Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

หญิงมีครรภ์กับการรักษาทางทันตกรรม

ท.พ.สุรชาติ หนุนภักดี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 พฤษภาคม 2019

หญิงมีครรภ์กับการรักษาทางทันตกรรม
โดย ท.พ.สุรชาติ หนุนภักดี
ผู้หญิงเมื่อตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบสรีระต่างๆ ของร่างกายตามมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพในช่องปากด้วย หญิงมีครรภ์จึงควรได้รับการดูแลทางทันตกรรมเป็นพิเศษ มิฉะนั้นจะเกิดโรคต่างๆ ในช่องปากได้

มีคำกล่าวโบราณที่ว่ามีลูก 1 คน เสียฟัน 1 ซี่ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการตั้งครรภ์และสุขภาพช่องปาก ปัจจุบันนี้เราพบว่า เมื่อมีการตั้งครรภ์จะมีการถ่ายเทแคลเซี่ยมจากกระดูกมารดาไปสร้างอวัยวะให้กับทารกในครรภ์ ดังนั้นกระดูกรองรับฟันจึงอ่อนแอลงและส่งผลถึงความแข็งในการยึดเหนี่ยวฟันด้วย

หญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาโรคเหงือกนั้นเป็นเพราะ ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สูงขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่อหลอดเลือดขนาดเล็กของเหงือกทำให้สภาพของเหงือกเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 8 เหงือกบริเวณฟันหน้าจะอักเสบมากกว่าฟันหลัง มีลักษณะบวมแดง เลือดออกง่าย ยิ่งถ้าหากสภาพช่องปากมีหินปูนอยู่แล้วหรือใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ และไม่รักษาสุขภาพช่องปากให้ดียิ่งทำให้สภาพเหงือกแย่ลงไปอีก บางรายเหงือกจะเป็นก้อนโตคล้ายเนื้องอก ก้อนเนื้อนี้จะโตอย่างรวดเร็วอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2 เซ็นติเมตร แต่ไม่มีอาการปวดเจ็บแต่ประการใด นอกจากจะไปขัดขวางการบดเคี้ยว ส่วนใหญ่เนื้องอกนี้จะหยุดโตเอง และลดขนาดลงหลังจากภาวะตั้งครรภ์ผ่านพ้นไปแล้วหลายเดือน แต่หากก้อนเนื้อขัดขวางการเคี้ยวอาหารมีเลือดออกง่ายอาจต้องทำการผ่าตัดออก

ผลกระทบทางอ้อมอีกทางหนึ่งของการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นระยะที่มักจะแพ้ท้อง การอาเจียนจะทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดออกมาทำลายผิวเคลือบฟันได้ หญิงแพ้ท้องจะลำบากในการแปรงฟันเพราะ จะคลื่นไส้อาเจียนทุกครั้งที่แปรงฟัน บางคนอาจอยากทานของเปรี้ยว ของดอง หรือของหวาน ประกอบกับการละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากทำให้สภาพช่องปากแย่ลงไปอีก ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญโดยเฉพาะถ้าหากต้องมาทำฟันด้วยแล้วจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง

ความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ ได้ส่งผลต่อสุขภาพช่องปากทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงมีครรภ์ต้องได้รับการดูแลรักษาทางทันตกรรมอย่างเหมาะสมและใกล้ชิด

การบำบัดทางทันตกรรมใดๆ ในช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) ควรทำเฉพาะกรณีฉุกเฉิน หรือที่ทำง่ายๆ เช่น อุดฟัน ขูดหินปูน การถ่ายภาพรังสีเอ็กซเรย์ต้องได้รับการปกป้องร่างกายและครรภ์จากเสื้อตะกั่วและควรทำเฉพาะกรณีจำเป็นจริงๆ การรักษาที่ยุ่งยากขึ้นและใช้เวลานานๆ เช่น การใส่ฟันปลอม การรักษารากฟัน การอุดฟันยากๆ การรักษาโรคเหงือกที่รุนแรง ควรกระทำในระยะตั้งครรภ์ 4 ถึง 6 เดือน สำหรับในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มารดาจะรู้สึกอึดอัดไม่สบาย การให้นอนราบนานๆ อาจเกิดสภาวะแทรกซ้อนได้จึงควรหลีกเลี่ยงการรักษาทางทันตกรรมในช่วงนี้ ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ ซึ่งการบำบัดทันตกรรมต้องกระทำช่วงเวลาสั้นๆ ให้พลิกตัวบ่อยๆมารดาไม่ควรเกร็ง ไม่ควรเครียด

ส่วนการให้ยาในทางทันตกรรมนั้น มีความปลอดภัยสูงไม่ว่าจะเป็นยาชาเฉพาะที่ หรือยาปฏิชีวนะจำพวก Penicillin, Erythromycin base หรือยาแก้ปวดจำพวก Paracetamol

กล่าวโดยสรุปแล้วหญิงมีครรภ์ส่วนใหญ่จะเกิดภาวะเหงือกอักเสบและฟันผุได้ง่ายกว่าคนปกติ จึงควรได้รับการรักษาและดูแลทางทันตกรรมอย่างใกล้ชิด ก่อนที่อาการของโรคจะเป็นมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาคือ ช่วงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน ซึ่งสามารถทำได้ทุกอย่างตั้งแต่อุดฟัน ถอนฟัน รักษารากฟัน รักษาโรคเหงือก การใช้ยาต่างๆ ก็มีความปลอดภัยเช่นกัน แต่ถ้าหากปล่อยปละละเลยจนกระทั่งทนไม่ไหวค่อยมารักษาในช่วง 6-9 เดือนของการตั้งครรภ์ การรักษาทางทันตกรรมก็จะมีความยุ่งยาก และมีข้อจำกัดหลายอย่าง.

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทันตกรรม

ศูนย์ทันตกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา