Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

12 ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม (Dementia)

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 29 กรกฎาคม 2023
12 ปัจจัยเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม

เราสามารถลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40 โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้

  1. ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ (physical inactivity)
    การศึกษาพบว่าออกกำลังกายชนิดแอโรบิก เช่น เดิน วิ่ง ปั่น จักรยาน หรือว่ายน้ำ 45-60 นาที ต่อครั้ง สามารถลดการเกิดโรคสมองเสื่อมได้
  2. การสูบบุหรี่ (smoking)
    ไม่ว่าจะเป็นผู้สูบเอง หรืออยู่ใกล้ผู้สูบบุหรี่ล้วนเพิ่มโอกาสสมองเสื่อม การเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเลิกที่อายุเท่าไหร่ สามารถลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้
  3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป (excessive alcohol consumption)
    แอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการเกิดสมองเสื่อม และทำให้เกิดเร็วขึ้นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 65 ปี   ปริมาณที่มากเกิน 14 ดื่มมาตรฐาน (standard drink) ต่อสัปดาห์ เช่น เบียร์ สัปดาห์ละ 8 กระป๋อง( 330 ซีซี) หรือไวน์ สัปดาห์ละ 11 แก้ว (แก้ว 100 ซีซี) ทำให้สมองส่วนความจำฝ่อ (hippocampal atrophy)
  4. มลภาวะทางอากาศ (air pollution)
    เช่น ฝุ่น PM 2.5 ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคอัลไซเมอร์ การศึกษาพบว่าฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 1 µg/m³ เพิ่มโอกาสสมองเสื่อมมากขึ้น 1.6 เท่า
  5. อุบัติเหตุต่อสมอง (head injury)
    ทำให้เกิดการสะสมโปรตีนชนิด Tau ผิดปกติในบริเวณสมองส่วนความจำ hippocampus การศึกษาพบว่าอุบัติเหตุทางสมอง 1 ครั้ง เพิ่มโอกาสสมองเสื่อม 1.2 เท่า หากเกิดอุบัติเหตุทางสมองมากกว่า 5 ครึ้งขั้นไป เพิ่มความเสี่ยงเป็น 2.8 เท่า
  6. ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (infrequent social contact)
    การศึกษาในประเทศญี่ปุ่น พบว่าการมีคู่สมรส ลูกหลาน เพื่อนมาเยี่ยมเยียน การทำงานหรือร่วมกิจกรรมทางสังคม ลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้ร้อยละ 46 เทียบกับกลุ่มที่มี social isolation
  7. การศึกษาน้อย (less education)
    การเรียนหนังสือในวัยเด็กจนถึงอายุ 20 ปี ช่วยลดโอกาสเกิดสมองเสื่อม สำหรับผู้สูงวัยควรมีกิจกรรมฝึกสมอง เช่น เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ ฝึกแก้ไขปัญหา รวมถึง การเกษียณอายุช้าลง ช่วยให้สมองเสื่อมช้าลง
  8. น้ำหนักเกิน (obesity) 
    ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป ในช่วงอายุ 35-65 ปี เพิ่มความเสี่ยงสมองเสื่อมตอนอายุมากขึ้น 1.3 เท่าเทียบกับคนน้ำหนักปกติ และการลดน้ำหนักช่วยให้สมาธิและความจำดีขึ้น
  9. ความดันสูง (hypertension)
    การควบคุมความดันตัวบน (systolic blood pressure) น้อยกว่า  130 มม.ปรอท ตั้งแต่อายุ 40 ปี ช่วยลดการเกิดสมองเสื่อมได้ 
  10. โรคเบาหวาน (diabetes)
    ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าเมื่อเทียบกับคนทั่วไป โดยเฉพาะถ้าเริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่อายุน้อย ควรปรับพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน เพราะปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่ายารักษาโรคเบาหวานสามารถลดโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมได้
  11. โรคซึมเศร้า (depression)
    ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีโอกาสสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า และยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRI (serotonin reuptake inhibitor) ลดโอกาสสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าได้
  12. การสูญเสียการได้ยิน (hearing impairment)
    เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถรักษาได้แต่อาจถูกละเลย พบว่าการได้ยินลดลง 10 เดซิเบล เพิ่มโอกาสโรคสมองเสื่อม 1.3 เท่า เพราะเสียการกระตุ้นสมอง กระตุ้นความคิด ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใส่เครื่องช่วยฟัง ช่วยแก้ไขปัญหาการได้ยิน อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้ความพยายามในการปรับตัว ทั้งนี้ครอบครัวลูกหลานควรช่วยสนับสนุน ให้กำลังใจ ปรับเปลี่ยนเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม ตามคำแนะนำแพทย์

ปัจจัยเสี่ยง 12 ข้อหลีกเลี่ยงไม่ยาก เริ่มทำวันนี้ เพื่อวันหน้าเราจะเป็นผู้สูงวัยที่แข็งแรงและช่วยเหลือตนเองได้อย่างดี

แหล่งที่มา คณะบรรณาธิการ วารสาร Lancet ปีพศ. 2563 (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32738937/)

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา