Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“ทำไมหายจากโควิดแล้ว มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ?” ผลกระทบจากลองโควิด (Long Covid) ต่อจิตใจ

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 23 พฤศจิกายน 2021

จากข้อมูล ผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้วประมาณ 30-50% จะยังมีอาการหลงเหลืออยู่ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีไข้ ไอ ปวดหัว ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า ลองโควิด (Long Covid) ภาวะลองโควิดนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วย หลังได้รับเชื้อ 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป

อย่างไรก็ดี นอกจากอาการทางด้านร่างกายแล้ว ผู้ป่วยหลายรายยังอาจมีอาการทางจิตใจร่วมด้วย เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้ หากอยากทราบว่ามีสาเหตุจากอะไร พบได้บ่อยแค่ไหน ควรดูแลรักษาอย่างไร ควรมาปรึกษาแพทย์หรือไม่ ติดตามอ่านต่อได้เลย 

New call-to-action

สารบัญ

  • ลองโควิด (Long Covid) ส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไร?
  • ลองโควิด (Long Covid) กับภาวะสมองล้า (Brain fog)
  • ผลกระทบทางจิตใจจากลองโควิด (Long Covid) เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?
  • ลองโควิด (Long Covid) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตมากแค่ไหน?
  • ดูแลจิตใจอย่างไรในภาวะลองโควิด (Long Covid)
  • สรุป

ลองโควิด (Long Covid) ส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไร?

โควิด-19 เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากโควิดเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาการรักษาที่ยาวนานหลายสัปดาห์ ในบางรายอาจใช้เวลานานหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละคน

ระหว่างการรักษาโควิด-19 สร้างประสบการณ์ที่ไม่ดี

ผู้ป่วยมักจะมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเองว่าจะมีอาการรุนแรง หรือจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ บางรายอาจจะคาดหวังว่าใช้เวลารักษาตัวในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน แต่กลับต้องอยู่โรงพยาบาลนานกว่าที่คาดไว้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกลัวและวิตกกังวล

ในรายที่มีอาการของโควิดรุนแรงถึงขั้นต้องนอนรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU) หรือ อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์กระทบกระเทือนใจรุนแรงได้ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า PTSD (Post-traumatic stress disorder) 

 

ฟื้นตัวช้า ไม่คล่องตัว ไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ เหมือนต้อง “Lock Down” ชีวิตตัวเอง

ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากลองโควิด มักต้องใช้เวลาในการพักฟื้น อาจเสียความคล่องตัวขั้นพื้นฐาน (Loss of basic mobility) ทำให้สูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

หลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตได้ไม่เป็นปกติ เช่น ต้องเดินช้า ๆ หายใจช้า ๆ ต้องระมัดระวังการรับประทานอาหาร ต้องงดหลาย ๆ กิจกรรม โดยเฉพาะการออกกำลังกาย 

เมื่อสูญเสียความมั่นใจในสิ่งที่เคยได้ทำ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วย 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่หายจากโควิดจำนวนไม่น้อยมีภาวะวิตกกังวล (anxiety) หรือ ซึมเศร้า (depression) บางรายอาจเกิดความรู้สึกผิดที่ต้องลาป่วยเป็นเวลานาน และเพื่อนร่วมงานต้องมารับผิดชอบแทน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาวได้

New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

ลองโควิด (Long Covid) กับภาวะสมองล้า (Brain fog)

นอกจากผลกระทบดังที่กล่าวมาแล้ว ลองโควิดยังมีผลทำให้มีภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog โดยภาวะที่เกิดขึ้นนี้ มาจากอาการทางสมอง ที่อาจแสดงออกมาในลักษณะของการตัดสินใจช้า เช่น ความรู้สึกช้า เบลอ ๆ หรือมีความคิดล่องลอย

โดยมักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาทางด้านความจำ
  • ตัดสินใจไม่เด็ดขาด
  • สมาธิไม่ดี สมาธิสั้น
  • จิตใจล่องลอย ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
  • ปวดหัว
  • ความคิดสับสน 

แม้จะพบกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองล้าขึ้นหลังหายจากโควิด แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน ว่าโควิด-19 ส่งผลต่อสมองจนเกิดภาวะสมองล้าได้อย่างไร แต่ก็มีการคาดการณ์ว่า ไวรัสอาจเข้าไปมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทและสมอง และสร้างความเสียหายขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน มีการวิเคราะห์ว่า อาจเกิดจากผลกระทบทางอ้อมจากโควิด-19 ได้แก่ 

  • การพักผ่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ
  • รูปแบบการรับประทานอาหาร หรือมื้ออาหารที่ไม่เหมือนเดิม
  • ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวน้อยลง
  • ผลข้างเคียงจากยาหรือขั้นตอนการรักษา

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ก็พบว่าเป็นอาการร่วมของลองโควิดที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรใส่ใจและหมั่นสังเกตตัวเอง เนื่องจากภาวะสมองล้าส่งผลกระทบบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ และทำให้ประสิทธิผลในการทำงานลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคร้ายแรงต่าง ๆ อย่างเช่น โรคเครียด หรืออาจถึงขั้นเกิดสภาวะสมองเสื่อมได้

>กลับสู่สารบัญ

ผลกระทบทางจิตใจจากลองโควิด (Long Covid) เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?

ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่คาดว่าอาจมีหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น

  1. ผลของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นจากไวรัส
  2. ผลโดยตรงที่เกิดจากไวรัสเอง
  3. ผลกระทบต่อจิตใจตอนติดเชื้อและมีอาการจากโควิด-19 ทั้งในช่วงที่เข้ารับการรักษาหรืออยู่ระหว่างพักรักษาตัว

เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยโควิดมีรายงานภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาทร่วมด้วย เช่น สับสน (confusion) เพ้อ (delirium) และ ภาวะบกพร่องทางสมอง (cognitive impairment) ซึ่งอาจเป็นหลักฐานเชื่อมโยงว่าไวรัสโควิดอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันที่แน่ชัด และยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน 

>กลับสู่สารบัญ

ลองโควิด (Long Covid) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตมากแค่ไหน?

จากการเก็บข้อมูลของผู้ที่หายป่วยจากโควิดในต่างประเทศพบว่าประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ที่หายจากโควิด จะพบความผิดปกติด้านจิตใจ ได้แก่

18% มีภาวะวิตกกังวล

13.6% มีปัญหาด้านอารมณ์

5.4% มีภาวะนอนไม่หลับ

บางรายพบอาการหลายอย่างร่วมกัน

ซึ่งอาการเหล่านี้มีผลต่อกิจวัตรประจำวันและการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง 

>กลับสู่สารบัญ

ดูแลจิตใจอย่างไรในภาวะลองโควิด (Long Covid)

เนื่องจากลองโควิดมีผลต่อสุขภาพจิต ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยโควิด-19 เป็นพิเศษ ทั้งกรณีที่อยู่ระหว่างการรักษา หรืออยู่ในช่วงพักฟื้นตัวหลังจากหายป่วย 

การดูแลจิตใจตนเอง

  • เมื่อรู้สีกว่าเครียด กังวล หรือมีอารมณ์ที่ผิดปกติ อาจจะหาโอกาสชวนใครออกไปเดินเล่นรอบ ๆ บ้าน พูดคุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนที่อยู่ห่างไกล ผ่านการโทรศัพท์หรือใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียด
  • งดการดูหรือติดตามข่าวที่ทำให้เครียด เศร้าหมอง หรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจ
  • หางานอดิเรกที่ชอบทำ เช่น งาน DIY ปลูกต้นไม้ ดูแลต้นไม้
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้มีสมาธิ เช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา เพื่อทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • งด ลด หรือเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ลองกำหนดเป้าหมายที่จะทำในแต่ละวัน อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ แล้วทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อสามารถทำได้ตามเป้าหมายจะทำให้รู้สึกภูมิใจกับตนเองมากขึ้น

พูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง เมื่อรู้สึกว่าสภาพจิตใจไม่เป็นปกติ

เมื่อรู้สึกสภาพจิตใจไม่ปกติ เครียด ซึมเศร้า หดหู่ การพูดคุยกับครอบครัวหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ จะช่วยลดภาวะอารมณ์ที่หดหู่ เครียด หรือซึมเศร้าลงได้

กรณีที่เป็นการพบปะกันต่อหน้า ต้องไม่ลืมที่จะป้องกันตัวเองโดยต้องปฏิบัติตามหลัก new normal เสมอ ซึ่งได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาระหว่างการพูดคุยหรือสนทนา การรักษาระยะห่าง และล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือที่มีความเข้มข้นตามเกณฑ์ที่กำหนด

ถ้าไม่ไหว อย่าฝืน ให้ปรึกษาแพทย์

หากรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาทางจิตใจ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์จะพูดคุยซักถาม เพื่อวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยแพทย์อาจให้การรักษาร่วมกันกับการกินยาเพื่อลดภาวะดังกล่าว

คำแนะนำ : ผู้ที่มีญาติหรือคนใกล้ชิดที่เคยเป็นโควิดหรือมีอาการของลองโควิดอยู่ ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเริ่มมีอาการผิดปกติทางด้านจิตใจหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วย ซึ่งบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย เมื่อพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการควรพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากแพทย์

หากสงสัยว่ามีอาการลองโควิดและส่งผลต่อจิตใจสามารถทำแบบประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นด้านล่างนี้เพื่อประเมินเบื้องต้นด้วยตัวเอง

  • ประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นและคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด 19

>กลับสู่สารบัญ

สรุป

ผู้ป่วยที่หายจากโควิดมักมีอาการหลงเหลืออยู่ทั้งทางด้านร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีไข้ ฯลฯ และทางด้านจิตใจ อาการเหล่านี้ คือ อาการที่เรียกว่าลองโควิด (Long Covid)

รายงานพบว่า ลองโควิดอาจมีผลกระทบต่ออาการทางด้านจิตใจได้มากถึง 1 ใน 4  ซึ่งอาการหรือปัญหาทางสุขภาพจิตเหล่านี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีความรู้สึกเครียด กังวล หรือเริ่มมีภาวะซึมเศร้า ควรไปปรึกษาแพทย์ และมี

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีผู้ใกล้ชิด หรือญาติเคยเป็นโควิด หรือกำลังมีอาการลองโควิด ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติทางด้านอารมณ์ หรือจิตใจต่าง ๆ เมื่อพบความผิดปกติ ควรไปปรึกษาแพทย์

การระบาดของโควิด-19 กระทบต่อมนุษย์ทั่วโลกและระบาดอย่างยาวนาน เราคงต้องอยู่ร่วมกับโรคนี้อย่างเข้าใจ และดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ จนกว่าเราจะก้าวผ่านการระบาดของโรคนี้ไปได้อย่างมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ 

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

>กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

Mind Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

PR9-Template_mind-center-1-1_TH

Mind Center

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา