Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

พญ.วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 พฤษภาคม 2025

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

กินหมู…ไม่ได้ทำให้หูดับ แต่หากกินหมูดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบ คุณเสี่ยงกับ โรคไข้หูดับ อันตรายถึงชีวิตได้

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อสู่คนได้ 2 ทาง คือ

  1. จากการบริโภคเนื้อหรือเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ 
  2. การสัมผัสโดยตรงกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมู ผ่านทางบาดแผลรอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา

อาการที่พบ

อาการส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงใน 3 วัน

– มี ไข้

– ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว

– คลื่นไส้ อาเจียน

– ซึมลง คอแข็ง ชักเกร็ง

– ปลายประสาทหูอักเสบจนหูดับหรือสูญเสียการทรงตัว

– บางรายอาจมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิต

ทั้งนี้ คนไข้ที่มีอาการหูดับนั้น พบว่ามาจากปัญหาเรื่องของเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือติดเชื้อในการแสเลือดก่อน แล้วเชื้อจึงลุกลามเข้าสู่ปลายประสาทหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินและการทรงตัว 

ซึ่งในกรณีนี้มักมีโอกาสเกิดขึ้นเฉพาะบางรายที่มีโรคประจำตัว ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

การป้องกันโรคไข้หูดับจากหมูดิบ

 – หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ 

 – ควรแยกอุปกรณ์ที่ใช้รับประทานอาหาร เช่น ตะเกียบ ช้อนส้อม ที่ใช้กับหมูไม่สุกและหมูสุกออกจากกัน

 – ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ และ ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป

 – ผู้ปรุงอาหาร ผู้เลี้ยง และผู้ชำแหละหมูที่มีบาดแผล ต้องปิดแผลและสวมถุงมือทุกครั้งขณะสัมผัสเนื้อหมู หากสัมผัสต้องล้างมือ ล้างเท้า และล้างตัวให้สะอาด

การป้องกันจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สามารถช่วยลดทั้งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การแพร่ระบาดของโรค และการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

พญ.วรรนธนี อภิวัฒนเสวี

ศูนย์หู คอ จมูก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์หู คอ จมูก

ศูนย์หู คอ จมูก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา