Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

สร้างกระดูกแข็งแรงสู้โรค

นพ.ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 27 ธันวาคม 2019

เคยเป็นไหม นั่งทำงานอยู่ดี ๆ ก็ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอขึ้นมาเฉย ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นแค่อาการเมื่อยล้าจากการทำงานหนักตามปกติหรือเพียงแค่ปวดกล้ามเนื้อทั่วไป จนละเลยไม่ใส่ใจคิดว่าพักสักหน่อยก็คงหาย แต่รู้หรือไม่ว่าอาการปวดที่รู้สึกอยู่อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า กระดูกของคุณไม่ไหวแล้ว

นายแพทย์ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ  โรงพยาบาลพระรามเก้า อธิบายว่า โรคกระดูกสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ล้วนมีโอกาสที่จะมีปัญหาหรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ทั้งสิ้น โดยอาการเบื้องต้นของโรคกระดูกที่สังเกตได้ง่าย ๆ คือ อาการปวด นอกจากนี้ในบางรายอาจจะมีอาการอื่น ๆ เช่น อาการขัด มีเสียงความผิดปกติของการขยับ ขาอ่อนแรง ซึ่งหากไม่อยากให้ลุกลามไปถึงขั้นที่เกิดอาการรุนแรงและอันตราย ก็ต้องระมัดระวังและเข้ารับการตรวจรักษาสุขาพตั้งแต่เริ่มต้น 

สำหรับโรคกระดูกโดยทั่วไปแล้วมีสาเหตุมาจากการใช้งาน ความเสื่อม และอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งในคนทำงานส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการใช้งานหักโหมจนเกินไป โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องยาวนาน รวมไปถึงคนที่ต้องเดินนาน ยืนนาน เมื่อประกอบกับการนั่งหรือยืนผิดท่า ก็มีโอกาสที่จะทำให้กล้ามเนื้อคอ หลัง และขาอักเสบ อันจะนำไปสู่อาการเบื้องต้นของโรคกระดูกได้ ซึ่งหากยังปล่อยให้ตัวเองใช้งานกระดูกส่วนต่าง ๆ ผิดท่าไปนาน ๆ ก็จะเพิ่มโอกาสและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อมให้มากขึ้น ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ อาการของโรคกระดูกที่พบบ่อย ๆ คือการปวดขา ปวดเข่า หรืออาการปวดในอวัยวะที่ใช้ในเล่นกีฬานั้น ๆ

ในผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโรคกระดูกเสื่อม ทั้งคอเสื่อม เข่าเสื่อม และ หลังเสื่อม ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุหรือการใช้งานกระดูกส่วนนั้น ๆ หนักเกินไปสะสมเป็นเวลานาน โดยอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้คือ หากกระดูกคอเสื่อมจะมีอาการปวดคอร้าวลงไปถึงแขน บางครั้งอาจมีอาการแขนชาหรือแขนอ่อนแรงร่วมด้วย หากกระดูกหลังเสื่อมจะปวดหลัง ชาที่ขา หรือมีอาการขาไม่มีแรง แต่หากเข่าเสื่อม สะโพกเสื่อม จะมีอาการปวดเมื่อลงน้ำหนักไปยังจุดนั้น ๆ ในบางรายอาจจะมีเสียงที่เข่าเวลาขยับ นั่งยอง ๆ  หรือคุกเข่าไม่ได้ ซึ่งถ้าเป็นหนักมากอาจจะทำให้เกิดอาการขาโก่งผิดรูปได้

ทั้งนี้ตำแหน่งของการเกิดปัญหาหรือโรคเกี่ยวกับกระดูกในแต่ละคนขึ้นอยู่กับที่มาและสาเหตุ เช่น คนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์บ่อย ๆ นาน ๆ ต้องก้มเยอะ ๆ ก็มีโอกาสที่กล้ามเนื้อและกระดูกคอหรือหลังจะอักเสบได้ หากเป็นคนที่ต้องยืนนาน ๆ โอกาสที่จะมีปัญหาในกระดูกขาหรือเข่าก็สูงกว่าคนทั่วไป หรือในนักกีฬาที่ต้องใช้ช่วงแขนและไหล่เยอะ ก็อาจจะพบอาการของโรคกระดูกแขนและกระดูกไหล่ได้เช่นกัน ฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่าอาการปวดกระดูกหรือเรียกรวม ๆ ว่าโรคเกี่ยวกับกระดูกสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายอวัยวะ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคกระดูก เช่น โรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยตรง

ดังที่บอกไปว่าปัญหาและโรคเกี่ยวกับกระดูกสามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ซึ่งเมื่อเป็นแล้วแน่นอนว่าจะทำให้เจ็บปวดและทรมาน หากไม่อยากมีอาการเหล่านั้นก็ต้องหันมาดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไว้ก่อน ซึ่งสามารถทำได้ด้วย 4 ข้อปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้

  1. กินเพื่อบำรุงกระดูกให้แข็งแรง โดยเน้นอาหารประเภทโปรตีนและอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซี่ยมในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อย ฯลฯ
  2. ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั้งหลายเป็นเหมือนเกราะที่ห่อหุ้มกระดูกไว้  ถ้ากล้ามเนื้อและเอ็นแข็งแรง เมื่อเกิดเหตุสุดวิสัยอย่างอุบัติเหตุหรือการกระทบกระทั่งก็จะกระทบกับกระดูกน้อยลง
  3. ใช้งานอวัยวะอย่างระมัดระวังให้ถูกวิธีและพอดี ต้องดูแลตัวเองไม่ให้ใช้งานอวัยวะหรือกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งผิดวิธีหรือใช้งานหักโหมจนเกินไป
  4. หาอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง หากรักที่จะเล่นกีฬาหรือใช้ชีวิตผาดโผนก็ต้องรู้จักการดูแลตัวเอง ถ้าจะเล่นกีฬาบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงก็ต้องใส่อุปกรณ์เซฟตี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายต่อกระดูก

เพียงแค่ใส่ใจและดูแลตัวเองเท่านี้ ก็ห่างไกลปัญหาและโรคที่เกี่ยวกับกระดูกได้แล้ว

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์

นพ.ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์รักษ์ข้อ

ศูนย์รักษ์ข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา