Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ไส้ติ่งอักเสบ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 พฤษภาคม 2019

ไส้ติ่ง หรือ Appendix นี้มีรูปร่างเหมือนตัวหนอน ห้อยออกมาจากส่วนของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า Cecum ไม่มีประโยชน์อะไรต่อการย่อยอาหาร แต่นานๆ ทีมันก็เกิดอักเสบขึ้นมา

โรคไส้ติ่งอักเสบหรือไส้ตันนี้ ทุกคนควรรู้จักอาการเอาไว้ เพราะอาจเกิดขึ้นได้กะทันหัน โรคนี้เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง ตอนแรกปวดตรงกลางสะดือ ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา จุดปวดนี้ค่อยๆย้ายมาอยู่ที่ท้องน้อยด้านขวา ถ้าเราเอามือกดตรงส่วนนี้ของหน้าท้อง จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นจนแทบทนไม่ได้ ผู้เป็นมักจะมีไข้ขึ้นและอาเจียนติดๆกัน บางคนหยุดถ่าย แต่บางคนก็ท้องเดิน ถ้ามีอาการเช่นนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาล ให้แพทย์เขาตรวจดูทันที เพราะถ้าไส้ติ่งอักเสบจริง จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้อง และเป็นอันตรายต่อชีวิต

การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิม

 

ลักษณะทั่วไป

ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องรุนแรงที่ต้องผ่าตัด หากพบมีอาการเจ็บปวดตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคนี้ไว้ก่อนเสมอ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย

 

สาเหตุ

เกิดจากกรอุดตันของไส้ติ่ง เช่น มีเศษอุจจาระตกลงไปในไส้ติ่ง ทำให้มีเชื่อแบคทีเรียเข้าไปทำให้เกิดการอักเสบ

 

อาการ

มักมีอาการปวดท้องมาก เริ่มแรกอาจปวดเป็นพักๆ รอบสะดือคล้ายโรคกระเพาะ หรือท้องเดิน อาจจะเข้าส้วมบ่อย แต่ถ่ายไม่ออก บางคนอาจสวนด้วยยาถ่าย แต่บางคนก็อาจมีอาการท้องเดินร่วมด้วย อาการปวดถึงแม้จะกินยาแก้ปวดอะไรก็ไม่หาย ต่อมาอีก 3-4 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่ท้องน้อยข้างขวา ลักษณะปวดเสียดตลอดเวลา ต้องนอนนิ่งๆ เคลื่อนไหวตัวจะทำให้ปวดมาก ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและมีไข้ต่ำๆ บางคนถ้าเป็นมากต้องนอนงอขาตะแคงไปข้างหนึ่ง หรือเวลาเดินต้องเดินตัวงอจึงจะรู้สึกสบายขึ้น อาการจะเป็นอยู่นับชั่วโมงถึงหลายวัน บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยด้านขวา โดยไม่มีอาการอื่นนำมาก่อนเลยก็ได้ ในเด็กประวัติอาการอาจไม่แน่นอน

 

สิ่งที่ตรวจพบ

ไข้ต่ำๆ (37.5 – 38 ํซ. มักไม่เกิน 38.5 ํซ.) บางคนอาจไม่มีไข้ ลิ้นเป็นฝ้าหนา กดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา โดยเฉพาะตรงจุดไส้ติ่ง หรือจุดแม็กเบอร์เนย์ ถ้าใช้มือค่อยๆ กดตรงนั้นบริเวณลึกๆ แล้วปล่อยมือทันทีให้ผนังหน้าท้องกระเด้งกลับ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก เรียกว่า อาการกดปล่อยแล้วเจ็บ (Rebound Tenderness) ถ้าไส้ติ่งแตก จะมีอาการปวดเจ็บทั่วบริเวณท้องน้อย ท้องแข็ง อาจคลำได้ก้อน และไข้สูง

 

ข้อแนะนำ

1. คนที่มีอาการปวดเหนือสะดือคล้ายโรคกระเพาะ ถ้ากินยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบระยะแรกได้
2. คนที่มีไข้สูงนำมาก่อนหลายวันแล้วค่อยปวดท้องคล้ายไส้ติ่งอักเสบ อาจเป็นอาการของไข้ไทฟอยด์ได้
3. อาการของไส้ติ่งอักเสบ อาจไม่มีไข้ หรืออาการอย่างอื่นนำมาก่อนก็ได้
4. ในผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดท้องน้อยข้างขวา และมีไข้สูงหนาวสั่นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ

 

รายละเอียด

ถ้ามีอาการปวดและกดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา ควรนึกถึงโรคไส้ติ่งอักเสบไว้เสมอ

  • ปวดท้องทั่วไปต่างจากโรคอื่นๆ มักปวดเป็นพักๆ
  • ถ้าเป็นจากโรคแผลในกระเพาะ มักปวดใต้ลิ้นปี่ สัมพันธ์กับอาหาร โดยจะท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดจุกเสียดก็ได้ มักเป็นหลังอาหาร (คือทานอาหารแล้วแย่ลง) แต่ถ้าเป็นแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเป็นที่ใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มักปวดจุกเสียดก่อนอาหาร พอทานอาหารแล้วจะดีขึ้น
  • อาการปวดจากถุงน้ำดี มักเป็นที่ชายโครงขวา อาจมีร้าวไปบริเวณมุมล่างของสะบักขวา หรือบริเวณระหว่างสะบัก จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ จะมีอาการแน่นหรืออืดหลังทานอาหารมันๆ (Fat Intolerance) หรือมีปวดท้องหลังอาหารเย็นเป็นพักๆที่ชายโครงขวา (Biliary Colic)
  • ปวดจากนิ่วในท่อไต อาการปวดจะเป็นพักๆ มากบริเวณเอวด้านหลัง อาจร้าวมาขาหนีบ หรือบริเวณอัณฑะ ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
  • ปวดจากปีกมดลูกหรือรังไข่ จะปวดบริเวณท้องน้อย ไม่สัมพันธ์กับอาหาร มักมีเลือดหรือตกขาวผิดปกติทางช่องคลอดร่วมด้วย

จะสังเกตว่าอาการปวดท้อง ในระยะแรกไม่ว่าจะเป็นไส้ติ่งหรือโรคอื่นๆก็ตาม จะแยกกันยาก ต้องใช้การสังเกตอาการ ดังนั้น ในกรณีที่เริ่มปวดท้องที่ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร อย่าเพิ่งกินยาแก้ปวด คววรไปพบแพย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อน เพราะการกินยาแก้ปวด จะทำให้แพทย์วินิจฉัยแยกโรคลำบาก เนื่องจากยาจะบดบังอาการปวด

 

วินิจฉัย

นอกจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกายของแพทย์แล้ว ต้องเจาะเลือดดู CBC เพื่อตรวจนับดูจำนวนเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติหรือไม่ ตรวจปัสสาวะเพื่อแยกโรคนิ่วและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ควรทำการตรวจอัลตราซาวน์ หรือทำ CT Scan ช่องท้องเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย

 

การรักษา

ไม่ว่าจะแตกหรือไม่ ก็จะต้องทำการผ่าตัดก่อนที่ไส้ติ่งจะทะลุแตกในท้องและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ การผ่าไส้ติ่งนี้ ไม่ใช่เรื่องยากหรืออันตราย เมื่อแพทย์เขาตัดตัวไส้ติ่งที่อักเสบนั้นทิ้งไป อาการปวดท้องและอาเจียนก็จะหยุดลง หลังจากนั้นประมาณ 2 อาทิตย์ สุขภาพของท่านก็จะดีตามเดิ

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ศัลยกรรม_1-1

ศูนย์ศัลยกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา