Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มลพิษทางอากาศกับระบบทางเดินหายใจ

นพ.พรชัย วัชระวณิชกุล

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 9 พฤษภาคม 2019

กุมารเวช: มลพิษทางอากาศกับระบบทางเดินหายใจ

โดย นพ.พรชัย วัชระวณิชกุล
ทุกวันนี้อากาศในบ้านเรามีปริมาณฝุ่นและก๊าซพิษเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ปัจจัยสำคัญ ก็คือ ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ และควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง พวกน้ำมัน หรือถ่านหิน และสารเคมีต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพวกฝุ่นจากการก่อสร้างความจริงมนุษย์เรารู้ว่าฝุ่นและควันพิษ มีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ของอังกฤษ ในช่วงปี คศ. 1377-1399 มีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์การใช้ถ่านหินเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมในโลกเราได้ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศอย่างรุนแรงหลายครั้ง เช่น ปี คศ.1930 ที่เบลเยี่ยม, ปี คศ.1948 ที่เพนซิลวาเนีย และ ปี คศ.1952 ที่กรุงลอนดอน ทำให้มีผู้ป่วยตายเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นจึงมีผู้ให้ความสนใจและหาวิธีป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศอย่างจริงจังมลพิษทางอากาศ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คืออนุภาคฝุ่นและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซน ซึ่งเป็นสารเกิดจากปฏิกิริยากับแสงแดดอื่นๆในข้อแรก จะเป็นผลพวงมาจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ได้แก่ พวกถ่านหินน้ำมันดิบ ส่วนในข้อสอง จะมาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เช่น จากรถยนต์ และก๊าซเหล่านั้นไปทำปฏิกิริยากับแสงแดด นอกจากนั้นยังมีพวกก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่ไม่สมบูรณ์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอน ซึ่งอาจเป็นตัวการของการเกิดมะเร็งอนุภาคฝุ่นที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่จะมีขนาด 1-10 ไมครอน ขนาดที่ใหญ่กว่านี้จะถูกจับไว้โดยขนที่จมูก ไม่ผ่านลงไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมครอน เมื่อผ่านเข้าไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแล้วก็จะถูกหายใจออกมา มีส่วนน้อยที่จะคงค้างอยู่ในถุงลม ปกติฝุ่นที่หลุดเข้าไปในหลอดลม ร่างกายจะพยายามกำจัดออกโดยขนเล็กๆ ที่อยู่ที่หลอดลมพยายามที่จะกวาดเอาฝุ่นขึ้นมา ส่วนที่เข้าไปในถุงลมจะถูกกำจัดโดยเซลล์ของร่างกายชนิดหนึ่ง เรียกว่า แมคโดฟาจ แต่ในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรัง กลไกการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้าร่างกายจะไม่เหมือนปกติทำให้โอกาสเกิดอาการผิดปกติได้มากกว่าในคนที่สุขภาพดี ฝุ่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ,ไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซน มีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการ แสบจมูก ไอ แน่นหน้าอก สมรรถภาพปอดลดลง และทำให้เกิดหลอดลมตีบได้ โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรค หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรือ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผลกระทบต่อสุขภาพจะเกิดได้บ่อยกว่าในคนสูงอายุ เด็กเล็ก และคนที่มีโรคปอด หรือโรคหัวใจอยู่เดิม นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กจะเพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่ที่มีฝุ่นและควันพิษมาก โดยทั่วไปปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคฝุ่นหรือควันพิษมีปะปนอยู่แล้วในอากาศในปริมาณเล็กน้อย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่ถ้าหากเกิดในปริมาณสูงมากขึ้นโดยเฉพาะในสภาวะที่อากาศนิ่ง ไม่ถ่ายเท ก็จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้มากขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายก็ทำให้มีโอกาสได้รับก๊าซพิษมากขึ้น เพราะว่าก๊าซพิษส่วนหนึ่งจะไม่ถูกกรองโดยจมูก แต่จะเข้าทางปาก และลงไปสู่หลอดลมส่วนล่างได้ง่ายและมีปริมาณมากขึ้นปัญหาที่อาจจะมองข้ามไป คือ ภาวะมลพิษทางอากาศ ไม่ได้เกิดเฉพาะในที่กลางแจ้งเท่านั้น แม้ในบ้านเรือนก็มีโอกาสเกิดได้ เช่น จากการใช้เตาอบ เตาแก๊ส ในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี หรือ พิษจากควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบ เป็นต้นการป้องกันในแง่ส่วนบุคคล คือ การหลีกเลี่ยงเข้าไปในบริเวณที่มีการจราจรแออัด หรือเขตโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ออกกำลังกายกลางแจ้งในบริเวณที่มีฝุ่นหรือควันพิษจำนวนมาก การสวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นละอองช่วยได้ไม่มาก เพราะอนุภาคมีขนาดเล็ก สามารถเล็ดลอดผ่านหน้ากากได้ ความจริงสิ่งสำคัญ คือ แก้ที่ตัวต้นเหตุ ได้แก่ มีมาตรการควบคุมควันและก๊าซพิษที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมให้มีระดับที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การควบคุมควันเสียจากรถยนต์ ตลอดจนการคุมตัวตึกในบริเวณที่มีการก่อสร้างอาคาร เป็นต้นอ่านเรื่องนี้จบ ท่านผู้อ่านก็ไม่ต้องกังวลกับมันมากนัก เพราะว่าเขม่าควันพิษที่พัดมาจากอินโดนีเซียจากไฟไหม้ป่ามายังภาคใต้ของประเทศเรา ก็เริ่มเบาบางลงแล้ว ประกอบกับทางราชการก็มีมาตรการกำจัด

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.พรชัย วัชระวณิชกุล

นพ.พรชัย วัชระวณิชกุล

ศูนย์โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา