Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในกระเพาะอาหาร

นพ.ฐปนกุล เอมอยู่

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 13 พฤษภาคม 2020

เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอชไพโลไร (Helicobacter pylori / H.pylori) นับว่าเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่เกิด จากการติดต่อระหว่างคนสู่คน เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว จะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้มีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งกระเพาะ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งเป็นหนึ่งกลุ่มเสี่ยง หากติดเชื้อ COVID-19 อาการจะรุนแรง การดูแลตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

โดยส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการแสดง แต่ในบางรายเชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือในลำไส้เล็กส่วนต้นได้ รวมไปถึงการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารในที่สุด โดยโรคนี้พบได้ทั่วโลก โดยประมาณการว่าประชากรทั่วโลกอย่างน้อยร้อยละ 50 มีการติดเชื้อชนิดนี้อยู่ โดยประชากรประเทศด้อยพัฒนา จะมีความชุกของการติดเชื้อมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากการดูแลด้านสุขอนามัยที่แตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทย ไม่มีการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาของโรคนี้อย่างชัดเจน

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไพโลไร อาจติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ โดยเชื้อจะเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ที่เรียกว่า ดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกสุด ของทางเดินอาหารที่รับอาหารต่อจากกระเพาะ โดยเชื้อจะเข้าไปปล่อยเอนไซม์และสารพิษต่างๆ ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้กรดในกระเพาะอาหารรวมถึงน้ำย่อยต่างๆ ทำลายเนื้อเยื่อกระเพาะและลำไส้เล็กรุนแรงขึ้น จนก่อให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังทั้งกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนต้น 

โดยโรคนี้ยังมีการติดต่อค่อนข้างสูงในชุมชนที่มีความแออัด และคนในครอบครัว  หลังจากมีการติดเชื้อเอชไพโลไรจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหารและเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นเป็นแผลโดยมีความเสี่ยงสูงถึง 6-40 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ  ผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อ

นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้มีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากกว่า 2-6 เท่า การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไพโลไร เริ่มต้นจากการทดสอบการติดเชื้อ โดยแนะนำให้ตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยว่าอาจมีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่เคยมีประวัติติดเชื้อมาก่อน หรืออาจตรวจในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารรวมถึงผู้ที่มีความกังวลว่าอาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะคนเชื้อสายจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์ของมะเร็งกระเพาะอาหารค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะพบการติดเชื้อ เอชไพโลไร ได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารแต่ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารก็ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไรทุกคน โดยสาเหตุสำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร คือ ยาละลายลิ่มเลือด เช่น aspirin , clopidogrel ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ibuprofen, naproxen เป็นต้น 

วิธีการทำสอบการติดเชื้อเอชไพโลไรมีหลายวิธี โดยวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย คือ การส่องกล้องทางเดินอาการส่วนต้น และตัดชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจหาเชื้อเอชไพโลไร นอกจากนี้การนำลมหายใจมาพิสูจน์เชื้อโรค หรือเรียกว่า Urea Breath Test ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่นำลมหายใจมาทดสอบเพื่อพิสูจน์เชื้อแบคทีเรีย เฮริโคแบคเตอร์ ไพโลไร ได้เช่นกัน    ข้อดีของโรคนี้ หลังจากที่กำจัดเชื้อได้แล้ว โอกาสที่จะกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำอีกนั้น มีลดลงและมีโอกาสที่จะหายขาด เพื่อลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจากอาการปวดท้องโรคกระเพาะอาหารและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย สำหรับผู้ที่สงสัยว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร หรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรตรวจหาความเสี่ยง หรือตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการป้องกันโรคร้าย ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในกระเพาะอาหารได้ดีที่สุด

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ฐปนกุล เอมอยู่

นพ.ฐปนกุล เอมอยู่

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา