Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคหัวใจในเด็ก

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 พฤษภาคม 2019

(นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์)

มีคำถามเกี่ยวกับโรคหัวใจในเด็ก สาเหตุ อาการและการป้องกัน

อุบัติการที่พบนั้นประมาณ 5-8 ต่อเด็ก 1000 คน

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นส่วนใหญ่จะพบมีรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจ อาจเป็นหัวใจห้องบน (ASD) หรือผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (VSD) อาจพบร่วมกับการตีบของลิ้นหัวใจพัลโมนิค หรือการเกิดสลับที่ของหลอดเลือดแดงพัลโมนิค และหลอดเลือดแดงเออออร์ตาก็ได้ นอกจากนี้อาจพบลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว

สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นที่ทราบแน่ๆ คือ

1. โรคหัดเยอรมันในมารดาที่ตั้งครรภ์

2. ดื่มแอลกอฮอล์มากขณะตั้งครรภ์

3. ยาบางอย่าง เช่น ยาทาลิโคไมด์ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)

4. ผิดปกติระดับโครโมโซม

5. แม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก (เกิน 40 ปี)

ดังนั้นการป้องกันนั้นจะทำได้โดยฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางอย่างระหว่างการตั้งครรภ์ (ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา)และอาจตรวจโครโมโซมจากน้ำคร่ำระหว่างตั้งครรภ์

ส่วนโรคลิ้นหัวใจรูห์มาติคนั้นมักพบบ่อยในชุมชนที่มีเศรษฐานะไม่ดี เกิดจากเชื้อสเตรปที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ และได้รับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ พบได้ในกลุ่มเด็กวัยเรียน ปัจจุบันโรคลิ้นหัวใจรูห์มาติคยังเป็นปัญหาสำคัญของเด็กไทยอยู่

อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดประกอบด้วย อาการเหนื่อย เด็กมักจะมีอาการของการเลี้ยงไม่โต น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ และมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจบ่อยๆ อาจจะมีอาการเขียวที่ริมฝีปากและเล็บร่วมด้วย เด็กเล็กจะเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม และจะมีอาการหอบร่วมด้วยถ้ามีอาการหัวใจล้มเหลว เด็กโตจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อย่างไรก็ตามเด็กบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย จะทราบก็จากการตรวจหัวใจเท่านั้น

ส่วนโรคลิ้นหัวใจรูห์มาติคนั้น เด็กจะมีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็วและหอบเวลามีหัวใจล้มเหลว ถ้ามีอาการรุนแรงจะมีอาการไอเป็นเลือดจากความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงได้

โรคหัวใจในเด็กนั้นนอกจากจะทราบได้จากการตรวจร่างกาย ในปัจจุบันการตรวจโดยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) จะทราบได้แน่นอนและแม่นยำ

โรคหัวใจในเด็กนั้นส่วนใหญ่ในเด็กเล็กจะพบโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
และในเด็กโตขึ้นหลังเข้าโรงเรียน จะพบโรคลิ้นหัวใจรูห์มาติค

หากสงสัยว่าเด็กอาจมีอาการของโรคหัวใจแล้ว

โปรดปรึกษากุมารแพทย์ประจำตัว

หรือแพทย์โรคหัวใจเด็กโดยตรงก็ได้

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา