Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ต้นเหตุอัมพาต ที่คนอายุน้อยและวัยทำงานก็เป็นได้

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 29 พฤศจิกายน 2021
stroke ในคนอายุน้อย

คนไทยมักรู้จักโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ในชื่อว่า “โรคอัมพาต หรือ อัมพฤกษ์” ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อสมองมีการขาดเลือด ทำให้แขนขาขยับไม่ได้ ปากเบี้ยว หรือมีปัญหาด้านการสื่อสาร ถ้าเป็นถาวรก็จะเรียกว่าเป็น อัมพาต ถ้าเป็นชั่วคราวก็จะเรียกว่า อัมพฤกษ์ นั่นเอง

โดยปกติโรคหลอดเลือดสมองมักจะเกิดในผู้ที่มีอายุมาก โดยมักพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดสมองสามารถพบได้ในผู้ที่อายุน้อยเช่นกัน 

New call-to-action

สารบัญ

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในคนอายุน้อย คืออะไร ?
  • ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ในคนอายุน้อยมีอะไรบ้าง ?
  • อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ในคนอายุน้อย
  • เมื่อสงสัยว่ามีอาการโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ?
  • วิธีการป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • บทสรุป

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในคนอายุน้อย คืออะไร ?

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือ หลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ทำให้การทำงานของสมองบางส่วนหรือทั้งหมดผิดปกติไป อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ที่มีอายุมาก

แต่อย่างไรตาม ในผู้อายุน้อยกว่า 50 ปี ก็สามารถพบโรคหลอดเลือดสมองได้มากถึง 15% โดยทั่วไปหากเรากล่าวถึงโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย หรือ stroke in the young จะหมายความถึง โรคหลอดเลือดสมองที่พบในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 40 ปี

stroke ในคนอายุน้อย

>กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ในคนอายุน้อยมีอะไรบ้าง ?

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย มีความคล้ายกันกับคนที่อายุมาก แต่ที่สำคัญคือ ในคนอายุน้อยจะมีปัจจัยเสี่ยงที่กว้างกว่า โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้แก่ ข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดไขมันอุดตันและทำลายหลอดเลือด  

ปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ในทุกกลุ่มอายุ ในกลุ่มคนอายุน้อย ที่ควบคุมโรคประจำตัวดังกล่าวได้ไม่ดี อาจทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตัน และเสี่ยงกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาเสพติด เช่น ยาบ้า โคเคน เฮโรอีน เป็นต้น
stroke ในคนอายุน้อย

ปัจจัยเสี่ยงในผู้หญิงอายุน้อย

  1. การมีไมเกรนชนิดมีอาการนำ (Migraine with aura)

ไมเกรนชนิดมีอาการนำ คือ ไมเกรนที่มีอาการเห็นแสงแวบ ๆ สีขาวหรือรุ้ง เป็นรอยหยึกหยัก หรือเป็นเส้นนำมาก่อน หรือเกิดพร้อมกับอาการปวดหัว โดยพบว่าไมเกรนชนิดมีออร่า มักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) ในผู้ป่วยไมเกรนชนิดมีอาการนำ ได้แก่ การสูบบุหรี่และการใช้ยาคุมกำเนิด โดยการศึกษาพบว่าถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ข้อนี้ จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าประชากรทั่วไปถึง 9 เท่า

ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องไมเกรนได้จาก https://www.praram9.com/migraine/

stroke ในคนอายุน้อย
  1. การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน

ยาคุมกำเนิดชนิดที่ใช้ในปัจจุบันมีหลากหลายแบบ แต่ชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น 2.75 เท่า ในขณะที่ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำกว่า และเป็นที่แพร่หลายมากกว่าในปัจจุบันนั้น มีผลการศึกษาพบว่า เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น 1.9 เท่า และบางการศึกษาพบว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนยาคุมกำเนิดแบบที่มีแต่ฮอร์โมนโปรเจสติน ไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

แต่อย่างไรก็ดี การตั้งครรภ์ก็อาจเป็นความเสี่ยงหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองได้ ดังนั้นเมื่อเทียบกับความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่อาจเกิดได้ขณะตั้งครรภ์นั้น คำแนะนำของแพทย์ ณ ปัจจุบัน คือ ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ยังสามารถกินยาคุมกำเนิดได้ โดยอาจเลือกชนิดให้เหมาะสมกับโรคประจำตัวของตัวเอง

  1. การตั้งครรภ์

การเกิดโรคหลอดเลือดสมองในการตั้งครรภ์นั้น พบได้ประมาณ 30 ครั้งต่อการตั้งครรภ์ 100,000 ครั้ง สาเหตุที่ระหว่างตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น เพราะการตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวง่ายขึ้น นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดโรคครรภ์เป็นพิษ และภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ อันอาจทำให้เกิดทั้งสมองขาดเลือดและหลอดเลือดสมองแตกตามมาได้

ปัจจัยเสี่ยงจากโรคหัวใจ

  • การมีรูที่ผนังห้องหัวใจ (Patent foramen ovale)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  • โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
  • มีการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation)

ปัจจัยเสี่ยงจากโรคที่ทำให้เกิดเลือดแข็งตัวง่าย

  • กลุ่มอาการต้านฟอสโฟไลปิด (Antiphospholipid syndrome)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic lupus erythematosus) ทำให้เกิดเลือดแข็งตัวง่าย หรือหลอดเลือดตีบไขมันอุดตันง่าย หรือทำให้เกิดหลอดเลือดอักเสบ
  • โรคมะเร็ง ทั้งมะเร็งทั่วไปหรือมะเร็งระบบเลือด ทำให้เกิดเลือดแข็งตัวง่ายและอุดตันที่สมอง

ผู้มีภาวะหลอดเลือดแดงปริแตก

ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ด้านหน้าคอปริแตก หรือหลอดเลือดแดงที่คอด้านหลังปริแตก ซึ่งสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของหลอดเลือด การหมุนบิดคอรุนแรงจากการนวดการทำนวดจัดกระดูก (Chiropractic) หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงจากโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง

  • โรค แฟเบร (X-linked Fabry Disease) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้ขาดเอนไซม์บางชนิดที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ปอด ไต ช่องท้องระบบประสาท และสมองได้
  • โรค MELAS เป็นโรคที่มีความผิดปรกติของระบบประสาท ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอของไมโทรคอนเดรียภายในเซลล์
  • โรค CADASIL เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์กล้ามเนื้อของ
    หลอดเลือดขนาดเล็กทำให้กล้ามเนื้อของหลอดเลือดเสียหาย และทำให้การไหลเวียนเลือดในสมองไม่ดี
  • โรคโมยาโมยา (Moyamoya disease) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองเนื่องจากหลอดเลือดหลักที่นำเลือดไปสู่สมองเกิดอุดตันหรือตีบแคบลง
  • โรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น
    • ความผิดปกติทางพันธุกรรมของ Factor V Leiden (Factor V Leiden mutation) ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเชื้อชาติตะวันตก
    • ภาวะพร่อง Protein C และ S
    • ภาวะพร่อง Antithrombin III
    • ภาวะระดับ Homocysteine ในเลือดสูง (Hyperhomocysteinemia)

ผู้มีประวัติเคยฉายรังสีบริเวณคอ

ผู้ที่เคยมีประวัติเคยฉายรังสีบริเวณคออาจทำให้หลอดเลือดแดงที่คอเสื่อมสภาพ และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงจากโรคของหลอดเลือดแดง

ความเสี่ยงจากสาเหตุโรคของหลอดเลือดแดงอาจพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็เป็นความเสี่ยงหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อยได้ โรคของหลอดเลือดแดงดังกล่าว ได้แก่

  • โรคทากายาสุ (Takayasu arteritis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ และแขนงต่างๆ
  • โรคหลอดเลือดสมองอักเสบ เป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดในสมองหรือไขสันหลังอาจตามหลังการติดเชื้อ เช่น วัณโรคในเยื่อหุ้มสมอง
  • ภาวะที่มีการแคบลงของหลอดเลือดแดง (Fibromuscular dysplasia) เป็นภาวะการเจริญเติบโตของเซลล์ส่วนเกินภายในหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงแล้วทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง
  • ภาวะหลอดเลือดแดงหดตัวชั่วคราว (Reversible Cerebral Vasoconstriction Syndrome) เกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองหดตัวชั่วคราว ทำให้เกิดการขาดเลือดชั่วคราว สาเหตุ อาจเกิดจากยาบางอย่าง เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคไมเกรน ยาลดน้ำมูก ยากดภูมิต้านทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาเสพติด เช่น โคเคน ยาบ้า หรืออาจกระตุ้นได้ด้วยการตั้งครรภ์ เป็นต้น
New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ในคนอายุน้อย

อาการจะเหมือนกับในคนที่อายุมาก กล่าวคืออาการที่เกิดจากเนื้อเยื่อสมองส่วนที่ขาดเลือดเสียการทำงานไป ตัวอย่างเช่น

  • พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
  • คิดคำพูดไม่ออก สื่อสารไม่เข้าใจ
  • แขนขาอ่อนแรง ข้างใดข้างหนึ่ง
  • แขนขาชา ข้างใด ข้างหนึ่ง
  • เวียนหัว เดินเซ
  • ภาพซ้อน มองเห็นผิดปกติไป

ซึ่งอาจสังเกตอาการได้ตามหลัก FAST ได้แก่

  • F (Face) ผู้ป่วยจะมีอาการหน้าเบี้ยว
  • A (Arms) อาการแขนขาอ่อนแรง
  • S (Speech) ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้ เหมือนลิ้นคับปาก
  • T (Time) การรีบนำผู้ป่วยที่สงสัยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็วที่สุด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมวิธีการสังเกตอาการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ที่ https://www.praram9.com/stroke-symptoms/

>กลับสู่สารบัญ

เมื่อสงสัยว่ามีอาการโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ?

ถ้ามีอาการตามหลัก FAST ดังกล่าวข้างต้นข้อใดข้อหนึ่ง ถึงแม้ผู้ป่วยจะอายุน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันทีหรือ ภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง หลังจากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินและวินิจฉัย

หากตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แนวทางการรักษา คือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อเปิดหลอดเลือดสมองให้ทันเวลา ถึงแม้จะเป็นเพียงชั่วคราวและอาการหายไปได้เองก็ควรนัดหมายเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทเพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยง และทำการป้องกันการเกิดอาการขึ้นอีก

การนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้ทันเวลาจะช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อสมองและลดความเสี่ยงของความพิการหรือการเสียชีวิตได้

ศึกษาการวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมที่: https://www.praram9.com/stroke-prevention-and-treatment/

>กลับสู่สารบัญ

วิธีการป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ โดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรค (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) ในส่วนที่เราสามารถจัดการได้ ดังนี้

  • ตรวจวัดความดันเลือดอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีความดันเลือดมากกว่า 140/80 mmHg
  • ควรพบแพทย์ และรับประทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยการลดอาหารเค็ม หวานจัด มันจัด เพิ่มผักผลไม้
  • เลิกสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา
  • ลดน้ำหนัก ในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยการออกกำลังกายควรเป็นการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นกว่าปกติ อย่างน้อย 10-20 ครั้ง ต่อนาที และอย่างน้อยครั้งละครึ่งชั่วโมง
  • ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด และค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มาของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  • ตรวจร่างกายทางด้านหัวใจว่ามีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือไม่
stroke ในคนอายุน้อย

>กลับสู่สารบัญ

บทสรุป

โรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke เป็นโรคที่นับได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะนำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่เรามักพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุมากอย่างไรก็ตาม ยังสามารถพบโรคหลอดเลือดสมองได้ในคนอายุน้อยอีกด้วย ซึ่งถ้าพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอายุน้อยกว่า 40 ปี จะเรียกว่า “โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย หรือ Stroke in the young”

แม้จะเป็นผู้ป่วยอายุน้อยแต่ความอันตรายและความรุนแรงของโรคไม่ได้แตกต่างจากในกลุ่มผู้ป่วยอายุมาก ดังนั้นเมื่อพบอาการที่สงสัยว่าเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ต้องนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาให้ทันเวลา เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของความพิการหรือการเสียชีวิตได้

และสิ่งทำคัญที่สุดคือ ​​เราสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทเพื่อสุขภาพที่ดีของเรา

เอกสารอ้างอิง

  1. Mary G. George. Risk Factors for Ischemic Stroke in Younger Adults.  Stroke Volume 51, Issue 3, March 2020; Pages 729-735 https://doi.org/10.1161/STROKEAHA.119.024156
  2. Caitlin Carlton. Oral Contraceptives and Ischemic Stroke Risk. Stroke Volume 49, Issue 4, April 2018; Pages e157-e159 https://doi.org/10.1161/STROKEAHA.117.020084

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา