Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

กระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 เมษายน 2020

กระดูกข้อสะโพกหักเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะเพศหญิง โดยพบบ่อยกว่ามะเร็งทุกชนิดรวมกันถึงประมาณ 3 เท่า แต่ว่ามีอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับภาวะนี้สูงกว่ามะเร็งบางชนิดด้วยซ้ำ

จากสถิติผู้ป่วยที่กระดูกหักมีอัตราเสียชีวิตในปีแรกอาจสูงถึงประมาณ 20% และมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักที่สามารถกลับไปเดินได้ตามปกติ ส่วนที่เหลือ ประมาณ 1 ใน 3 จะพิการเดินไม่ได้ และที่เหลือจะมีความสามารถในการเดินลดลงกว่าก่อนกระดูกหักมาก ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่หลังจากมีกระดูกสะโพกหักจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน

รองศาสตราจารย์ นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ หัวหน้าศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า ยังให้ข้อมูลอีกว่า ในการรักษากระดูกสะโพกหักให้ได้ผลดีส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด อาจเป็นการยึดกระดูกที่หักด้วยเหล็กยึดกระดูก หรือผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมแล้วแต่กรณี นอกจากนี้ควรทำการผ่าตัดหลังเกิดกระดูกหักโดยเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความลำบากในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ขยับตัวแทบไม่ได้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆเช่นแผลกดทับ และปอดติดเชื้อ ได้อย่างรวดเร็ว ตามรายงานพบว่าการผ่าตัดที่ช้ากว่า 72 ชั่วโมงจะทำให้ผลการรักษาโดยรวมด้อยลงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นมาก

สาเหตุกระดูกข้อสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ คือ เกิดการล้มร่วมกับมีภาวะกระดูกพรุน  ดังนั้นข้อแนะนำอย่างแรก จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะล้ม โดยปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การมีไฟส่องสว่างให้เพียงพอในทุกจุดที่ต้องการตลอดเวลา ไม่ควรวางสิ่งของเกะกะขวางทางเดิน ปรับปรุงพื้นให้เรียบแต่ไม่ลื่นไม่ให้มีจุดที่สามารถสะดุดได้ หลีกเลี่ยงการใช้กระเบื้องชนิดลื่นง่ายในห้องน้ำ รวมทั้งการใช้ผ้าเช็ดเท้าที่ไม่เกาะกับพื้น เป็นต้น และอีกข้อที่สำคัญคือการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือ การที่เนื้อกระดูกที่เป็นโครงค้ำยันบางลงเรื่อย ๆ โครงสร้างจากกระดูกที่เคยแข็งแรงก็อ่อนแอลง เปรียบเสมือนการที่ขนาดเสาบ้านที่ค้ำตัวบ้านลดขนาดและจำนวนลง เมื่อเกิดการกระแทกก็มีโอกาสทรุดตัวลงได้ง่าย ในระยะที่มีการพรุนของกระดูกมากแม้ว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็สามารถมีการหักทรุดของกระดูกได้ เช่นในกรณีที่พบบ่อยในผู้หญิงที่อายุมากขึ้นแล้วตัวเตี้ยลง มีหลังค่อม เป็นจากการหักยุบตัวลงของกระดูกสันหลังที่พรุน ถ้าการหักของกระดูกเกิดที่บริเวณกระดูกสะโพกก็ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ และเป็นปัญหาใหญ่ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การตรวจโรคกระดูกพรุนนี้ทำได้โดยการตรวจค่าความหนาแน่นมวลกระดูกที่สามารถทำได้ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ใช้เวลาเพียง 15 ถึง 20 นาทีเท่านั้น ควรทำเพื่อประเมินความเสี่ยงของกระดูกหักและประเมินผลการรักษา

ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกพรุนมีหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม การใช้ยาบางชนิด โรคประจำตัวเช่นโรคไต การออกกำลังกายไม่เพียงพอ การกินอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ ก็จะมีความเสี่ยงที่กระดูกจะพรุนได้ง่าย นอกจากนี้ที่พบบ่อยอีกเรื่องคือการขาดวิตามินดี ในประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่ขาดวิตามินดีสูงกันอย่างแพร่หลาย มีรายงานพบว่า การขาดวิตามินดีอาจสูงถึง 75% ในประชากรวัยทำงาน การขาดวิตามินดีเป็นตัวเชื่อมโยงโดยตรงกับการเกิดโรคกระดูกพรุน การได้รับแสงแดดจะสามารถช่วยเพิ่มการสังเคราะห์วิตามินดีทางผิวหนังได้แต่จำเป็นต้องโดนแดดค่อนข้างมากจึงจะได้วิตามินพอ แต่การโดนแดดมากก็สร้างปัญหากับผิวหนังที่เราไม่ต้องการได้ เช่นการเกิดฝ้ากระ ดังนั้นเราอาจเพิ่มวิตามินดีในรูปของยากินที่เป็นวิตามินดี หรือกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น นม น้ำมันตับปลา เนยแข็ง เนย ไข่ และตับ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ควรตรวจระดับของวิตามินเพื่อให้ได้รู้เป็นพื้นฐานก่อนเช่นกัน

กล่าวโดยสรุป กระดูกหักในผู้สูงอายุเป็นภัยใกล้ตัวที่พบบ่อย และมีอันตรายถึงชีวิต แต่เราลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้ถ้ามีการตรวจรักษาภาวะกระดูกพรุนแต่เนิ่นๆ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์รักษ์ข้อ

ศูนย์รักษ์ข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา