำเหลือง หรือน้ำหนอง จึงจะถือว่าผิดปกติ แต่ถ้าเป็นน้ำนมถือว่าไม่เป็นไร

แต่ที่จริงแล้ว หากมีเหลวไหลออกมาจากหัวนม ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม จะมีทั้งกรณีที่เป็นปกติและผิดปกติ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและสถานการณ์

กรณีที่ของเหลวนั้นเป็น “น้ำนม” หากมีลักษณะที่ผิดปกติดังนี้ ควรมาพบแพทย์

  • ไหลออกมาเองแม้ไม่มีการบีบกระตุ้น
  • ไหลออกมาข้างเดียว
  • ไหลออกจากท่อน้ำนมเดียว
  • ไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง หรือ ไหลออกมามากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ไหลออกมาปนเลือด

อย่างไรก็ตาม เมื่อพบของเหลวไหลจากหัวนมในลักษณะที่ผิดปกติ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียดจะดีที่สุด

> กลับสู่สารบัญ

คันที่หัวนมบ่อย ๆ หรือคันเรื้อรัง แบบนี้มีโอกาสเป็นมะเร็งหรือไม่

คำตอบ: อาการคันที่หัวนมอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ โรคผิวหนัง การติดเชื้อ หรืออาจมาจากสาเหตุของมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน

ให้สังเกตที่หัวนม ว่ามีสีที่ผิดไปจากปกติหรือไม่ มีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ หากพบอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง

> กลับสู่สารบัญ

ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเมื่อไหร่ อย่างไร

คำตอบ: ผู้หญิงทุกคนควรตรวจคัดกรองมะเร็ง ดังนี้

  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ
  • อายุ 40-69 ปี ควรตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม ทุก 1-2 ปี
  • อายุ 70 ปี พิจารณาเป็นรายบุคคลตามความเสี่ยง และปัจจัยด้านสุขภาพ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น มีประวัติครอบครัว พิจารณาตรวจคัดกรองเร็วขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

นอกจากนี้ หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เคยรับการรักษามะเร็งเต้านม หรือมีประวัติญาติสายตรงเคยเป็น เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกณฑ์ในการตรวจคัดกรองที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์

> กลับสู่สารบัญ

การถูกบีบจับเต้านมบ่อย ๆ จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้นหรือไม่

คำตอบ: หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า การบีบ จับ หรือคลำบริเวณเต้านมบ่อย ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งขึ้นได้

โดยเฉพาะผู้หญิงหลายคนที่อาจมีคู่รักที่ชอบบีบหรือจับเต้านม (ทั้งบีบเบาและบีบแรง) โดยเฉพาะในกิจกรรมทางเพศ อาจรู้สึกไม่สบายใจ เพราะกลัวว่าจะเป็นการกระตุ้นให้เป็นมะเร็งหรือไม่? จริง ๆ แล้ว การถูกบีบหรือจับเต้านมบ่อย ๆ นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม

> กลับสู่สารบัญ

ทำ Mammogram ถูกบีบเต้านมแล้วรู้สึกเจ็บ จะเป็นอันตรายหรือไม่

คำตอบ: ไม่เป็นอันตราย แต่อาจจะทำให้รู้สึกเจ็บ แนะนำว่า หากจะมาตรวจด้วยแมมโมแกรม ให้มาช่วง 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือน เพราะช่วงนี้เต้านมจะไม่คัดตึง อย่างไรก็ดี เราสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ ถ้ารู้สึกเจ็บมาก

นอกจากนี้ หากมีก้อนในเต้านม การบีบด้วยเครื่องแมมโมแกรม ไม่ได้ทำให้ก้อนแตก

> กลับสู่สารบัญ

ใส่ชุดชั้นในที่มีขอบโลหะเสริมจะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่

คำตอบ: มีการยืนยันแล้วว่า การใส่ยกทรงมีโลหะเสริม ไม่เกี่ยวข้องกับโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านม

> กลับสู่สารบัญ

การรักษามะเร็งเต้านม มีวิธีการใดบ้าง

คำตอบ: มีหลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับลักษณะและระยะของโรค และอาจต้องใช้รักษาควบคู่กัน ได้แก่

  1. การผ่าตัด (breast surgery) ถือเป็นการรักษาหลักของโรคนี้ที่สำคัญ มีวิธีการผ่าตัดหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  2. รังสีรักษา (rediation therapy) ใช้ร่วมกับการผ่าตัดโดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายส่วนของมะเร็งที่ยังหลงเหลือ หรือใช้เพื่อลดโอกาสลุกลามเฉพาะที่ได้
  3. เคมีบำบัด (chemotherapy) ถือเป็นการรักษาเสริมที่มีความสำคัญในการลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี
  4. ฮอร์โมนบำบัด (hormone therapy) เป็นการรักษาเสริม โดยใช้ยาเพื่อยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยในการลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำและลดอัตราการเสียชีวิตได้
  5. การใช้ยารักษา (targeted therapy) โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับเซลล์มะเร็งเพื่อให้เซลล์ตาย หยุดการเติบโต หรือหยุดการแพร่กระจาย
New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

เป็นมะเร็งเต้านม รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเลยได้หรือไม่

คำตอบ: การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นเรื่องจำเป็น เพราะควรเอาเซลล์มะเร็งออกให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจให้รักษาด้วยการผ่าตัดเลย หรือให้ใช้เคมีบำบัดหรือฮอร์โมนบำบัดก่อนแล้วค่อยผ่าตัด

> กลับสู่สารบัญ

มีวิธีรักษามะเร็งเต้านม โดยไม่ต้องตัดเต้านมออกทั้งหมดหรือไม่

คำตอบ: การรักษาในปัจจุบันของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม มีเทคนิคการผ่าตัดแบบสงวนเต้า (Breast Conserving Surgery: BCS) ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องถูกตัดเต้านมออกหมดทุกราย

นอกจากนี้ หากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านม (Breast Reconstruction) ได้ทันทีโดยใช้เต้านมเทียมหรือใช้เนื้อเยื่อของตัวผู้ป่วยเอง

อย่างไรก็ตาม ตัวเลือกการรักษาเช่นนี้ แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับระยะของมะเร็งเต้านม รวมถึงปัจจัยสุขภาพส่วนบุคคลเป็นรายกรณี ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว หากยังอยู่ในระยะที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม (ระยะที่ 0-2) สามารถเลือกการรักษาด้วยวิธีนี้ได้

หากสนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

> กลับสู่สารบัญ

เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่งมาก่อน มีโอกาสเป็นมะเร็งที่เต้านมอีกข้างหรือไม่

คำตอบ: มีโอกาสเป็น แต่ไม่ต้องวิตกกังวลมาก ให้ตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ และเข้ามารับการตรวจคัดกรองตามที่แพทย์แนะนำ โดยเฉพาะการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ จะช่วยให้พบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

อ่านรายละเอียดการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เพิ่มเติม

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

คำถามต่าง ๆ ที่เรารวบรวมมานี้ มักเป็นข้อสงสัยที่หลายคนอยากรู้คำตอบ ตั้งแต่ผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นมะเร็ง แต่ต้องการทำความเข้าใจเพื่อหาแนวทางป้องกัน หรือมีความกังวลเกี่ยวกับอาการผิดปกติต่าง ๆ ไปจนถึงผู้ป่วยที่อยากทราบแนวทางการรักษา

ทั้งนี้ เพื่อลดความกังวลต่าง ๆ ช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง ๆ การตรวจคัดกรอง การวางแผนการรักษา และสนับสนุนให้ทุกคนสามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาด แล้วกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ปัญญา ทวีปวรเดช

นพ.ปัญญา ทวีปวรเดช

ศูนย์เต้านม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เต้านม_1-1

ศูนย์เต้านม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา