Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

รู้และเข้าใจ…โรคซึมเศร้า

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 21 กันยายน 2020

ในโลกที่เต็มไปด้วยปัญหาและสถานการณ์ตึงเครียด อาจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในปัจจุบันได้ เช่น ซึมเศร้า เบื่อหน่าย วิตกกังวล หงุดหงิด เป็นต้น ซึ่งหลายคนสงสัยว่าการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นั้นจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

อารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ในมนุษย์ แต่ถ้าหากอารมณ์เศร้าคงอยู่เป็นเวลานาน และไม่ได้รับการแก้ไข มีโอกาสก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย โดยจะทำให้เกิดการเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีผลต่ออารมณ์เศร้าของมนุษย์ ก่อให้เกิดเป็น “โรคซึมเศร้า” ได้

ปัจจุบันโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นกับผู้คนจำนวนไม่น้อย บางคนเป็นโดยที่ตนเองไม่ทราบ บางคนเข้าใจว่าเป็นเพราะคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที

สารบัญ

  • โรคซึมเศร้าคืออะไร ?
  • โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?
  • โรคซึมเศร้ารักษาอย่างไร ?
  • โรคซึมเศร้า ให้เราช่วยดูแลคุณผ่าน PR9 Telemedicine
  • สรุป

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?

จากการศึกษาทางการแพทย์ในปัจจุบันพบว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดปามีน ทำให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม ซึ่งจะต่างจากอารมณ์เศร้าตามปกติที่สามารถหายได้เองเมื่อความเครียดหมดไป

ดังนั้น เมื่อโรคซึมเศร้ามีเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเช่นเดียวกับโรคทางกายอื่น ๆ ไม่สามารถหายเองได้

> กลับสู่สารบัญ

โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไร ?

  • รู้สึกเศร้า หดหู่  ท้อแท้ ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ กังวลหรือหงุดหงิดมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง หรือสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง
  • สูญเสียความสนใจในหลายกิจกรรม ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรืออาจรับประทานอาหารมากกว่าปกติได้
  • นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือนอนหลับมากจนเกินไป
  • การเคลื่อนไหวช้าลง หรืออาจกระวนกระวายมากจนเกินไป
  • อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง
  • สมาธิลดลง ความจำแย่ลง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง คิดว่าตนเองเป็นภาระ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง
  • ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงความตายบ่อยครั้ง

โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นมีหลายระดับ ตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงระดับที่กระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก 9 อาการดังกล่าวข้างต้น เป็นสัญญาณเตือนให้สงสัยว่าอาจจะมีโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอยู่ในระดับที่รุนแรง ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

> กลับสู่สารบัญ

โรคซึมเศร้ารักษาอย่างไร?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาหายได้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีการรักษาในปัจจุบันมีหลายวิธี ดังนี้

1. การรักษาด้วยยา (Pharmacological treatment)

เป็นการรักษาหลัก โดยยารักษาอาการซึมเศร้าจะไปช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สมดุล ส่วนระยะเวลาในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าครั้งแรกโดยส่วนใหญ่ประมาณ 9-12 เดือน แล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค

จากการศึกษาพบว่าหากหยุดยาก่อนกำหนด ผู้ป่วยมักมีโอกาสกำเริบได้ถึงร้อยละ 80

2. การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy)

เป็นการรักษาที่มักใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ซึ่งการทำจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive-behavioral therapy; CBT), การบำบัดแบบประคับประคอง (supportive psychotherapy) เป็นต้น

การเลือกวิธีบำบัดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายและความถนัดของผู้บำบัด การศึกษาในปัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการรักษา

3. การรักษาด้วยอุปกรณ์ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial magnetic stimulation; TMS)

เป็นการรักษาโดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านหนังศีรษะ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์สมอง ส่วนใหญ่มักใช้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการให้ยารักษา

4. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy)

ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีอาการรุนแรงมากเฉียบพลัน หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

> กลับสู่สารบัญ

โรคซึมเศร้า ให้เราช่วยดูแลคุณผ่าน PR9 Telemedicine

Telemedicine คือ บริการปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาผนวกกับการบริการด้านสุขภาพ โดยให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพแบบ real-time ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยโดยที่ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล

“Health Care You Can Trust
เรื่องสุขภาพ...ไว้ใจเรา”

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพทางจิตใจ เช่น ภาวะเครียดจนนำไปสู่อาการของโรคซึมเศร้า ที่ไม่ควรปล่อยไว้

ซึ่งทางโรงพยาบาลพระรามเก้า คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยมีช่องทางบริการในการรักษาด้วย “PR9 Telemedicine ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนก็ปรึกษาหมอได้” ผ่านทาง Line Official Account

โดยที่ผู้รับบริการสามารถปรึกษาปัญหาทางสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผ่าน video call ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษา ตลอดจนการจัดส่งยาให้แก่ผู้รับบริการถึงบ้าน

“PR9 Telemedicine” จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ชีวิตยุค new normal ให้ผู้รับบริการอุ่นใจ มั่นใจ ปลอดภัยจาก COVID-19 และมีสุขภาพที่ดีได้แม้ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล

รพ.พระรามเก้า พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทุกปัญหาสุขภาพ สามารถทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ ผ่านช่องทางการติดต่อ

✅ Line Official Account ผ่าน video call คลิก link https://lin.ee/euA1bAc หรือโทร 1270
✅ เปิดให้บริการเวลา 8.00 น. ถึง 16.00 น. ของทุกวัน…เพราะคุณคือคนสำคัญ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ความเข้าใจต่อโรคซึมเศร้าของหลายคนในปัจจุบัน เชื่อว่าคนเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเพราะอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหลายเหตุปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้น ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งได้รับความเข้าใจอย่างถูกต้องจากคนรอบข้าง จะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคและสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

Mind Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

PR9-Template_mind-center-1-1_TH

Mind Center

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา