Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การตรวจสอบหัวใจและหลอดเลือด

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 พฤษภาคม 2019

การตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด
โดย นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์
มีผู้ป่วยหลายคนถามว่าการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจเป็นอย่างไร และคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบทุกคนต้องทำหรือไม่

การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ คือ การฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดหัวใจโดยตรงแล้วถ่ายภาพของเส้นเลือดหัวใจ ทำให้สามารถเห็นบริเวณที่ตีบตันของเส้นเลือดได้อย่างละเอียด วิธีการทำนั้นผู้ป่วยจะได้รับการฉีดยาชาที่ขาหนีบซ้ายหรือขวา หลังจากนั้นแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนัง แล้วสอดสายสวนขนาดประมาณ 2.5 มม. เข้าไปในเส้นเลือดแดงผ่านขึ้นไปที่เส้นเลือดแดงใหญ่เออออร์ต้า แล้ววางปลายสายสวนไว้ที่ปากทางเข้าของเส้นเลือดหัวใจทั้งซ้ายและขวา ฉีดสารทึบรังสี ประมาณ 3-5 ซีซี แล้วถ่ายภาพในหลายๆ มุม เพื่อดูเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ โดยวิธีนี้จะเจ็บเฉพาะตอนแรกที่ฉีดยาชาบริเวณขาหนีบเท่านั้น หลังจากที่ทำเสร็จดึงสายสวนออกจะกดบริเวณขาหนีบประมาณ 15 นาที โดยไม่ต้องเย็บ ผู้ป่วยต้องนอนราบและงอขาหนีบไม่ได้ 6-12 ชั่วโมง เวลาที่ใช้ในการทำทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง

การฉีดยาสีตรวจหลอดเลือดหัวใจนั้นมีความปลอดภัยสูงมาก อันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อยกว่าครึ่งเปอร์เซ็นต์ โรคแทรกซ้อนนั้นอาจเกิดจากการแพ้สารทึบรังสี เช่น ผื่นแพ้ลมพิษ แต่ในปัจจุบันนี้สารทึบรังสีที่ใช้มีผลข้างเคียงน้อย นอกจากนี้ยังอาจเกิดการฉีกขาดของผนังเส้นเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบ หรือผนังเส้นเลือดโป่งพองแต่จะเกิดขึ้นน้อยถ้าระมัดระวัง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นไม่จำเป็นต้องตรวจสวนหัวใจทุกคนยกเว้นในกรณีที่มีอาการรุนแรงกินยาแล้วยังมีอาการอยู่ ผู้ป่วยอายุน้อย แพทย์มักจะแนะนำให้ทำหรือในกรณีที่แพทย์ประเมินแล้วว่ามีอาการมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัดหรือทำการขยายเส้นเลือดหัวใจ

ส่วนการตรวจโดยวิธีอื่นๆ นั้น เช่น การใช้เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (Ultrafast CT) เพื่อดูปริมาณแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจนั้นไม่สามารถทดแทนการฉีดสีได้เป็นเพียงการตรวจที่ช่วยบอกว่าถ้ามีปริมาณแคลเซียมมากจะมีโอกาสที่เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบสูงเท่านั้น

บทความล่าสุด

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวาร กับปัญหาหนักใจที่แก้ไขได้ รักษาเร็ว ฟื้นตัวไว

ริดสีดวงทวาร มีสาเหตุมาจากการเพิ่มแรงดันในช่องทวารหนัก ทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดในช่องทวารหนัก (Anal cushion) เกิดการขยายตัวเป็นหัวริดสีดวง

อ่านเพิ่มเติม
ผ่าตัดไส้เลื่อน

ผ่าตัดไส้เลื่อน วิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

ผ่าตัดไส้เลื่อน เป็นวิธีรักษาไส้เลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะการผ่าแบบส่องกล้อง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดการเป็นซ้ำได้

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงควรรู้! เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่คืออะไร มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คือภาวะที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก เช่น รังไข่หรือท่อนำไข่ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา