Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคกรดในกระเพาะไหลย้อนสู่หลอดอาหาร (GERD)

นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2019

โรคกรดในกระเพาะไหลย้อนสู่หลอดอาหาร (GERD)

โรคนี้คือโรคอะไร เกิดจากสาเหตุใด
ตอบ เป็นภาวะที่มีน้ำย่อย และ กรดในกระเพาะไหลย้อนไปสู่หลอดอาหาร จนก่อให้เกิดอาการ ในบางรายอาจมีการอักเสบแดง รายรุนแรงมากอาจมีแผล อาจเรื้อรังจนเกิดพังผืด จนหลอดอาหารตีบ หรือ มะเร็งหลอดอาหารแทรกซ้อนได้ด้วย ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งอาจไหลย้อนจนเกิดสำลัก เสียงแหบไอเรื้อรัง หรือเกิดปัญหาหลอดลม หรือปอดอักเสบ อาการในผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเป็นกลางดึก หรืออยู่ในท่านอนคอพับ สาเหตุพบว่าในบางคนอาจมีหูรูดที่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหาร และ กระเพาะ เปิดบ่อยกว่าปกติ จนทำให้น้ำย่อยขึ้นมาทำลาย ระคายเคืองหลอดอาหารดังกล่าว บางคนเป็นปัญหาของการเคลื่อนไหวบีบตัวของหลอดอาหาร หรือ กระเพาะบีบตัวผิดปกติ หรือ บางคนเกิดจากไส้เลื่อน คือกระเพาะเลื่อนขึ้นไปในอก ทำให้ไม่มีหูรูดหลอดอาหารก็พบได้ (hiatal hernia)

 

อาการของโรคนี้ เป็นอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้
ตอบ อาจมีอาการใดอาการหนึ่งอาการเดียว หรือ อาจมีหลาย ๆ อาการในที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ก็ได้ ได้แก่

  • ปวดแสบหรือปวดจุกลิ้นปี่(ด้านบนสุดของท้อง) ถ้ามีอาการแสบอก, แน่นอก, เรอเปรี้ยว เกินกว่า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจเกิดจากภาวะนี้ บางครั้งอาจแสบไปถึงคอ
  • แน่นอก แบบอึดอัด หายใจไม่สะดวก คล้ายโรคหัวใจ หวิว หรือ ปวดแสบอก
  • กลืนลำบาก หรือ ติด
  • กลืนเจ็บ
  • คอเจ็บ ไอ หรือ เสียงแหบเรื้อรัง
  • ไอเรื้อรัง, หอบหืดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนตอนเด็ก ๆ หรือ หอบกลางดึก, บางคนมีปอดบวมเรื้อรัง
  • สำลักอาหาร หรือ น้ำ เรอเปรี้ยว เปรี้ยวในคอ
  • แน่นในคอ
  • โรคฟันเรื้อรัง แย่ลง
  • โรคไซนัสเรื้อรัง( sinusitis )
  • ตื่นมากลางดึก แน่นอก แสบอก หรือ หายใจไม่สะดวก

 

วินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร?
ตอบ ส่วนใหญ่ขึ้นกับอาการ และ การตอบสนองต่อยารักษา มากกว่าการตรวจพิเศษ แพทย์จะทำการตรวจพิเศษให้ถ้า อาการไม่ชัดเจนนัก หรือ มีอาการเตือนโรคมะเร็ง หรือ ภาวะแทรกซ้อน (“alarm” symptoms (เช่น มีเม็ดเลือดขาวต่ำมาก ผอมลง เลือดออก ซีดไม่ทราบสาเหตุ มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือ กลืนติด)) ในรายที่ต้องใช้ยานาน ๆ ไม่หายขาด ก็อาจจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุ เพื่อพิสูจน์โรคนี้ หรือ แยกโรคอื่น ๆ

– แรกสุดจะเป็นการแยกโรคร้ายแรง ที่ไม่ใช่โรคนี้ แต่อาการคล้ายกัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่แน่นอกควรแยกโรคหัวใจก่อน

– กรณีที่มีอาการที่ไม่แน่ว่าเป็นโรคนี้แน่ ต้องการพิสูจน์โรค หรือ หาโรคแทรกซ็อนโรคนี้ อาจต้องตรวจดังนี้

1. การส่องกล้องตรวจ (Endoscopy) โดยใส่สายที่ยืดหยุ่นได้ดี ขนาดเล็ก ๆ ( small, flexible tube ) ที่มีแสงสว่างตรงปลาย และ มีกล้องขยายภาพถ่ายภาพยนตร์ จะเห็นการอักเสบ, แผล หรือ โรคแทรกซ้อนดังที่กล่าวแล้ว รวมทั้งสามารถเก็บตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยได้ด้วย เพื่อแยกโรคมะเร็ง หรือ ความลึกความรุนแรงของการอักเสบ

2. การกลืนแป้ง (Barium swallow) โดยการกลืนสารทึบแสง แล้วเอ๊กซเรย์ตรวจ จริง ๆ แล้วการตรวจนี้จะตรวจเฉพาะแผลใหญ่ ๆ หรือ เนื้องอกใหญ่ ๆ ไม่ช่วยตรวจดูการอักเสบตื้น ๆ หรือ ช่วยดูการเคลื่อนไหวผิดปกติของหลอดอาหาร โดยทั่วไปไม่เหมาะสมในการตรวจโรคนี้

3. การตรวจกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง ( 24-hour esophageal pH study ) เป็นวิธีที่ไวที่สุดในการตรวจโรคนี้ โดยการกลื่นสายเล็ก ๆ แล้วปล่อยค้างในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อวัดกรด เปรียบเทียบกับอาการ โดยต่อข้อมูลไปในกล่องบันทึกที่เหน็บไว้ที่เอว แล้วไปวิเคราะห์ข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์ ดูความถี่ของภาวะสำลักกรดขึ้นมาหลอดอาหาร ว่ามากหรือน้อย นานแค่ไหน สัมพันธ์กับอาการหรือไม่ ส่วนใหญ่มักลองรักษาก่อน แล้วถ้าหายได้ก็เป็นการวินิจฉัยโรคนี้ มากกว่าทำการตรวจวิธีนี้

4. การใช้เครื่องดูการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (Esophageal manometry) เพื่อดูการบีบตัวของหลอดอาหารโดยใช้เครื่องวัดความดันที่ผนังของหลอดอาหาร จากที่กล่าวแล้วว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารผิดปกติ รวมทั้ง การตรวจการเคลื่อนไหวยังช่วยดูการสำลักการหย่อนของหูรูดด้วย มักทำในรายสงสัยภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือ วางแผนการผ่าตัดเพื่อกำหนดวิธีการผ่าตัดหูรูดได้ถูกต้องขึ้น

 

โรคที่เกิดกับหลอดอาหารอื่นมีอะไรบ้าง อาการดังที่กล่าวในข้อ 2 เช่นจุกคอ แน่นในอก กลืนติด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
ตอบ โรคที่ทำให้เกิดแน่นในอก ขอเน้นย้ำให้แยกโรคในช่องอก คือเอ๊กซเรย์ปอด แยกโรคหัวใจโดยการวิ่งสายพานตรวจให้แน่นอนว่าไม่ใช่โรคในกลุ่มนี้ก่อนนะครับ

– อาการจุกในลำคอถ้าเป็นไม่นานเกิน 1 ถึง 2 อาทิตย์ น่าลองรักษาดูก่อน ไม่ควรตรวจหาสาเหตุครับ แค่ซักประวัติและให้ยาก็หายได้ง่ายแล้วครับ ผมจะสรุปว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ทำให้ครบไปเลยครับ แต่อย่าไปเครียดว่าเราเป็นตามที่ไล่ให้ฟังนะครับ เพราะส่วนใหญ่ที่เจอไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงอะไรครับ ไล่ให้ครบเพื่อเป็นวิทยาทานนะครับ และจะสรุปการแก้ไขตามสาเหตุดังนี้ครับ

  • อาหารที่บาด เคือง ให้กินอาหารอ่อนข้าวต้ม โจ๊ก พักหนึ่งครับ
  • อาหารเผ็ดเปรี้ยว แต่มักมีโรคหลอดอาหารร่วมด้วย ให้เลี่ยงเผ็ดเปรี้ยว
  • ความรู้สึกไปเอง
  • โรคหลอดอาหารอักเสบ ให้ปฏิบัติตามที่แนะนำใน บทความ โรคกรดย้อนก่อให้หลอดอาหารอักเสบ ที่เขียนในนี้ครับ
  • โรคยาติด ให้ทบทวนดูว่าทานยาผิดอะไรไปบ้าง คราวหน้าทานยาให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ หลังทานยาอย่าล้มนอนทันที
  • โรคติดเชื้อเริม ถ้ามีแผลในปากนำมาก่อนให้รีบพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยารักษา จะได้ผลเร็วดีถ้ามารักษาตั้งแต่วันแรก ๆ ของการติดเชื้อครับ
  • โรคติดเชื้อรา ให้ทบทวนว่าเราปัสสาวะบ่อยมานานหรือเปล่า หรือ กินยาฆ่าเชื้อนานเกินไป ให้รีบพบแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาครับ
  • โรคหลอดอาหารอักเสบจากยากลุ่มแอสไพริน แก้ข้อแก้กระดูก ให้เลี่ยงยานี้ แล้วรีบรับยารักษาหลอดอาหารครับ
  • โรคเอดส์หลอดอาหารอักเสบแบบไม่มีสาเหตุ ถ้ามีน้ำหนักลด มีความเสี่ยงเอดส์ควรปรึกษาแพทย์ครับ บางรายอาจมีการติดเชื้อไวรัส และ เชื้อราที่
  • หลอดอาหารแทรกซ้อนครับ
  • โรคร้อนใน หรือ โรคภูมิแพ้กลุ่มหลอดอาหารอักเสบ และ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อหลอดอาหาร ถ้าเป็นนาน ๆ หรือเป็นๆหายๆ ไม่หายขาด ควรปรึกษาแพทย์ดูนะครับ
  • โรคกระดูก ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดโป่ง โรคปอด กดจากภายนอก กลุ่มนี้จะมีอาการหรือความเสี่ยงโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ
  • โรคการกินผม กินเยื่อ กินตะปู คล้าย ๆ โรคจิตใจครับ ในเมืองไทยพบภาวะนี้ได้น้อยครับ
  • ภูมิแพ้ระคายเคืองคอ หรือ บางคนเป็นแผลร้อนใน เป็นๆ หาย ๆ

 

โรคแทรกซ้อนของภาวะกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง?
ตอบ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาโรคแทรกซ้อนนอกจากปัญหาอาการที่กล่าว โรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ แผล, แผลเป็นจนทำให้เกิดการตีบ, มะเร็งแทรกซ้อนที่หลอดอาหาร, ปัญหาทางปอด หรือ คอ ในรูปแบบเสียงแหบ ไอเรื้อรัง หอบหืด สำลัก หรือ ปอดบวม

– มีภาวะหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ในกระเพาะย้ายขึ้นมาที่หลอดอาหาร ( Barrett’s esophagus ) มักในคนที่เป็นโรคนี้นาน ๆ เหมือนเป็นการปรับผิวเซลล์เพื่อแก้ไขภาวะนี้ แต่เกิดปัญหาเพราะเซลล์ที่อยู่ผิดที่ดังกล่าวอาจกลายเป็นมะเร็งได้ จึงต้องทำการส่องกล้องตรวจชิ้นเนื้อ และ ถ้าพบว่าเป็นภาวะนี้แล้ว ควรรักษาอย่างเคร่งครัด และทำการส่องกล้องตรวจซ้ำจนแน่ใจว่าหายจากภาวะนี้แล้วจริง ส่วนใหญ่เป็นในชาวตะวันตก เพศชาย และมักในคนที่อายุมาก มากกว่า แต่ก็พบได้ในคนอายุน้อยอื่น ๆ ด้วยได้

 

 รักษาโรคนี้อย่างไร
ตอบ กรณีอาการน้อย (Mild symptoms) รักษาโดยการปรับปรุงการปฏิบัติตัวเช่น

1. หยุดสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้น้ำลายซึ่งเป็นตัวชะล้างกรดทางธรรมชาติลดลง ทำให้การปิดของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างไม่ดี รวมทั้งการไอจากการสูบทำให้ความดันในท้องสูงเป็นพัก ๆ เกิดการย้อนของกรดในกระเพาะขึ้นมาได้ง่าย และ บ่อยขึ้น

2. เลี่ยงสาร หรืออาหาร ที่ทำให้เกิดภาวะนี้มากขึ้น และ พิจารณาใช้หมากฝรั่งช่วย

กลุ่มที่ 1. การทานหมากฝรั่ง จะเป็นการสร้างน้ำลาย ซึ่งมีฤทธิเป็นด่าง ทำให้หลอดอาหารกรดลดลง และ มีอาการดีขึ้นได้ คล้ายเรามีแผลในปากการใช้น้ำลาย หรือ ไม่คอแห้งก็จะหายเร็วขึ้น แต่บางคนทานหมากฝรั่ง เคี้ยวเกิดลมแล้วเรอง่าย ก็ทำให้เรอเอากรดย้อนขึ้นมาได้ จึงแนะนำให้ทานยาลดกรด แบบไม่ใช้หมากฝรั่งช่วยดูก่อน ถ้าหายยาก ๆ และ ไม่เรอง่ายก็ควรทานหมากฝรั่งช่วยครับ

กลุ่มที่ 2.อาหารที่ห้ามในโรคหลอดอาหารคืออาหารที่ทำให้เกิดลม ทำให้เรอครับ ได้แก่

– ถั่วทุกชนิด เม็ดแตงโม มันฝรั่งแห้ง ทานเล่น

– ผักย่อยยากเกิดลม: แตงกวา กะหล่ำ ดอกกล่ำ บร๊อคคอลี่ (broccoli) หัวหอม แอสพารากัส หนอไม้ฝรั่ง (Asparagus)

– ผลไม้ที่มีลม: ลูกเกด ลูกพรุน แอปเปิล ฝรั่ง กล้วย มะม่วงดิบ ขนุน ลำไย ผลไม้แห้ง ทุเรียน

– คาร์โบไฮเดรตที่บางคนอาจย่อยไม่ได้ดี: ก๋วยเตี๋ยว (ข้าวไม่เกิดลม) ธัญพืชซ้อมมือ น้ำตาลเทียม ขนมปัง wheat

– นม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ซอสครีม เนย ครีม เค๊ก ไอศกรีม ช๊อคโกแล๊ต (บางคนทานได้)

อาหารมัน ๆ เช่น ไขมัน อาหารทอด เนื้อติดมัน

กลุ่มที่ 3.อาหารอีกกลุ่มมีผลต่อหูรูดปิดไม่สนิท ทำให้กรดตีขึ้นได้ง่ายได้แก่ สารที่ทำให้หูรูดหย่อนง่าย เช่นกาแฟ, ชา, chocolate,สารแอลกอฮอล์ และ peppermint

กลุ่มที่4. เป็นอาหารที่มีไขมันสูง เผ็ด หรือ เปรี้ยว เป็นกรด แต่ที่จริงส่วนใหญ่กรดที่ทำรายหลอดอาหารมาจากกระเพาะมากกว่าการรับประทานครับ ช่วงแรก ๆ ยังคงแนะนำให้งดอาหารเผ็ด และ เปรี้ยวไปก่อน

3. เลี่ยงการกินช้ากว่าเวลาอาหาร หรือ

4. เลี่ยงการกินดึก กินแล้วลงนอนเร็ว ไม่ควรนอนเล่นหลังทาน, ควรเลื่อนเวลานอนหลับ ให้หลับหลังทานไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง พยายามหากิจกรรมที่ทำให้เกิดการเดิน ยืน หรือ นั่งนาน ๆ หลังทาน เช่น งานอดิเรก ปั่นจักรยานออกกำลังกาย รดต้นไม้ จูงสุนัข เป็นต้น

5. มื้อเย็นอาจต้องกินอาหารอ่อนข้าวต้มเครื่อง และ โจ๊ก, ให้เลี่ยงผัก หรือ ผลไม้เพื่อหวังให้อาหารมื้อเย็นจะได้ย่อยเร็ว และผ่านกระเพาะให้หมดเร็วก่อนนอนครับ

– อาจต้องเดินหลังทานข้าวเย็นช่วยให้กระเพาะบีบตัวไล่อาหารได้ดี

– แล้วไปกินหนัก เยอะ ๆ ที่มื้อเที่ยงแทน โดยห้ามล้มลงนอนเล่นหลังทานข้าวเที่ยง

6. กินน้อย ๆ บ่อย ๆ อย่ากินเยอะไป

7. ลดน้ำหนักในรายที่อ้วนมาก

8. อย่าใส่ชุดรัดแน่น

9. ยกเตียงสูงขึ้น 6-8 นิ้ว อย่านอนตัว หรือ คอพับ (ใช้หมอนรองคอสูงไม่ถูกต้อง เพราะความดันในท้องจะตีขึ้นมาจากการงอคอ หรือ ตัว)

10. ดูตัวยาที่มีผลต่อโรคนี้ ได้แก่ ยากลุ่มความดัน ยาหลอดลม ยาฮอร์โมน

11. อาจนอนตะแคงซ้ายลง จะช่วยให้หูรูดปิดสนิทไม่มีกรดย้อนได้ดีกว่าในบางคน

12. ในรายที่ไม่หายอาจต้องปรับยาให้แรงขึ้นกว่าเดิม หรือกินยานานขึ้นจึงจะหายครับ

– อาการมาก (Moderate to severe symptoms) หรือ ไม่ตอบสนองต่อการปฏิบัติตัว ( lifestyle modifications) ตามที่กล่าวด้านบน ควรให้ยาลดกรด นิยมให้ยาที่ลดกรดมากกว่ายารักษากระเพาะทั่วไป เช่นยาในกลุ่ม H2 antagonists และยาลดการปั้มของกรดโปรตอน (proton pump inhibitors) พบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนอาจลด หรือ หยุดยาไม่ได้อาจต้องใช้ยาเป็นปีก็มี แต่พบว่ายาทั้ง 2 กลุ่มนี้ปลอดภัยมาก แต่มักมีปัญหาที่ราคายาแพงมากกว่า

 

โรคนี้รักษาหายได้ไหม?
ตอบ จริง ๆ แล้วยาไม่ได้รักษาโรคนี้ แต่ลดอาการ หรือ การทำลายหลอดอาหาร เพราะโรคนี้เป็นเป็นหาการเปิดของหูรูด ควรพยายามปฎิบัติตัวตามที่แนะนำ จึงจะหายขาดได้ และไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป กรณีไม่หายอาจต้องพิจารณาผ่าตัดรักษา (ส่วนใหญ่แค่ทานยาก็พอ ไม่ถึงกับต้องผ่าตัด) ปัจจุบันการผ่าตัดนิยม ทำการผ่าโดยการส่องกล้อง เฉพาะในรายที่รักษายาก หรือ อยากหายขาด ( laparoscopic Nissen fundoplication ) โดยการซ่อม เพิ่มแรงดันที่หูรูดของหลอดอาหาร ซึ่งจะทำในรายที่ไม่หาย อาการรุนแรง เป็นภาวะนี้เรื้อรังในคนอายุน้อย ไม่มีสาเหตุการปฎิบัติตัวที่แก้ไขได้ บางรายผ่าเพราะมีปัญหาที่ยอมรับไม่ได้เช่น กลืนติดมาก ๆ มีความรู้สึกแน่นแบบลมตี ที่ยอมรับไม่ได้ (“gas-bloat syndrome”) และท้องเสียเนื่องจากภาวะนี้รบกวนระบบประสาทอัตโนมัติ (โชคดีที่ภาวะนี้พบน้อยมาก) แต่การศึกษาผลการรักษาระยะยาวยังไม่มีสนับสนุนการผ่าตัดมากเพียงพอนัก ก่อนทำการผ่าตัดต้องตรวจวัดความดันในหลอดอาหาร (manometry) และ ส่องกล้องก่อนผ่าตัด

 

วิธีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคนี้
ตอบ ปัจจุบันมีการส่องกล้องผ่าตัดโดยเกิดแผลเล็กกว่า และ ใช้กล้องที่มีคุณภาพดีกว่า , มีการเย็บหูรูดหลอดอาหาร, มีการใช้คลื่นวิทยุ (radio-frequency energy) ผ่านทางกล้องส่องกระเพาะ เพื่อแก้ไขหูรูดนี้ (ไม่ต้องผ่าตัด) แต่ยังอยู่ในขั้นศึกษาผลการรักษาเหล่านี้อยู่

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

นพ.ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา